เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
ข้อคิดจาก มก. เลี้ยงโคนมด้วยหญ้าแพงโกล่า ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
   
ปัญหา :
 
 
จากสภาวการณ์ปัจจุบันที่เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมกำลังประสบปัญหาในเรื่องต้นทุนการผลิตนมที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องมาตลอด ทำให้เกษตรกรต้องหาแนวทางในการลดต้นทุนเพื่อให้สามารถดำรงอาชีพอยู่ได้

ดังนั้น ภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงได้จัดทำโครงการบริการวิชาการและถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการเกษตร เน้นการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การผลิตและการใช้ประโยชน์พืชอาหารสัตว์ในการเลี้ยงสัตว์เคี้ยวเอง ขึ้น โดยมี รศ.ดร.สมเกียรติ ประสานพานิช เป็นหัวหน้าโครงการ

โครงการนี้เน้นการให้ความสำคัญต่อการหาแนวทางในการลดต้นทุนการผลิตนม โดยใช้พืชอาหารสัตว์ที่เป็นแหล่งอาหารหยาบคุณภาพดีในการเลี้ยงโคนม

ภายใต้การดำเนินงานได้มีการส่งเสริม ด้วยการจัดฝึกอบรมให้แก่สมาชิกของสหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนมในจังหวัดสระบุรี และนครราชสีมา ได้นำข้อแนะนำเกี่ยวกับการสร้างทุ่งหญ้าคุณภาพดีในการผลิตนมด้วยต้นทุนที่ต่ำลง อันเป็นทางออกที่สำคัญของการลดต้นทุนการผลิตในวันนี้

โดยหนึ่งในเรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับการผลิตและการใช้ประโยชน์พืชอาหารสัตว์นั้น รศ.ดร.สมเกียรติ ประสานพานิช และ อาจารย์สิทธิชัย แก้วสุวรรณ แห่งศูนย์วิจัยและพัฒนาการผลิตนม สถาบันสุวรรณวาจกกสิกิจเพื่อการค้นคว้าและพัฒนาปศุสัตว์และผลิตภัณฑ์สัตว์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ได้ให้ข้อแนะนำที่น่าสนใจไว้ในหัวข้อเรื่อง การใช้ประโยชน์จากหญ้าแพงโกล่าในการเลี้ยงโคนม

ดร.สมเกียรติบอกว่า กรมปศุสัตว์ได้มีการจัดตั้งโครงการนาหญ้าและพัฒนาเป็นอาชีพผลิตเสบียงอาหารสัตว์และสนับสนุนให้ธุรกิจการผลิตและจำหน่ายให้แก่เกษตรกร โดยหญ้าแพงโกล่าเป็นหญ้าที่มีใบดก อ่อนนุ่ม สัตว์ชอบกิน ส่วนการนำไปใช้ประโยชน์ ประกอบด้วยการตัดสด ปล่อยโคลงแทะเล็ม รวมทั้งทำหญ้าแห้งและหญ้าหมัก โดยทั่วไปแล้วเกษตรกรมักจะเลือกใช้วิธีการตัดสดไปให้โคกินในคอก

ทั้งนี้การใช้หญ้าแพงโกล่าเลี้ยงโคนั้นพบว่า โคที่ปล่อยเข้าแทะเล็มในแปลงหญ้าแพงโกล่าแบบหมุนเวียนเป็นเวลา 180 วัน และ 365 วัน โคจะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 580 และ 612 กรัม ต่อตัว ต่อวัน ตามลำดับ หากนำไปเลี้ยงโคเนื้อและเสริมอาหารข้นวันละ 105 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว โคจะมีอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ย 1.3 กิโลกรัม ต่อวัน

แต่ในช่วงที่ขาดแคลนหญ้าสด เช่น ในช่วงฤดูแล้ง เกษตรกรก็สามารถนำหญ้าแพงโกล่าหมักมาใช้เลี้ยงโคนมได้ โดยไม่ทำให้ผลผลิตนมลดลงแต่อย่างไร กล่าวคือ แม่โครีดนมที่กินหญ้าแพงโกล่าหมักสามารถให้ผลผลิตนมวันละ 15.7 กิโลกรัม ต่อตัว ซึ่งไม่แตกต่างกันกับแม่โคที่กินหญ้าแพงโกล่าสด ซึ่งให้น้ำนม 15.2 กิโลกรัม ต่อตัว ทั้งนี้องค์ประกอบน้ำนมก็ไม่แตกต่างกันด้วย

ดร.สมเกียรติยังให้ข้อมูลเกี่ยวกับอายุในการตัดหญ้า โดยอาจมีปัญหามาจากด้านการจัดการ ทำให้ต้องยืดอายุการตัดหญ้าออกไป ซึ่งจะส่งผลให้หญ้าที่ได้มีคุณภาพต่ำลง ซึ่งทำหญ้าแห้งโดยใช้หญ้าแพงโกล่าคุณภาพต่ำ หรือที่อายุการตัด 82 วัน ซึ่งมีโปรตีน 104 เปอร์เซ็นต์

เมื่อนำไปเลี้ยงโคพบว่า การกินได้ การย่อยได้ของโปรตีน ไนโตรเจนสะสมและการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักตัวจะน้อยกว่าโคที่ได้รับหญ้าแห้งคุณภาพดี หรือที่อายุการตัด 45 วัน นอกจากนั้น การนำหญ้าดังกล่าวไปหมักก็ไม่ทำให้คุณค่าของหญ้าเพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ตาม การหมักหญ้าร่วมกับถั่ว อาหารสัตว์อื่นๆ เช่น กระถิน จะช่วยให้โภชนะ และความน่ากินของพืชหมักดีขึ้น ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยปรับปรุงคุณภาพของหญ้าแพงโกล่าคุณภาพต่ำให้ดีขึ้นได้ ซึ่งการปรับปรุงหญ้าแพงโกล่าคุณภาพต่ำที่อายุการตัดมากกว่า 90 วัน ด้วยการหมัก โดยการเสริมกระถินในอัตราส่วน 20 เปอร์เซ็นต์น้ำหนักสด และเติมกากน้ำตาล 4 เปอร์เซ็นต์น้ำหนักสด นำไปเลี้ยงแพะพันธุ์ลูกผสมพื้นเมือง-แองโกลนูเบี้ยน มีผลทำให้แพะกินอาหารได้มากขึ้น และอัตราการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้นสูงสุด

ดังนั้น อัตราส่วนของกระถิน 20 เปอร์เซ็นต์ จึงมีความเหมาะสมต่อการปรับปรุงหญ้าแพงโกล่าคุณภาพต่ำสำหรับเป็นอาหารของสัตว์เคี้ยวเอื้อง

นอกจากนี้ หากใช้หญ้าแพงโกล่าแห้งเลี้ยงโครีดนม ร่วมกับอาหารข้นที่มีโปรตีน 16 เปอร์เซ็นต์ ในสัดส่วน 1 กิโลกรัม ต่อน้ำนม 2 กิโลกรัม สามารถลดต้นทุนค่าอาหารหยาบลงได้

ซึ่งการนำกระถินมาใช้เป็นแหล่งอาหารหยาบเสริมการกินหญ้านั้น มีรายงานการทดลองว่า แม่โครีดนมที่แทะเล็มแปลงหญ้ากินนีสีม่วงและเสริมด้วยกระถิน สามารถให้ผลผลิตนมได้แตกต่างกัน ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติกับกลุ่มที่กินหญ้าและเสริมอาหารข้น

ดร.สมเกียรติยังบอกว่า งานวิจัยเรื่องการใช้กระถินในการลดต้นทุนการผลิตนม ซึ่ง พิพัฒน์ (2550) ได้รายงานว่า การเลี้ยงแม่โครีดนมลูกผสมโฮลสไตน์ฟรีเชี่ยน โดยใช้กระถินสดแทนอาหารข้น ที่กินหญ้าแพงโกล่าเป็นอาหารหยาบสด โดยแบ่งแม่โคออกเป็น 3 กลุ่มทดลอง ได้รับหญ้าแพงโกล่าที่ใช้เป็นหญ้าสดตัดที่อายุประมาณ 35 วัน และมีการเสริมดังนี้

กลุ่มที่ 1 แม่โคกินหญ้าแพงโกล่าเต็มที่ โดยเสริมอาหารข้น 100 เปอร์เซ็นต์ ในอัตราอาหารข้นวันละ 4 กิโลกรัม ต่อตัว

กลุ่มที่ 2 แม่โคกินหญ้าแพงโกล่าเต็มที่ โดยเสริมอาหารข้น 50 เปอร์เซ็นต์ และเสริมกระถิน 50 เปอร์เซ็นต์ หรืออาหารข้น 2 กิโลกรัม + กระถิน 4 กิโลกรัม ต่อตัว ต่อวัน)

กลุ่มที่ 3 แม่โคกินหญ้าแพงโกล่าเต็มที่ โดยเสริมกระถิน 100 เปอร์เซ็นต์ ในอัตราการเสริมกระถินวันละ 8 กิโลกรัม ต่อตัว

ผลการทดลองหลังจากแม่โคกินกระถินไปได้ 100 วัน พบว่า การเสริมกระถินในอัตรา 50 และ 100 เปอร์เซ็นต์ เพื่อทดแทนการใช้อาหารข้นนั้น ทำให้แม่โคนมให้ผลผลิตนมใกล้เคียงกันกับแม่โคที่ให้กินอาหาร

แต่องค์ประกอบน้ำนมของแม่โคในกลุ่มที่กินกระถินให้องค์ประกอบน้ำนม เช่น ไขมันนม โปรตีน น้ำตาลนม สารแข็งไร้ไขมันมากกว่าแม่โคในกลุ่มที่กินอาหารข้น แต่ที่น่าสังเกตประการหนึ่งที่สำคัญมากคือ จำนวนจุลินทรีย์ในน้ำนมลดลงมาก ในส่วนของโคที่กินกระถินทั้ง 2 อัตรา รวมทั้งแม่โคนมในกลุ่มที่กินกระถินก็สามารถเป็นสัดและได้รับการผสมเทียมเพื่อการตั้งท้องในเวลาต่อมา

ดร.สมเกียรติได้สรุปให้ฟังว่า การตัดหญ้าแพงโกล่าที่มีอายุน้อยจะให้คุณค่าทางโภชนะ และค่าการย่อยได้สูงกว่าหญ้าที่ยืดอายุมาก ทำให้สามารถนำหญ้าแพงโกล่ามาใช้ในการเลี้ยงโคนมได้เป็นอย่างดี โดยมีข้อมูลจากงานทดลองของ อาจารย์สายัณห์ ทัดศรี ได้แนะนำว่า ไม่ควรตัดหญ้าที่อายุเกินกว่า 45 วัน หรือถ้าเป็นไปได้ควรตัดทุกๆ 30 วัน จะได้หญ้าที่มีคุณภาพสูง ซึ่งการปลูกหญ้าแพงโกล่าไว้ใช้เองในฟาร์ม ไม่ว่าจะเป็นการตัดสด หญ้าแห้ง หรือหญ้าหมัก ก็สามารถรักษาระดับผลผลิตของโคในฟาร์มให้สม่ำเสมอตลอดปีได้

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของข้อมูลที่น่าสนใจจากการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การผลิตและการใช้ประโยชน์พืชอาหารสัตว์ในการเลี้ยงสัตว์เคี้ยวเอง ของภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งจะนำมาเสนอเป็นลำดับต่อไป ส่วนผู้ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ ภาควิชาสัตวบาล โทร. (02) 579-1120 และ (02) 579-0649 เพื่อให้การเลี้ยงโคนมได้ประสบความสำเร็จ สามารถยืนหยัดได้อย่างยั่งยืนตลอดไป

วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
กรุงเทพมหานคร
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 15 กรกฏาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 20 ฉบับที่ 435
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM