เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
‘น้อยหน่ายักษ์’ หนองไม้แก่น ลูกใหญ่ขายดี กิโลละ 60
   
ปัญหา :
 
 

มีโอกาสร่วมเดินทางไปกับ ชมรมแม่บ้านเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อศึกษาดูงานด้านการพัฒนาการเกษตรในเขตปฏิรูปที่ดิน 3 จังหวัด ได้แก่ ฉะเชิงเทรา นครราชสีมา และสระบุรี ภายใต้ชื่อ “Land Reform Trip” ซึ่งมีสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) เป็นแม่งาน บังเอิญสายตาได้สะดุดเข้ากับ “น้อยหน่ายักษ์” ที่เกษตรกร ต.หนองไม้แก่น อ.แปลงยาว จ.ฉะเชิงเทรา นำมาอวดโฉม ขนาดผลโตกว่าศีรษะของทารกแรกเกิด ทำให้ผู้พบเห็นอดที่จะสัมผัสไม่ได้ น้อยหน่ายักษ์ที่ว่านี้ เป็นผลผลิตจาก แปลงสาธิตศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน ต.หนองไม้แก่น เจ้าของแปลง คือ นายรินทร์  ธัญญกิจ อายุ  55 ปี เป็นเกษตรกรอีกหนึ่งรายที่ประสบความสำเร็จด้านการปลูกไม้ผล ร่วมกับการปลูกหญ้าแฝกเพื่อรักษาหน้าดิน
 
นายรินทร์เล่าให้ฟังว่า ส.ป.ก.ได้จัดที่ดินให้เข้าทำประโยชน์ด้านการเกษตร จำนวน 51 ไร่ ซึ่งก่อนหน้านี้ใช้พื้นที่ปลูกขนุนป้อนตลาด แต่ประสบปัญหาผลผลิตราคาตกต่ำ จึงปรับตัวเข้าสู่ระบบไร่นาสวนผสม มีการปลูกไม้ผล อาทิ ลำไย น้อยหน่า มะละกอ แก้วมังกร มะนาว ขณะเดียวกันยังปลูกสวนป่าเศรษฐกิจ ได้แก่ อินทนิล ประดู่ป่า ตะเคียนทอง มะค่าโมง มะค่าแต้ ตะขบ และหว้า รวม 5 ไร่ ทำบ่อเลี้ยงปลา 5 ไร่ นอกจากนั้นยังมีการปลูกหญ้าแฝกแซมในแปลงไม้ผล และมีการผลิตปุ๋ยชีวภาพใช้เองด้วย
 
น้อยหน่า พันธุ์เพชรปากช่อง เป็นไม้ผลที่ทำรายได้ให้ครอบครัวมากชนิดหนึ่ง ซึ่งแรกเริ่มซื้อต้นกล้ามาปลูก 3 ต้น ๆ ละ 150 บาท  แล้วขยายพันธุ์เพิ่มเติมด้วยตัวเอง โดยการติดตาน้อยหน่าเพชรปากช่องที่ต้นตอน้อยหน่าพันธุ์พื้นเมือง ขณะนี้มีพื้นที่ปลูกประมาณ 10 ไร่  จำนวนกว่า 1,000 ต้น (ไร่ละ 100 ต้น) ซึ่งการขยายพันธุ์โดยวิธีติดตา นอกจากจะช่วยประหยัดต้นทุนค่าพันธุ์แล้ว ต้นตอพันธุ์พื้นเมืองยังหาอาหารเก่ง และทนทานต่อโรคด้วย
 
การปลูกน้อยหน่าเพชรปากช่องให้ได้ขนาดผลใหญ่และมีน้ำหนักมาก จะเน้นควบคุมจำนวนผลไม่ให้เกิน 30 ผล/ต้น คัดเลือกเฉพาะผลที่สมบูรณ์เอาไว้ จากนั้นต้องคอยดูแลบำรุงรักษาต้นโดยการใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก พร้อมบำรุงใบด้วยฮอร์โมนที่หมักจากผลไม้สุก เช่น ผลมะม่วงหิมพานต์ ขณะเดียวกันยังต้องกำจัดวัชพืชและแมลงศัตรูพืชในสวน เช่น เพลี้ยแป้ง นับเป็นปัญหาสำคัญ แต่สามารถป้องกันและแก้ไขได้โดยใช้ สมุนไพรไล่แมลง ที่ผลิตขึ้นเองฉีดพ่นเป็นประจำ 
 
สมุนไพรไล่แมลงมีหลายสูตร อาทิ สูตรเผ็ดร้อน จะมีส่วนผสมของพริก กระเทียม สูตรเบื่อเมามีส่วนผสมของกลอย หางไหล ใบยาสูบ  และเม็ดสะเดา ซึ่งแต่ละสูตรจะใช้ส่วนผสมหมักกับกากน้ำตาล น้ำ และสารเร่ง พ.ด.7 ของกรมพัฒนาที่ดิน หมักทิ้งไว้นานประมาณ 1 เดือน ก็สามารถนำมาใช้งานได้ผลดี ส่วนปัญหาแมลงวันผลไม้ป้องกันได้โดยใช้วิธีห่อผลด้วยถุงพลาสติกใส  
 
นายรินทร์บอกด้วยว่า สวนมีเทคนิคในการบังคับต้นน้อยหน่าให้ทยอยออกดอกและติดผลเป็นรุ่น ๆ เพื่อให้มีผลผลิตออกสู่ตลาดต่อเนื่องตลอดทั้งปี ด้วยการตัดแต่งกิ่งแล้วรูดใบทิ้ง เมื่อน้อยหน่าแตกใบใหม่จะออกดอกมาด้วย และติดผลง่ายขึ้น น้อยหน่าที่ผลิตได้มีน้ำหนักไม่น้อยกว่า 0.5 กิโลกรัม/ผล หรือไม่ต่ำกว่า 1.5  ตัน/ไร่ ซึ่งทั้งหมดเป็นสินค้าปลอดสารพิษ นำไปจำหน่ายให้ลูกค้าในพื้นที่ จ.ฉะเชิงเทรา และชลบุรี ราคากิโลกรัมละ 60 บาท ตลาดให้การตอบรับดี ทำให้ครอบครัวมีรายได้จากการขายน้อยหน่าเพชรปากช่องไม่ต่ำกว่า 90,000 บาท/ไร่ หรือประมาณ 900,000 บาท/ปี ขณะที่มีต้นทุนประมาณ 2,000-2,500 บาท/ไร่เท่านั้น เนื่องจากผลิตแบบไม่ใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีเลย
 
“อนาคตจะไม่ขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มอีกแต่จะเน้นพัฒนาคุณภาพผลผลิตให้ดีขึ้น และยังจะจัดตั้งศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์ เพื่อขยายผลองค์ความรู้ไปสู่เกษตรกรในพื้นที่และผู้สนใจทั่วไป ซึ่งการทำเกษตรต้องปลูกป่าด้วย เพราะป่าจะสร้างสมดุลในพื้นที่ และจะทำให้ผืนดินมีความชุ่มชื้น อย่าไปทำลายระบบสมดุลเพราะจะเสียมากกว่าได้ ปล่อยให้ธรรมชาติดูแลกันเองดีกว่า” นายรินทร์ กล่าว
 
อย่างไรก็ตาม หากสนใจที่จะศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับเทคนิคการปลูกไม้ผลให้ประสบความสำเร็จ สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่  46 หมู่ 7 ต.หนองไม้แก่น อ.แปลงยาว จ.ฉะเชิงเทรา  โทร. 08-6157-5473.

วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
ฉะเชิงเทรา
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันพุธ ที่ 11 กรกฏาคม 2550
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM