เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
การเลี้ยงกบในกระชังของผู้ใหญ่บ้านที่มีความพอเพียง
   
ปัญหา :
 
 

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงห่วงใยราษฎรในทุกพื้นที่ที่ได้รับความเดือดร้อน จังหวัดพิษณุโลกเช่นเดียวกันที่ราษฎรเดือดร้อนที่มักประสบปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากในฤดูฝนและใน   ฤดูแล้งก็จะพบปัญหาน้ำแล้งมาโดยตลอด ดังนั้นจึงมี   พระราชดำริให้กรมชลประทานดำเนินการก่อสร้างเขื่อนแควน้อยฯ โดยมีสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) เป็นผู้สนับสนุนงบประมาณและประสานการดำเนินงานในการก่อสร้างเขื่อนแควน้อยฯ ซึ่งได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2546 และจะสามารถกักเก็บน้ำได้ในช่วงฤดูฝนในปีนี้
 
นอกจากจะสร้างเขื่อนแล้ว ทางสำนักงาน กปร.ยังจัดให้มีการฝึกอาชีพของราษฎรในพื้นที่รายรอบเขื่อนโดยการส่งเสริมสนับสนุนจากหน่วยราชการใน  จังหวัดพิษณุโลก อาชีพที่สนับสนุนเหล่านี้ล้วนเป็นอาชีพเสริมรายได้และช่วยลดค่าใช้จ่ายให้แก่ครอบครัวเพื่อให้ประชาชนบริเวณรอบเขื่อนมีอาชีพและรายได้ เสริมเลี้ยงครอบครัวเพิ่มขึ้น
 
ตัวอย่าง เช่น นายสมพงษ์ อ้นชาวนา อยู่ที่หมู่ 2 บ้านบางกระน้อย ต.นครป่าหมาก อ.บางกระทุ่ม จ.พิษณุโลก เขาได้รับรางวัลชมเชยในการประกวดผลงานตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในโครงการเฉลิมพระเกียรติ “80 พรรษาปวงประชาสุขศานต์” ซึ่งเป็นผู้น้อมนำ แนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ไปปฏิบัติจนมีชีวิตที่ดีขึ้น
 
กิจกรรมที่เพิ่มรายได้ เช่น เลี้ยงวัว เลี้ยงกบ เลี้ยงปลา เลี้ยงจิ้งหรีด ปลูกข้าว ปลูกไม้ผล ทำปุ๋ยหมัก เผาถ่าน ทำให้ครอบครัวมีรายได้มั่นคงและมีภูมิคุ้มกันในตัวเองตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
 
เห็นเขาเลี้ยงกบในกระชังได้ตัวโตมาก... มาก จึงขอคำแนะนำจากเขามาว่าเลี้ยงอย่างไรให้ได้ตัวโตขนาดนั้น เผื่อผู้อ่านจะนำไปเลี้ยงบ้าง อาจจะประสบความสำเร็จเช่นเขา ทอดกบนี่เป็นอาหารขึ้นชื่อของฝรั่งเศสเชียวนะ แต่ของเขาไม่รู้สายพันธุ์อะไร นอกจากกบแล้วชาวฝรั่งเศสเขายังนิยมรับประทานหอยทากด้วย อ่านแล้วเชื่อว่าผู้อ่านมีอยู่ 2 ทางเลือกคือ อยากกิน และไม่อยากกิน...
 
สมพงษ์ อ้นชาวนา บอกว่า การเลี้ยงกบในกระชังมีวิธีการคือต้องนำกระชังลงไปแช่ไว้ในบ่อ โดยการปักเสา 4 เสาแล้วมัดกระชังตัดกับหลักไม้ขอบกระชังสูงจากผิวน้ำประมาณ 1 เมตร แล้วทำแพไม้ไผ่ใส่ในกระชังความกว้าง-ยาวแล้วแต่ขนาดของกระชัง และนำผักบุ้งใส่ลงไปด้วยเอาไว้ให้เป็นที่หลบอาศัยของกบ พอเสร็จแล้วนำลูกกบใส่ลงไปตามขนาดของกระชัง ไม่ให้มากหรือน้อยเกินไปเพราะถ้าใส่ลูกกบลงไปมากจะทำให้กบแน่นกระชัง แล้วกบจะกินกันเองหรือไม่จะกัดกันเกิดแผลและจะตายในที่สุด หรือหากใส่น้อยเกินไปกบจะมีปัญหา คือ กินอาหารไม่ทั่วถึงเพราะว่าเราต้องหว่านอาหารลงในน้ำพื้นที่มันกว้างเกินกว่าที่กบจะว่ายน้ำกินอาหารได้หมด เพราะฉะนั้น เราต้องเน้นความพอประมาณในการเลี้ยงการเลี้ยงอาหารควรให้อาหารแต่พอดี เพราะถ้าให้มากเกินไปจะทำให้น้ำเสียเร็ว แต่ถ้าให้น้อยเกินจะทำให้กบกินไม่อิ่ม เมื่อกินไม่อิ่มมันก็จะกินกันเอง
 
ข้อดีของการเลี้ยงกบในกระชังคือเราไม่ต้องถ่ายน้ำและเศษอาหารที่เหลือก็ยังจมลงไปให้ปลาที่อยู่ในบ่อกินต่อไปอีกด้วย เพราะฉะนั้นเราต้องปล่อยปลาลงไปในบ่อน้ำนั้นด้วยเพื่อให้ปลาคอยเก็บเศษอาหารกิน
 
สมพงษ์บอกว่า หากใครยังไม่ขุดบ่อและไม่อยากขุด สามารถทำบ่อเลี้ยงกบง่ายได้ดังนี้เพียงนำดินมาทำเป็นคันล้อมเป็นสี่เหลี่ยมเป็นบ่อทำคันดินกว้าง 50 ซม. สูง 20-30 ซม. โดยเว้นบริเวณบ่อกว้าง 3 คูณ 3 เมตร ปูด้วยผ้ายางในบ่อ ส่วนนอกบ่อล้อมด้วยผ้าลี่สูง 120 ซม. วางท่อระบายน้ำบริเวณพื้นบ่อเพื่อปล่อยน้ำออกบ่อที่ทำ ไม่ควรขุดลงไปเพราะจะปล่อยน้ำยาก ต้องวิดหรือสูบออก แนะนำให้นำดินจากที่อื่นมาทำเป็นคันดินกั้นน้ำและวางท่อจะปล่อยน้ำออกง่าย ทำบ่อเสร็จปล่อยน้ำใส่ลงบ่อให้เต็ม นำผักบุ้งใส่ลงไปในบ่อเอาไว้ให้ลูกกบอาศัย แล้วนำเอาลูกกบใส่ลงในบ่อ 1,000 ตัว จะพอดีกับพื้นที่ 3 คูณ 3 เมตร เลี้ยงด้วยอาหารปลาดุกหรืออาหารกบตามขนาดของตัวกบ แต่ขอแนะนำให้อาหารปลาดุกจะประหยัดต้นทุน ในช่วงที่ลูกกบยังตัวเล็กให้เลี้ยงด้วยหัวอาหาร แต่พอกบโตขึ้นให้ไป เอาหอยเชอรี่ต้มแล้วหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ให้กบกินคู่กับ   หัวอาหารหรือให้กินหอยเชอรี่อย่างเดียวก็ได้จะทำให้ประหยัดเป็นอย่างมาก โดยเอากองบนไม้กระดานเป็นกอง ๆ ประเดี๋ยวกบจะมากินเอง แต่แนะนำให้เลี้ยงในช่วงเย็นเพราะกบจะกินในตอนกลางคืนหรือถ้าที่ไหนมีลูกปลาซิวหรือปลากระดี่ ให้ไปช้อนเอามาเป็น ๆ มาใส่ไว้ในบ่อ เดี๋ยวกบจะกินเองจะลดต้นทุนได้เยอะมาก
 
การนำกบลงบ่อแนะนำให้เอาลูกอ๊อดที่ออกขาหมดแล้ว แต่หางยังไม่หลุด เพราะลูกกบช่วงนี้จะอยู่ในน้ำกำลังจะขึ้นนั่งบนบก ลูกกบจะคุ้นเคยกับบ่อเป็นอย่างดีเพราะมันจะคิดว่าเป็นธรรมชาติไม่กระโดดชนผ้าลี่ แต่ถ้าเอาลูกกบที่กระโดดได้แล้วมันอาจจะกระโดดชนผ้าลี่ตายได้
  
“เมื่อเราปล่อยลูกกบลงไป 1,000 ตัว จะเหลือกบที่โตแล้วประมาณ 800 ตัว เพราะกบจะกินกันเองหรือตายเอง เราต้องคอยดูว่ามีอะไรเข้าไปกวนกบได้หรือไม่ ถ้าเราปล่อยกบ 1,000 ตัว แล้วเหลือกบ 800 ตัว แล้วเลี้ยง 3 เดือนกบจะโตอยู่ที่ 4-5 ตัวต่อกิโลกรัม รวมแล้วได้กบ 175-200 กก. ถ้าขายโลละ 50 บาทก็ได้ประมาณ 8,500-10,000 บาท”
 
ข้อแนะนำอีกอย่างจากผู้ใหญ่สมพงษ์ อ้นชาวนา คือต้องคอยให้ยาถ่ายพยาธิอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง ถ้ามีปัญหาน้ำเน่าเสียให้ราดด้วยสารน้ำ  หมักชีวภาพหรือ อีเอ็ม ตามที่จำหน่ายในท้องตลาด จะช่วยให้เกิดออกซิเจนขึ้น ปัญหาน้ำเน่าจะเกิด   น้อยลง
 
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ผู้ใหญ่บ้านสมพงษ์  โทร. 08-9437-5924.

วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
พิษณุโลก
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคเหนือ
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันพุธ ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2551
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM