เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
ผลไม้ไทยมีทั้งอนาคตสดใส และไม่สดใส ต้องจับตามอง
   
ปัญหา :
 
 
อนาคตผลไม้ไทยอะไรที่มีอนาคตและไม่มีอนาคต เพราะผมเห็นว่าราคาของผลไม้เกือบทุกชนิดผันผวน และวนเวียนขึ้นลงไม่เคยอยู่นิ่งเกือบทุกปี ผมจึงขอรบกวนคุณหมอเกษตร ทองกวาว ได้ให้ความกรุณาแนะนำด้วย และผมจะได้นำข้อมูลไปปรับปรุงการผลิตของผมต่อไป
วิธีแก้ไข :
 
ประเทศไทย จัดอยู่ในแนวหน้าของผู้ผลิตผลไม้เขตร้อนของภูมิภาค ทั้งนี้ความสำเร็จดังกล่าว เนื่องด้วยพระบารมีของพระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ที่สามารถรักษาอธิปไตยของชาติโดยไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของประเทศมหาอำนาจตะวันตก ทำให้การพัฒนาการเกษตรดำเนินไปตามวิถีไทยอย่างต่อเนื่อง โดยไม่ถูกบังคับจากประเทศแม่ให้ผลิตพืชใดพืชหนึ่งสนองความต้องการของตนเอง อีกทั้งบรรพบุรุษของเรามีสายเลือดนักปรับปรุงพันธุ์อยู่ในตัวเอง สามารถคัดเลือกพันธุ์ผลไม้ดีๆ เป็นมรดกให้กับลูกหลานสืบทอดมายาวนานจากอดีตมาจนถึงปัจจุบัน ส่งผลให้ประเทศเพื่อนบ้าน ไม่ว่าจะเป็นอินโดนีเซีย มาเลเซีย รวมทั้งเวียดนาม นิยมใช้คำนำหน้าผลไม้ทุกชนิดที่มีรสชาติดีด้วยคำว่าบางกอกเสมอ เช่น บางกอกแซนทอน บางกอกดูเรียน และบางกอกแรมบูตาน เป็นตัวอย่าง แต่คนไทยก็อย่าหลงเพลินกับประเด็นดังกล่าว จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องระดมความคิดเห็นจากทุกฝ่ายเพื่อแก้ปัญหาราคาผลไม้ของไทยเราอย่างเป็นระบบ ซึ่งในอดีตที่ผ่านมา เราแก้ปัญหาเฉพาะหน้ากันปีต่อปี ปัญหาดังกล่าวจึงซ้ำซากจำเจไม่มีที่สิ้นสุด อย่างไรก็ตาม มีผู้คร่ำหวอดในการส่งออกผลไม้ไทยได้ให้ข้อมูลที่น่าสนใจไว้บางส่วน ดังนี้ ตลาดสำคัญของผลไม้ไทยมีอยู่ 3 แห่ง คือ จีน ศูนย์รวมอยู่ที่กวางเจา แต่ยังคงส่งผ่านฮ่องกงอยู่ดี จีนเป็นตลาดที่ไม่มีการกำหนดราคาแน่นอน จึงเป็นตลาดประเภทเก็งกำไร ฮ่องกง มีการควบคุมปริมาณการนำเข้า 15-18 ตู้คอนเทนเนอร์ ต่อสัปดาห์ แหล่งจำหน่ายคล้ายกับปากคลองตลาด มีร้านจำหน่ายขนาดเล็ก และ อินโดนีเซีย ปัจจุบันกลายมาเป็นผู้นำเข้าผลไม้จากประเทศไทยรายใหญ่ที่สุด ปริมาณการนำเข้ามากกว่าจีนถึง 2 เท่าตัว ตลาดเป็นตลาดติดแอร์ มีจำนวนร้านย่อยมากกว่า 100 แห่ง ที่นี่ให้ความสนใจกับน้อยหน่า และลำไยตกเกรดมากเป็นพิเศษ เมื่อหันมามองผลไม้แต่ละชนิดที่เข้าสู่จีนจะต้องหลีกเลี่ยงการผลิตผลไม้ให้ออกผลมากระจุกตัวในเดือนพฤษภาคม เพราะจะออกมาชนกับลิ้นจี่ของจีน ซึ่งมีคุณภาพดีมาก ผลไม้อื่นๆ ต้องถอย ทุเรียน หากสามารถบังคับให้เก็บเกี่ยวได้ในเดือนมีนาคม เกษตรกรจะขายได้ราคาดี ลำไย ต้องบังคับให้เก็บเกี่ยวได้ก่อนเดือนสิงหาคม เกษตรกรขายได้ราคาแน่นอน ส้มโอพันธุ์ทองดี ตลาดยังต้องการ สับปะรด ยังสู้ฟิลิปปินส์ไม่ได้ ชมพู่ ขายลำบาก ปัจจุบันเกษตรกรลดพื้นที่ปลูกลง เงาะ ส่งออกได้น้อย เกษตรกรจึงลดพื้นที่เพาะปลูกลงเช่นเดียวกัน มะพร้าวน้ำหอม ฮ่องกงยังต้องการมาก ปัญหาอยู่ที่ความหอมของเนื้อและน้ำมะพร้าวด้อยลง จำเป็นต้องคัดเลือกพันธุ์ดีส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกใหม่ มังคุด ปัญหาอยู่ที่ขาดแรงงานเก็บผลผลิต กล้วยไข่ ตลาดเล็กๆ พอไปได้ มะขามหวาน ต้องแก้ปัญหาเชื้อราในฝัก หากแก้ไขไม่ได้ก็ขายไม่ออก ลองกอง ปัญหาความไม่สงบ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และการแก้ปัญหามดติดมากับช่อผล ทำให้อนาคตไม่สดใส ลำไย ปีนี้ราคาดี เนื่องจากมีผลผลิตลดลงเหลือเพียง 2.4 แสนตัน เท่านั้น ซึ่งในปีก่อนมีผลผลิต 4.5 แสนตัน คาดว่าปีหน้าจะมีปัญหา เนื่องจากผลผลิตจะออกมามากเกินความต้องการของตลาด 2 สัปดาห์ก่อน ผมได้สอบถามนักธุรกิจส่งออกผลไม้ไปจีนว่า จริงหรือไม่ ที่มีข่าวว่าจีนจะซื้อลำไยจากประเทศไทยไปให้นักกีฬาจากประเทศต่างๆ ที่เข้าร่วมแข่งขันกีฬาโอลิมปิค ที่กรุงปักกิ่ง ได้รับคำตอบว่า ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด ตรงกันข้าม จีนกลับนำเข้าลำไยจากไทยน้อยลง เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่แล้ว ดังนั้น รัฐบาลไทยและผู้เกี่ยวข้องต้องเตรียมรับมือกับปริมาณผลผลิตลำไยปีหน้าไว้แต่เนิ่นๆ ตามที่ผู้ส่งออกได้ประเมินและแจ้งข้อมูลไว้แล้วนั้น ขอให้โชคดีครับ
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
บุคคโล
อำเภอ / เขต :
ธนบุรี
จังหวัด :
กรุงเทพมหานคร
รหัสไปรษณีย์ :
10600
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2551 ปีที่ 20 ฉบับที่ 439
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM