เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
ระวังบริโภคเห็ดพิษมีสิทธิ์ถึงตาย
   
ปัญหา :
 
 
อ่านข่าวพบเสมอว่ามีผู้กินเห็ดพิษแล้วตาย จึงเห็นว่าอันตรายมาก ผมเป็นผู้หนึ่งที่ชอบบริโภคเห็ด จึงขอเรียนถามว่า เห็ดพิษมีลักษณะอย่างไร วิธีตรวจสอบว่าเป็นเห็ดพิษทำอย่างไร และหากบริโภคเห็ดพิษเข้าไปแล้วจะมีวิธีปฐมพยาบาลอย่างไร ขอเรียนถามเพียงเท่านี้ก่อนครับ หากมีข้อข้องใจอื่นๆ จะเขียนจดหมายมาสอบถามในโอกาสต่อไปครับ
วิธีแก้ไข :
 
เห็ดพิษ ที่พบในประเทศไทยแบ่งออกได้ 4 กลุ่ม ตามอาการที่แสดงออกเมื่อมนุษย์บริโภคเห็ดพิษเข้าสู่ร่างกาย กลุ่มแรก เข้าทำลายเซลล์เนื้อเยื่อของอวัยวะต่างๆ เช่น เซลล์ของตับ ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตภายใน 4-10 ชั่วโมง กลุ่มที่สอง สารพิษทำลายระบบประสาท ผู้ป่วยแสดงอาการ เหงื่อออกมาก เคลิ้ม ตื่นเต้น และชักกระตุก กลุ่มที่สาม ผู้ป่วยแสดงอาการคลื่นเหียน อาเจียน เป็นตะคริวในช่องท้อง และท้องร่วงอย่างรุนแรง และ กลุ่มที่สี่ กลุ่มนี้หากบริโภคเฉพาะเห็ดจะไม่เกิดอาการผิดปกติแต่จะแสดงผลเมื่อร่วมกับการดื่มสุรา ซึ่งจะเสริมฤทธิ์ให้เกิดความเป็นพิษอย่างรุนแรง

จากข้อมูลของสมาคมนักวิจัยและเพาะเห็ดแห่งประเทศไทย สรุปไว้มีผู้นำเห็ดระโงกหินไปบริโภคจนถึงแก่ชีวิตมากเป็นอันดับหนึ่งของประเทศ ลักษณะของเห็ดระโงกหิน ดอกอ่อนมีเปลือกหุ้มหนา รูปร่างกลมรี ขนาดเล็กกว่าไข่นกกระทาเล็กน้อย เมื่ออายุมากขึ้น ดอกเห็ดจะดันผนังด้านบนของรูปไข่ สร้างก้านดอกและหมวก ดอกสีขาว มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 6-12 เซนติเมตร เมื่อลูบหมวกดอกจะรู้สึกหนืดมือ ครีบห่างจากโคนก้านดอกเล็กน้อย ครีบเรียงถี่สีขาว สปอร์มีสีขาวเช่นเดียวกัน เห็ดระโงกหินมีทั้งชนิดดอกเดี่ยวและกลุ่มเล็กๆ ขึ้นอยู่บนพื้นดินในป่าต้นก่อ ป่าเต็งรัง แถบภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อย่างไรก็ตาม ยังมีเห็ดพิษอีกหลายชนิดที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับเห็ดกินได้ ดังนั้น การบริโภคเห็ดที่ไม่รู้จักชื่อหรือไม่มั่นใจ ให้รับประทานเห็ดชนิดนั้นในปริมาณไม่มากจนเกินไป ทั้งนี้ หากต้องการให้เกิดความมั่นใจยิ่งขึ้น พ.ท.ยงยุทธ ขจรวิทย์ แนะนำให้ตรวจสอบด้วยวิธีใช้ช้อนเงินตักน้ำต้มเห็ด หากพบว่าช้อนเงินเปลี่ยนเป็นสีดำ แสดงว่าเห็ดนั้นเป็นเห็ดพิษให้นำไปฝังกลบลงดินทันที และล้างภาชนะบรรจุให้สะอาด การปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อพบว่ารับประทานเห็ดพิษเข้าไปในร่างกาย ก่อนนำส่งไปหาแพทย์ควรมีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ด้วยวิธีทำให้อาเจียนออกให้มากที่สุด แล้วละลายผงถ่านลงในน้ำที่สะอาด ให้ผู้ป่วยดื่มอีก 2 แก้ว หลังจากดื่มแก้วแรกแล้วให้ล้วงคออาเจียนอีกครั้ง ก่อนดื่มน้ำผงถ่านแก้วที่สอง เมื่อพบว่าอาการบรรเทาลง รีบนำส่งพบแพทย์ที่โรงพยาบาลใกล้บ้านทันที อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเห็ดพิษจะทำอันตรายกับผู้บริโภคอยู่เป็นประจำ แต่ก็มีนักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นได้สกัดแยกสาร อิลลูดิน จากเห็ดพิษ แล้วนำไปทำปฏิกิริยากับกรดกำมะถันเข้มข้น ในที่สุดได้สารอะซีลฟูลวีน ซึ่งมีความสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งได้ดี เทียบเท่าหรือดีกว่าสารเคมีที่ใช้อยู่ในปัจจุบันหลายชนิด
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
8
ตำบล / แขวง :
คูคต
อำเภอ / เขต :
ลำลูกกา
จังหวัด :
ปทุมธานี
รหัสไปรษณีย์ :
12130
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2550 ปีที่ 19 ฉบับที่ 409
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM