เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
พบสารเร่งการเจริญเติบโตของพืชในปุ๋ยหมักน้ำ
   
ปัญหา :
 
 
    ผมเป็นผู้หนึ่งที่ทำปุ๋ยน้ำชีวภาพใช้ในสวนมาได้ปีเศษ ๆ ปรากฏว่าได้ผลดี เมื่อฉีดพ่นที่ใบหรือทรงพุ่มจะทำให้ผลิใบอ่อนและมีใบสีเขียวเข้มยิ่งขึ้น ส่งผลให้ผลไม้ติดผลได้ดีขึ้น จึงขอเรียนถามคุณหมอว่า ในปุ๋ยน้ำชีวภาพนั้นมีสารอะไรบ้างที่มีผลต่อต้นไม้ดังที่ผมอธิบายมาแล้วนั้น
วิธีแก้ไข :
 
    ปุ๋ยน้ำชีวภาพ ตามภาษาของนักปฐพีวิทยา จะเรียกว่า ปุ๋ยหมักน้ำ วิธีผลิตโดยทั่วไปจะใช้วัตถุดิบทั้งจากพืช เศษปลา หรือเนื้อหอยเชอรี่ ก็นิยมกันอย่างกว้างขวาง อัตราวัตถุดิบ 3 ส่วน น้ำตาลโมลาส 1 ส่วน ใส่เชื้อจุลินทรีย์ อาจจะใช้เชื้อจุลินทรีย์ อีเอ็ม หรือเชื้อ พด. 1 หรือทิ้งไว้ในสภาพธรรมชาติ กระบวนการหมักหรือย่อยสลายก็จะเกิดขึ้นได้เช่นเดียวกัน คลุกเคล้าทั้ง 3 อย่าง ให้เข้ากัน บรรจุลงในถังพลาสติกสีเข้ม ขนาด 20 ลิตร ขึ้นไป คืนแรกทับด้วยวัตถุมีน้ำหนักให้เศษพืชยุบตัวลง ปิดฝาถังให้สนิท รุ่งขึ้นนำวัตถุมีน้ำหนักออกจากถังหมัก ปิดฝาให้สนิทอีกครั้ง ทิ้งไว้ 15 วัน ปุ๋ยหมักน้ำจะมีสีน้ำตาลคล้ำ หากมีกลิ่นเหม็นให้เติมน้ำตาลโมลาสอีก ทิ้งไว้จนไม่มีกลิ่นเหม็นจึงนำมาผสมกับน้ำอีก 10-100 เท่า ฉีดพ่นที่ใบ หรือรดที่โคนต้นไม้ ผลการวิเคราะห์หาธาตุอาหารและสารเร่งการเจริญเติบโตในปุ๋ยน้ำหมักของกองเกษตรเคมี ปรากฏว่า เปอร์เซ็นต์ธาตุอาหารพืชมีอยู่ค่อนข้างต่ำ อาจจะมีผลต่อต้นไม้บ้าง แต่ไม่พอเพียงกับความต้องการของต้นไม้ แต่ที่น่าสนใจคือ มีการตรวจพบสารเร่งการเจริญเติบโตของธาตุปุ๋ยหมักน้ำ ดังนี้ การตรวจพบ ฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโตในปุ๋ยน้ำหมัก ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มออกซิน 3 ชนิด คือ 1. ไอเอเอ (IAA) มีบทบาทต่อการเร่งการเจริญเติบโตของพืช กระตุ้นให้รากแข็งแรงและเพิ่มจำนวนมากขึ้น 2. จีเอ 3 (GA3) หรือ สารจิบเบอเรลลิล ทำหน้าที่กระตุ้นให้แตกตาของพืช นิยมใช้กันมากในองุ่น จัดว่าเป็นสารที่มีความปลอดภัยสูง และ 3. ไซโตไคนิน ทำหน้าที่กระตุ้นให้ตาด้านข้างของต้นไม้พัฒนาเป็นกิ่งก้านต่อไป ด้วยสารออกซินทั้ง 3 ชนิด เป็นตัวช่วยเร่งให้ต้นไม้แตกตา ผลิใบ และติดผลดีขึ้น จึงน่าจะเป็นเหตุผลพอเพียงที่ตอบคำถามของคุณได้ ทั้งนี้ ขอแนะนำให้เกษตรกรผลิตใช้เอง เนื่องจากทำได้ง่าย ไม่ควรซื้อมาใช้ เพราะผลงานวิจัยพบว่า ต้นทุนการผลิต (ไม่รวมอุปกรณ์อื่น ๆ) เฉลี่ยเพียงลิตรละ 7-10 บาท เท่านั้น แต่อย่าลืมบำรุงต้นไม้ทางดินควบคู่กันไปด้วยจะได้ผลดียิ่งขึ้นครับ
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
นายามอาม
จังหวัด :
จันทบุรี
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคตะวันออก
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2544 ปีที่ 13 ฉบับที่ 261
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM