เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุราษฎร์ธานี กับคอกหมูแบบบังเกอร์-แก้ปัญหามลพิษ
   
ปัญหา :
 
 
ฟาร์มเลี้ยงหมูนั้น เป็นที่ทราบกันดีว่า สำหรับชาวบ้านที่อยู่ละแวกใกล้เคียง อยากจะย้ายบ้านหนีวันละหลายๆ หน เพราะมลพิษที่ถูกรบกวนสารพัดอย่าง

ไม่ว่าจะกลิ่นเหม็น แมลงวัน ทำความรำคาญให้กับผู้ที่อยู่ใกล้เคียงอย่างมาก บางชุมชนชาวบ้านออกมากดดันเจ้าของฟาร์ม โดยการเดินขบวนขับไล่ก็มี ร้องเรียนต่อหน่วยงานของรัฐให้เข้ามาช่วยแก้ไขก็มีมาก

หลายต่อหลายหน่วยงานพยายามแก้ไขปัญหาฟาร์มหมูส่งมลพิษรบกวน ล่าสุด อาจารย์โอภาส กุศลชู อาจารย์จากวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุราษฎร์ธานี นำเสนอการเลี้ยงแบบบังเกอร์

เลี้ยงสุกรแบบคอกบังเกอร์

อาจารย์โอภาส คิดค้นเพื่อแก้ปัญหาจากฟาร์มเลี้ยงหมู ออกแบบคอกบังเกอร์ขึ้นมา โดยมีเป้าหมายคือ กีดขวางป้อมปราการกันกลิ่นและมลภาวะการเลี้ยงสุกร ลดต้นทุนสร้างคอก ผนัง 4 ด้าน เป็นกระสอบทรายคล้ายบ่อทราย และมีรูปร่างลักษณะภายนอกคล้าย Bunker ของทหาร ซึ่งทางการรถไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยให้การสนับสนุนแนวความคิดและงบประมาณเพื่อการศึกษาวิจัยเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว

"การทำคอกบังเกอร์แบบนี้จะช่วยให้บ้านพักอาศัยอยู่ร่วมกับฟาร์มหมูได้ เพราะที่ผ่านมาที่อยู่อาศัยไม่สามารถจะอยู่ร่วมกับฟาร์มหมูได้เพราะทนสภาพสิ่งแวดล้อมที่เป็นอยู่" อาจารย์บอก

การสร้างคอกจะออกแบบให้เหมาะสมกับการเลี้ยงสุกรแบบใช้ต้นทุนต่ำ ใช้วัสดุในพื้นที่และผลที่ออกมาทุกอย่างต้องสมบูรณ์ ไม่ว่าจะเป็นผู้เลี้ยงและเจ้าของเขียงหมูที่รับซื้อ



คอกเลี้ยงหมูแบบบังเกอร์ ประกอบด้วย

1. โรงเรือนแบบหน้าจั่ว ธรรมดาหลังคามุงด้วยจาก

2. ผนังคอกแบ่งเป็น 2 ชั้น ชั้นนอกเป็นกระสอบอาหารสัตว์บรรจุทราย เย็บปากกระสอบวางทับซ้อนแบบก่ออิฐมอญ วางรอบเหมือนบังเกอร์ เพื่อปรับอุณหภูมิภายในคอก ชั้นในเป็นไม้ไผ่ผ่าซีก ขนาดกว้าง 2 นิ้ว ยาว 1.20 เมตร ตีเป็นแผงกั้นทั้ง 4 ด้าน

3. พื้นคอกใช้พื้นดิน ที่ขุดลึกประมาณ 20 เซนติเมตร ปูด้วยวัสดุรองพื้น (แกลบผสมขี้เลื่อย อัตรา 1 ต่อ 1) พร้อมใช้ EM กับกากน้ำตาลอย่างละ 2 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 10 ลิตร ผสมให้มีความชื้นประมาณ 40-50% หมักไว้ 3 วันก่อนการเลี้ยง

ต้องเพิ่มวัสดุรองพื้นตลอดการเลี้ยงจำนวน 3 ครั้ง เพื่อปรับให้วัสดุรองพื้นไม่แข็งตัว ทำให้หมูสามารถขุดคุ้ยได้ออกกำลังกาย อีกทั้งยังช่วยในการดูดซับมูลและปัสสาวะได้ดี

การเพิ่มวัสดุรองพื้นที่ ครั้งแรกเริ่มเลี้ยง หนา 20 เซนติเมตร ครั้งที่สอง หนา 15 เซนติเมตร หลังเลี้ยง 45 วัน และครั้งที่สาม หนา 15 เซนติเมตร หลังครั้งที่ 2 30 วัน

4. รางอาหาร ใช้รางอาหารแบบตัววี ทำด้วยไม้ กว้าง 10 นิ้ว หนา 1 นิ้ว ยาว 1 เมตร ตีประกบแบบตัววี ใช้ไม้ขนาดเดียวกัน ยาวประมาณ 50 เซนติเมตร กั้นปิดทั้งสองข้างเจาะรูหัวท้ายใช้เชือกผูก สามารถปรับขึ้นลงได้สะดวก

5. การให้น้ำ ใช้หัวให้น้ำแบบอัตโนมัติจัดสร้างที่รองน้ำทิ้งออกสู่ภายนอกคอก ก่อด้วยอิฐบล็อค สูงประมาณ 50 เซนติเมตร

ต้องกลบฝังมูลหมูทุก 3-4 วัน และกลับวัสดุรองพื้นทุก 15 วัน

6. เมื่ออากาศร้อนใช้น้ำรดกระสอบทรายเพื่อปรับอุณหภูมิคอก หมูเล็ก รดน้ำทุก 5-7 วัน หมูใหญ่ รดน้ำทุก 3-5 วัน

7. ใช้จุลินทรีย์ EM ผสมน้ำให้สุกรกิน และใช้ราดพื้นคอกช่วยควบคุมไม่ให้มีกลิ่นเหม็น



ประโยชน์จากการเลี้ยง

1. ต้นทุนต่ำ เนื่องจากคอกเป็นแบบง่าย ราคาถูก

2. ไม่มีกลิ่นเหม็นและมลภาวะจากการเลี้ยง

3. ไม่ใช้น้ำล้างคอก ไม่มีน้ำเสียและสิ่งปฏิกูลจากคอก ใช้วัสดุรองพื้น

4. สามารถปรับอุณหภูมิของคอกโดยการรดน้ำที่กระสอบทราย

5. หมูออกกำลังโดยการขุดคุ้ยวัสดุรองพื้นอยู่ตลอดเวลา

6. จำหน่ายมูลหมูหลังจากการเลี้ยง เนื่องจากเป็นปุ๋ยหมักชีวภาพร่วนไม่มีกลิ่นเหม็น



ฟาร์มที่ จ.อุบลฯ ทดลองใช้

อาจารย์โอภาส เล่าอีกว่า ก่อนหน้านี้ทางการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พร้อมด้วยโครงการเลี้ยงหมูแบบคอกบังเกอร์ อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี โดยกลุ่มเชี่ยวชาญสัตว์เล็ก ศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง จังหวัดสุรินทร์ ร่วมกับสำนักงานปศุสัตว์ จังหวัดอุบลราชธานี และสำนักงานปศุสัตว์ อำเภอสิรินธร ให้การสนับสนุนและดำเนินการภายใต้โครงการเกษตรกรรมธรรมชาติ การเลี้ยงหมูบังเกอร์ซึ่งเป็นโครงการย่อย 1 ใน 4 โครงการ ที่ทางการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ได้ดำเนินการอยู่ ด้วยการร่วมกับวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุราษฎร์ธานี นำไปถ่ายทอดให้ฟาร์มเลี้ยงที่จังหวัดอุบลราชธานีได้รับความสนใจอย่างมากจากเกษตรกรที่เลี้ยงหมู

สำหรับผู้ที่สนใจการเลี้ยงหมูแบบคอกบังเกอร์ สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ อาจารย์โอภาส กุศลชู วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุราษฎร์ธานี อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี โทร. (081) 607-2872, (077) 399-079

วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
สุราษฎร์ธานี
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคใต้
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 ปีที่ 20 ฉบับที่ 424
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM