เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
เครื่องตีเยื่อกระดาษจากใบสับปะรดแบบถังปิด ลดปัญหาโลกร้อน สร้างรายได้สู่ชุมชน
   
ปัญหา :
 
 
สับปะรด ถือได้ว่าเป็นพืชที่มีความสำคัญในอุตสาหกรรมเกษตร นอกจากนิยมบริโภคสดแล้วยังสามารถแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์หลากหลายชนิด เช่น สับปะรดกระป๋อง น้ำสับปะรดพร้อมดื่ม สับปะรดกวน สับปะรดอบแห้งและอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมสับปะรดกระป๋อง เปลือกสามารถใช้เป็นอาหารสัตว์ ใบใช้ทำเส้นใยและกระดาษ

ปัจจุบันสับปะรดทำรายได้เข้าสู่ประเทศเป็นจำนวนกว่าหนึ่งหมื่นล้านบาทต่อปี ทำให้มีการปลูกเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งสามารถปลูกได้ทุกภาคของประเทศและทุกเดือน ซึ่งสายพันธุ์สับปะรดที่นิยมปลูกได้แก่ สายพันธุ์ปัตตาเวีย สายพันธุ์นางแล สายพันธุ์ภูเก็ต เป็นต้น

หลังจากเกษตรกรเก็บผลผลิตแล้ว จะมีการใช้รถไถสับฟันใบสับปะรดทิ้งเป็นจำนวนมากเป็นการสูญเสียโดยเปล่าประโยชน์ หรือเกษตรกรจะเก็บรวบรวมไว้ในแปลงแล้วตากแดดให้แห้งและหลังจากนั้นเผาทิ้ง ซึ่งเป็นการก่อมลพิษทางอากาศและยังก่อให้เกิดสภาวะโลกร้อนอีกด้วย ดังนั้น จึงได้มีการส่งเสริมการทำกระดาษจากใบสับปะรดในระดับชุมชน เพื่อเป็นการส่งเสริมเกษตรกรให้มีรายได้เพิ่มอีกด้วย

กรรมวิธีการผลิตกระดาษจากใบสับปะรดประกอบด้วย นำต้นสับปะรดมาปลิดใบออกจากลำต้น แล้วนำไปล้างทำความสะอาด จากนั้นนำไปต้มในน้ำผสมโซดาไฟ เมื่อต้มจนใบสับปะรดเปื่อยแล้วนำไปล้างน้ำให้สะอาด และนำเยื่อที่ได้ไปตีให้เยื่อมีความละเอียดเหมาะสมต่อการทำกระดาษ ต่อจากนั้นนำเยื่อที่ได้ไปขึ้นเฟรมทำกระดาษ และนำไปตากแดดให้แห้งก็จะได้กระดาษจากใบสับปะรดตามต้องการ แต่จากการศึกษาพบว่า กระบวนการตีเยื่อใบสับปะรดให้มีความละเอียดนั้นเกษตรกรจะใช้แรงงานคนเป็นหลัก โดยใช้เท้าเหยียบซึ่งเป็นการตีแบบหยาบ จากนั้นจึงใช้มือตีเส้นใยให้ละเอียดอีกครั้งซึ่งต้องใช้เวลาและแรงงานเป็นจำนวนมาก

จากเหตุผลดังกล่าว อาจารย์ภาณุมาศ สุยบางดำ และนักศึกษาสาขาเกษตรกลวิธาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ศรีวิชัย วิทยาลัยรัตภูมิ จึงได้ออกแบบและพัฒนาเครื่องตีเยื่อกระดาษจากใบสับปะรดขึ้น

ตัวเครื่องมีขนาดกะทัดรัด ง่ายต่อการใช้งานและเคลื่อนย้าย โดยมีขนาด กว้างxยาวxสูง เท่ากับ 55x45x90 เซนติเมตร ใช้มอเตอร์ขนาด 1 แรงม้า 220 โวลต์ เป็นต้นกำลังขับ มีใบมีดตีเยื่อทั้งหมด 10 ใบ

สามารถตีเยื่อใบสับปะรดที่ผ่านการต้มและล้างทำความสะอาดแล้ว โดยในการตีเยื่อแต่ละครั้งจะใช้เยื่อ 5 กิโลกรัม ต่อน้ำเปล่า 15 กิโลกรัม ความเร็วรอบของชุดใบตีที่เหมาะสมเท่ากับ 480 รอบ ต่อนาที และในการตีแต่ละครั้งจะใช้เวลาประมาณ 7 นาที แต่ทั้งนี้เวลาในการตีเยื่อยังขึ้นกับการนำกระดาษไปใช้งานด้วย เช่น หากต้องการกระดาษที่มีผิวเรียบก็ใช้การทำงานที่สภาวะดังกล่าวได้เลย แต่หากต้องการกระดาษที่มีผิวหยาบก็จะต้องลดเวลาในการตีเยื่อลงตามความเหมาะสม ข้อดีอีกประการหนึ่งของเครื่องตีเยื่อที่ได้ออกแบบคือ สามารถป้องกันเยื่อกระเด็นออกจากถังขณะตีเยื่อ เพราะถังของเครื่องมีลักษณะเป็นแบบปิด ซึ่งปัญหาดังกล่าวจะไม่เกิดกับเครื่องตีเยื่อกระดาษจากใบสับปะรดแบบถังปิด

สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ อาจารย์ภาณุมาศ สุยบางดำ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาลัยรัตภูมิ โทร. (086) 961-2216 หรือ (074) 584-204

วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
---ไม่ระบุ---
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
---ไม่ระบุ---
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2551 ปีที่ 20 ฉบับที่ 429
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM