เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
เยี่ยมชมโครงการเพาะปูม้าจากไข่นอกกระดอง เพื่อปล่อยกลับคืนสู่ธรรมชาติ
   
ปัญหา :
 
 
เมื่อเร็วๆ นี้ ผู้เขียนมีโอกาสได้ไปเยี่ยมชมสถานีวิจัยสิทธิพรกฤดากร สังกัดสถาบันค้นคว้าและพัฒนาระบบนิเวศน์เกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตั้งอยู่ที่บ้านบางเบิด อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ที่นี่ได้เริ่มศึกษาและวิจัยด้านการประมง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 โดยทางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้มอบนโยบายให้สถานีวิจัยสิทธิพรกฤดากรจัดทำโครงการเพาะเลี้ยงปูม้าจากไข่นอกกระดอง เพื่อปล่อยกลับคืนสู่ธรรมชาติ ที่ดำเนินการต่อเนื่องทุกปี โดยมีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มลูกปูม้าในธรรมชาติ เป็นการสร้างจิตสำนึกให้กับชุมชนในท้องถิ่นและประชาชนทั่วไปจะได้ตระหนักถึงคุณประโยชน์ของปูม้า ซึ่งเป็นสัตว์น้ำที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจและระบบนิเวศวิทยา

คุณอัมพร บัวที นักวิชาการประมง 8 (ชำนาญการ) ได้เล่าให้ฟังว่า สมัยก่อนปูม้ามีราคาไม่แพง เพียงแค่กิโลกรัมละ 36 บาท เวลาผ่านมาหลายปี ราคาเพิ่มขึ้นเป็นกิโลกรัมละ 150 บาท ชาวบ้านก็หาปูลำบากมากขึ้น คือมีปูลดน้อยลงเรื่อยๆ ทางสถานีวิจัยก็มีการเพาะเลี้ยงปูม้าเพิ่มขึ้น ได้มีการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติปีละ 19 ล้านตัว โดยมากจะถือเอาวันเป็นมหามงคลก็คือ วันพ่อกับวันแม่

คุณอัมพร กล่าวต่ออีกว่า สำหรับอัตราการรอดชีวิตของปูในแต่ละช่วงอายุ อย่างเช่น ปูที่มีอายุ 16 วัน มีเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิต 5% ปูที่มีอายุ 23 วัน อัตราการรอดชีวิตประมาณ 70% ปูที่มีอายุ 50 วัน อัตราการรอดชีวิต 60% ปูม้าที่มีอายุ 90 วัน อัตราการ 100%

การเพาะพันธุ์ปูม้า เริ่มตั้งแต่การเตรียมถังเพาะฟัก และบ่ออนุบาลลูกปูม้า การเตรียมถังพลาสติคจะต้องมีขนาด 200-500 ลิตร สำหรับการเพาะฟักไข่ปู และเตรียมบ่อซีเมนต์ขนาดความจุ 1-5 ตัน ที่สำหรับใช้ในการอนุบาลปูม้าวัยอ่อน

สำหรับเรื่องการเตรียมน้ำที่ใช้เพาะฟักและอนุบาลปูม้าวัยอ่อน ความเค็มของน้ำประมาณ 30-33 ppt พีเอช 8.0-8.5 อัลคาไลน์ 120-150 มิลลิกรัม ต่อลิตร เวลาที่เพาะฟักลูกปูม้า เมื่อนำแม่ปูม้าที่มีไข่แก่นอกกระดอง จะมีสีเทาดำ แล้วนำมาปล่อยในถังเพาะฟัก 1-3 ตัว ต่อถัง ปล่อยทิ้งเอาไว้ 1-2 คืน ไข่ปูม้าจะฟักเป็นตัว จากนั้นก็จะรวบรวมลูกปูม้าวัยอ่อนปล่อยลงสู่บ่ออนุบาลที่มีความหนาแน่นประมาณ 1,000,000 ตัว ต่อน้ำ 1 ตัน

เจ้าปูตัวน้อยวัยอ่อนจะมีอาหารเป็นพวกแพลงตอนพืช และแพลงตอนสัตว์ พอช่วงวัยของลูกปูที่มีอายุ 30-45 วัน จะมีขนาดประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร และจะมีลักษณะคล้ายตัวโตเต็มวัย

สำหรับรูปแบบการเลี้ยงในบ่อดิน เป็นการเลี้ยงแบบเดี่ยว เลี้ยงปูม้าเพียงชนิดเดียว ส่วนการเลี้ยงแบบผสมจะเป็นการเลี้ยงปูม้ารวมกับปลากะพงขาว เป็นต้น การเลี้ยงปูม้ารวมกับปลากะพงขาวในบ่อดินจะต้องมีการเลือกสถานที่ให้ใกล้กับแหล่งน้ำ และต้องมีการคมนาคมที่สะดวก ที่สำคัญต้องใกล้กับแหล่งอาหารอย่างพวกปลาเป็ด พร้อมกับมีสาธารณูปโภคพร้อม

สำหรับเรื่องของการเตรียมบ่อสำหรับเลี้ยงต้องมีการเตรียมน้ำในบ่อดินขนาด 1-3 ไร่ ติดตั้งซุปเปอร์ชาร์จ และเครื่องตีน้ำ แล้วเตรียมน้ำเค็ม 25-33 ppt พีเอช 7.5-8.5 อัลคาไลน์ 120-150 มิลลิกรัม ต่อลิตร

สำหรับการเตรียมลูกพันธุ์ ดังนั้น การปล่อยลูกปลากะพงขาวขนาดประมาณ 2-3 นิ้ว 5,000 ตัว ต่อไร่ และปล่อยลูกปูม้าขนาด 1-2 เซนติเมตร ในอัตรา 3,000- 4,000 ตัว ต่อไร่ ส่วนเรื่องการให้อาหารจะแบ่งตามช่วงอายุ อย่างช่วงอายุ 1 เดือน จะให้ปลาบด 20-30% พออายุได้ประมาณ 2-3 เดือน จะให้ปลาสับละเอียดและสับหยาบ 10-15% ช่วงที่มีอายุได้ 4-5 เดือน จะให้อาหารจำพวกปลาสับหยาบและหั่นแบบหยาบ 5% การให้อาหารนั้นจะต้องให้อาหารเป็นเปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัวต่อวัน ให้ 2 มื้อ เช้า-เย็น

การจัดการด้านคุณภาพของน้ำก็ต้องดูที่ช่วงอายุการเลี้ยงเช่นกัน เช่น อายุ 1 เดือน ปริมาณน้ำที่ถ่าย 20-40% เปลี่ยน 3-5 วัน ต่อครั้ง อายุช่วง 2-3 เดือน ปริมาณน้ำที่ถ่าย 3-5 วัน ต่อครั้ง อายุ 4-5 เดือน ปริมาณน้ำที่ถ่าย 40-60% เปลี่ยน 3-5 วัน ต่อครั้ง ข้อสำคัญการเปลี่ยนถ่ายน้ำ ผู้เลี้ยงควรจะต้องคำนึงถึงสภาพปัจจัยต่างๆ ภายในบ่อเลี้ยงเป็นหลัก

สำหรับระยะเวลาการเลี้ยงและผลผลิต ระยะเวลาการเลี้ยงและผลตอบแทนที่จะได้ผลผลิต ช่วงระยะเวลาเลี้ยง 3-4 เดือน จะได้ผลผลิตปูขนาด 15-20 ตัว ต่อกิโลกรัม อัตราการรอด 20-40% ผลผลิตกิโลกรัมละ 70-150 บาท อัตราการแลกเนื้อ 3-3.5 ผลผลิตของปลาที่เลี้ยง 5 เดือน เฉลี่ย 2,371.82 กิโลกรัม ต่อไร่ ขนาดเฉลี่ย 575 กรัม ต่อตัว อัตราการรอดตายเฉลี่ย 82.50% อัตราแลกเนื้อ 4.5-5

ทิ้งท้ายผู้เขียนว่า คุ้มค่าหากมีการอนุรักษ์ปูม้า ปูทะเล และมีการส่งเสริมการเลี้ยงปลากะพง ปลาทะเลอีกหลายชนิดได้กลับคืนสู่ธรรมชาติ ระบบนิเวศน์ ก็คืนกลับมาตามเดิม

สนใจสามารถสอบถามได้ที่ สถานีวิจัยประมงคลองวาฬ เลขที่ 447 หมู่ที่ 1 ตำบลคลองวาฬ อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 77000 โทร. (032) 661-168

วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
ประจวบคีรีขันธ์
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 21 ฉบับที่ 440
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM