เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
วิธีกำจัดหญ้าคาในสวนไผ่ตง
   
ปัญหา :
 
 

     ดิฉันปลูกไผ่ตงไว้ 2 แปลง พันธุ์ที่ปลูกคือ พันธุ์ศรีปราจีน ที่อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ขณะนี้ไผ่มีอายุ 1 ปี 4 เดือน ก่อนปลูกได้นำตัวอย่างดินไปวิเคราะห์ ได้ค่า pH 4.8 สภาพพื้นที่เป็นที่ลุ่มน้ำขัง ลักษณะเป็นดินเหนียวปนดินทราย มีความอุดมสมบูรณ์ระดับปานกลาง การปลูกไผ่ต้องยกร่องสูงประมาณ 1 เมตร ลักษณะทั่วไปของต้นไผ่ที่ปลูกไว้แข็งแรงดี แต่บริเวณร่องสวนมีวัชพืชจำพวกหญ้าคามาก จึงขอเรียนถามปัญหาดังนี้

  1. วิธีกำจัดหญ้าคา (หลายวิธี)
  2. ควรนำตัวอย่างดินหลังปรับปรุงดินด้วยการใส่ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก และแกลบดิบ ไปวิเคราะห์หาความอุดมสมบูรณ์อีกหรือไม่ 3. ปัจจุบันได้ตอนกิ่งขายบ้างแล้ว ปี 2546 จะเริ่มมีผลผลิตออกมามาก อยากทราบว่ามีตลาดรองรับที่ใดบ้างและจะหาความรู้เรื่องการแปรรูปจากแหล่งใดคะ
วิธีแก้ไข :
 
  1. หญ้าคา เป็นวัชพืชที่สามารถขยายพันธุ์ด้วยไหล ส่วนที่อยู่ใต้ดิน และนอกจากนี้ยังขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดที่ปลิวไปตามลมได้ในระยะไกล วิธีการกำจัดหรือควบคุมปริมาณการระบาดของหญ้าคา ควรใช้หลายวิธีร่วมกัน โดยเริ่มจากการเตรียมดินปลูกด้วยการไถดิน ขุดรากเหง้าหรือไหลออกทำลายทิ้งไป ตากดินจนแห้งใช้เวลาอย่างน้อย 3 สัปดาห์ ก่อนที่ต้นหญ้าคาจะออกดอกให้ตัดต้นหญ้าคาด้วยเครื่องตัดหญ้าแบบสะพายหลัง นำส่วนที่ตัดออกมาคลุมโคนต้นหน่อไม้หรือคลุมกอของหญ้าคาก็ได้ เมื่อมีความชื้นระบบรากหญ้าคาจะลอยขึ้น ทำให้ถอนทิ้งได้ง่าย อาจปลูกพืชคลุมดินเพื่อควบคุมการเจริญเติบโตของต้นหญ้าคา เช่น หญ้าเซ็นโตรซีมา หรือ ถั่วซีโลเลียม ชนิดใดชนิดหนึ่ง แหล่งเมล็ดพันธุ์ติดต่อสอบถามที่สถานีพืชอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์ ใกล้บ้านได้ในวันเวลาราชการ วิธีสุดท้าย หากไม่มีทางเลือกเนื่องจากการระบาดรุนแรงมาก อีกทั้งขาดแคลนแรงงาน ให้ฉีดพ่นด้วยสารกำจัดวัชพืชไกลโฟเซต อัตรา 320-480 กรัม ต่อไร่ ส่วนปริมาณน้ำนั้นให้เฉลี่ยจากการฉีดน้ำเปล่าที่ครอบคลุมพื้นที่ได้ 1 ไร่ พอดี เมื่อได้ปริมาณน้ำจากการทดลองฉีดพ่นจริง ๆ แล้วจึงเติมสารเคมีเพื่อฉีดพ่นต่อไป อย่างไรก็ตาม ต้องระวังอย่าให้ละอองสารเคมีไปสัมผัสกับต้นไผ่ ให้กั้นด้วยพลาสติก ระหว่างแนววัชพืชกับแนวของแปลงปลูกต้นไผ่ สารกำจัดวัชพืชชนิดนี้เป็นชนิดดูดซึมจะทำให้หญ้าคาถูกกำจัดได้ในที่สุด
  2. ในกรณีที่ปรับปรุงดินแล้ว ต้นไม้เจริญเติบโตดีเป็นปกติ ก็ไม่จำเป็นต้องนำตัวอย่างดินไปวิเคราะห์ทันที ควรเว้นไปสัก 2-3 ปี แต่ถ้าหากไม่เป็นห่วงเรื่องค่าใช้จ่ายในการวิเคราะห์ตัวอย่างดินแล้ว คุณสามารถดำเนินการได้เลย 3. ผู้สนใจผลผลิตหน่อไม้ไผ่ตงในเขตจังหวัดสงขลา (ปี 2546) ติดต่อสอบถามได้ที่ คุณจรัสศรี จินอาตัน ตามหมายเลขโทรศัพท์ที่ให้ไว้ ส่วนแหล่งข้อมูลการแปรรูปติดต่อสอบถามที่ภาควิชาอุตสาหกรรมอาหาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้ในวันเวลาราชการครับ
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จะนะ
จังหวัด :
สงขลา
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคใต้
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2545 ปีที่ 15 ฉบับที่ 301
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM