เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
ปลาดุกทะเลเลี้ยงในบ่อดินเชิงพาณิชย์ได้
   
ปัญหา :
 
 

ผศ.ทวีพร เนียมมาลัย และคณะศูนย์วิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตรประยุกต์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีได้ทำการวิจัยและพัฒนาการเลี้ยงปลาดุกทะเลสู่ชุมชน เป็นกรณีศึกษา ในพื้นที่ ต.บางครก และ ต.บางขุนไทร อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี เมื่อก่อน  หน้านี้
 
โดยใช้พื้นที่ดำเนินการวิจัยบริเวณป่าชายเลน อำเภอบ้านแหลม จ.เพชรบุรี โครงการ นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพน้ำแหล่งอาศัยของปลาดุกทะเลในธรรมชาติบริเวณป่าชายเลน อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี เพื่อศึกษาขนาดน้ำหนักและการกินอาหารของปลาดุกทะเลในธรรมชาติ วิธีดำเนินการเพื่อการศึกษาปลาดุกทะเลการ    ทำประมงแบบเกี่ยวข้องในธรรมชาติครั้งนี้ คณะ    ผู้วิจัยได้เดินทางไปกับเรือประมง เพื่อตรวจสอบคุณภาพน้ำ ได้แก่ อุณหภูมิ ความเค็ม กระแสน้ำ ค่าออกซิเจนยังแหล่งวางไข่ปลาดุกทะเลพร้อมตรวจสอบขนาดของปลาและศึกษาอาหารในกระเพาะที่ปลากินเพื่อบันทึกสภาพทั่วไปของพื้นที่
 
ซึ่งผลการศึกษาปลาดุกทะเลที่อาศัยอยู่ในบริเวณพื้นทะเลที่เป็นหาดโคลน และรก ห่างจาก ชายฝั่งประมาณ 4 กิโลเมตรพบได้ว่าแหล่งที่อยู่ของปลาดุกทะเลนั้นอุณหภูมิที่เหมาะสมใน   การเจริญเติบโตพบว่าจะมีค่าเท่ากับ 29.5 องศาเซลเซียส มีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง =7.44 ความเค็ม 30.60 ส่วนค่าการละลายของออกซิเจนในน้ำเท่ากับ 30.35 มิลลิกรัมต่อลิตร ขณะเดียว กันในผลการศึกษาทางเดินอาหารของปลาดุก ทะเลจากการเก็บตัวอย่างสามารถจำแนกชนิด ของอาหารเป็น หอยแมลงภู่ 31.58 เปอร์เซ็นต์ ปูแสม 31.58 เปอร์เซ็นต์ เพรียง 31.05 เปอร์เซ็นต์และหอยสองฝา 15.79 เปอร์เซ็นต์ ซึ่ง อาหารที่ตรวจพบในทางเดินอาหาร จะเป็นลักษณะตัวของอาหารที่มีการย่อยแล้วบางส่วน ส่วนอาหารชนิดอื่น ๆ นอก จากนี้ตรวจพบน้ำหนักและความยาวเฉลี่ยของ ปลาดุกทะเลเท่ากับ 278.18 กรัม และ 37.78 เซนติเมตรตามลำดับ
 
ขณะเดียวกันในการศึกษาครั้งนี้มีการสำรวจแบบควบคู่กับพื้นที่ดำเนินการในบ่อเลี้ยงปลาดุกทะเลของเกษตรกร ต.บางครกและ ต.บางขุนไทร อ.บ้านเหลม จ.เพชรบุรีด้วย เพื่อศึกษาการเจริญเติบโตของปลาดุกทะเลที่เลี้ยงในบ่อของเกษตรกร และเพื่อพัฒนารูปแบบการเลี้ยงปลาดุกทะเลในบ่อดินก่อนเผยแพร่การเลี้ยงปลาดุกทะเลแก่เกษตรกรผู้สนใจต่อไป
 
การศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการโปรตีนในอาหารได้แก่ ขนาดของปลา ความต้องการโปรตีนของปลามีค่าลดลงเพราะปลามีขนาดใหญ่จะมีอัตราการเจริญเติบโตช้าลง จึง  ทำให้ปลามีความต้องการโปรตีนลดลง ทาง   ด้านอุณหภูมิปลาจะต้องการโปรตีนมากขึ้นเมื่ออุณหภูมิน้ำสูงขึ้น โดยคุณภาพโปรตีนแต่ละชนิดจะมีกรดอะมิโนที่แตกต่างกันไป ปลาจึงมีความต้องการโปรตีนสูงขึ้น ถ้าอาหารมีกรดอะมิโนไม่ครบถ้วนการเจริญเติบโตของปลาดุกทะเลในระยะ 60 วัน ในบ่อเลี้ยงที่ระดับความเค็ม 20-30 ppt. น้ำหนักเริ่มแรกเฉลี่ย 3.00 กรัม และความยาวเฉลี่ย 7.76 เซนติเมตรจำนวนปลาดุกทะเล 1,039 ตัวจากการเลี้ยงด้วยอาหารสด คือ เคย ปลาเป็ด และอาหารเสริมเป็นระยะเวลา 2 เดือน พบว่า ปลามีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเฉลี่ยเป็น 17.35 เซนติเมตร
 
จะเห็นได้ว่าปลาดุกทะเลที่เลี้ยงในบ่อดินจะมีอัตราการเจริญเติบโตที่เพิ่มขึ้นใกล้เคียงกับการเจริญเติบโตตามธรรมชาติ บริเวณริมฝั่งทะเล ซึ่งจากการศึกษาครั้งนี้สามารถสรุปได้ว่า ปลาดุกทะเลสามารถส่งเสริมให้เกษตรกรประมงชายฝั่งนำมาเพาะเลี้ยงเชิงพาณิชย์ได้.

วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
เพชรบุรี
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันเสาร์ ที่ 27 กันยายน 2551
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM