เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
ปลูกผักหลายชนิดแต่เหี่ยวตาย
   
ปัญหา :
 
 
    ดิฉันได้อ่านนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้านเป็นประจำ ปัจจุบันดิฉันทำงานอยู่บริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง มีปลูกพืชผักหลายชนิดไว้จำหน่ายเป็นอาชีพเสริมของครอบครัว นอกจากนี้ ยังเพลิดเพลินมีความสุขดีอีกด้วย ผักที่ปลูกขาย เช่น แมงลัก พริก และดาวเรือง แต่เกิดปัญหาขึ้นรุนแรงเมื่อต้นปีที่ผ่านมา คือผักที่ปลูกไว้มีอาการเหี่ยวและตายในที่สุด แม้ได้ไถตากดินพร้อมใส่ปูนขาว และใช้ยาฆ่าเชื้อราแล้วก็ตาม ในช่วงฤดูฝนจะปล่อยที่ให้ว่างเปล่า เมื่อหมดฤดูฝนจะไถปลูกใหม่ ปุ๋ยที่ใช้คือขี้แกลบ ขี้ควาย ปุ๋ยเคมี เช่น ยูเรีย และสูตร 15-15-15 ดิฉันจึงขอคำแนะนำจากคุณหมอว่าจะมีวิธีการแก้ไขได้อย่างไรคะ
วิธีแก้ไข :
 
    อาการที่พบในพืชผัก เรียกว่า โรคเน่าและเหี่ยว เกิดจากเชื้อราชนิดหนึ่ง อาการเริ่มแรกคือ ใบแก่ส่วนล่างของลำต้น มีสีซีดจาง เปลี่ยนเป็นสีเหลืองและเหี่ยวในที่สุด ในกรณีที่เกิดการระบาดรุนแรงจะพบเส้นใยของเชื้อรา มีสีขาวคล้ายปุยฝ้ายตามบริเวณรอยแผลที่บริเวณลำต้นและลุกลามลงไปที่รากอย่างรวดเร็ว มีผลทำให้ต้นพืชผักตายอย่างรวดเร็ว โรคชนิดนี้มักเกิดการระบาดกับพืชผักในช่วงที่มีอากาศหนาวเย็นและแห้ง ที่อุณหภูมิระหว่าง 16-22 องศาเซลเซียส วิธีป้องกันกำจัด ทำได้โดย ปรับปรุงดินให้ร่วนซุยระบายน้ำได้ดี อัตราการปลูกไม่ควรให้หนาแน่นเกินไป เมล็ดพันธุ์ต้องสะอาดปราศจากโรคศัตรูติดมาด้วย เมื่อพบการระบาดระยะแรกให้ถอนต้นที่เป็นโรคเผาทำลายทิ้งไป แล้วจึงหว่านปูนขาวลงบริเวณดังกล่าว อัตรา 200 กรัม ต่อตารางเมตร เพื่อฆ่าเชื้อในดินและฉีดพ่นสารเคมี ซีเน็บ ไธแรม หรือเฟอร์แบม อัตรา 75-150 กรัม ต่อน้ำ 1 ปี๊บ ให้กับต้นที่เหลือในแปลงปลูก หลังเก็บเกี่ยวพืชผักในแปลง ให้เก็บส่วนที่เหลือเผาทำลายทิ้ง ป้องกันการสะสมของโรค หากสามารถไขน้ำเข้าขังในแปลงได้ ควรขังน้ำไว้อย่างน้อยเป็นเวลา 30 วัน จะทำให้เชื้อในดินตาย เนื่องจากเชื้อดังกล่าวไม่ทนต่อสภาพน้ำท่วมขัง แล้วปลูกข้าวโพดหรือธัญพืชอื่น ๆ สลับเพื่อเป็นการตัดวงจรการระบาดของโรคชนิดนี้ การปฏิบัติตามคำแนะนำข้างต้น จะทำให้การระบาดของโรคลดความรุนแรงลงและจะหมดไปในที่สุด ส่วนข้อควรระวังอื่นให้ลดปริมาณและอัตราการใช้ปุ๋ยทั้งปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีลงครึ่งหนึ่ง จะยิ่งทำให้การระบาดของโรคลดลงได้รวดเร็วยิ่งขึ้นครับ
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
5
ตำบล / แขวง :
นนทรี
อำเภอ / เขต :
กบินทร์บุรี
จังหวัด :
ปราจีนบุรี
รหัสไปรษณีย์ :
25110
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2545 ปีที่ 15 ฉบับที่ 301
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM