เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
เกษตรกรหนองเสือ ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ทางเลือกใหม่ที่สร้างรายได้ดี
   
ปัญหา :
 
 
เกษตรกรท้องทุ่งอำเภอหนองเสือนั้น หลายคนหมดตัวจากสวนส้มเขียวหวาน มีหนี้สินกันอย่างมากมาย แต่ยังมีภาครัฐคอยช่วยเหลือจัดงบประมาณ พร้อมส่งเสริมในโครงการต่างๆ

บางรายประสบความสำเร็จด้วยดี แต่ก็ยังมีเกษตรกรอยู่อีกไม่น้อย ที่ต้องต่อสู้ดิ้นรนให้มีหนทางอยู่รอดได้ จึงเริ่มมีการพัฒนานำพืชผักเศรษฐกิจตัวใหม่ทดลองปลูกกันอย่างมากมายอยู่ในขณะนี้ หรืออย่างโครงการเกษตรอินทรีย์ปรับใช้กับนาข้าว โครงการพืชผักปลอดสารพิษ โครงการน้ำส้มควันไม้ โครงการทำปุ๋ยหมักและปุ๋ยน้ำชีวภาพ

ผักไฮโดรโปนิกส์ คือตัวอย่างหนึ่งที่สามารถสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรเป็นอย่างดี

ผักไฮโดรโปนิกส์ เป็นการปลูกพืชผักไม่ใช้ดิน แต่ให้ปุ๋ยแก่พืช ในรูปของสารละลาย (น้ำปุ๋ย)

คุณจิรัฐยา เนื่องรุจิ อายุ 31 ปี อยู่บ้านเลขที่ 843 ถนนพหลโยธิน ตำบลประชาธิปัตย์ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี กล่าวว่า เดิมทีก็ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและไปประกอบอาชีพอื่นๆ มาหลายอย่าง ตลอดจนเป็นลูกจ้างตามโรงงานต่างๆ และต่อมาวันหนึ่งได้เดินทางไปที่ตลาด อ.ต.ก. ได้เห็นผักไฮโดรโปนิกส์ จึงได้ซื้อกลับมาปรุงอาหารรับประทานที่บ้าน ซึ่งมีรสชาติที่ต่างไปจากผักทางบ้านเรา

จึงมีความคิดว่า ในตอนแรกต้องการปลูกเอาไว้รับประทานเอง แต่ต่อมามีบ้านข้างเคียงได้มาขอซื้อไปรับประทาน หลังจากนั้นมาก็มีบ้านข้างเคียงอีกหลายบ้านมาขอซื้อไปรับประทานอีกเป็นจำนวนมาก จึงคิดว่าน่าจะลองปลูกเป็นอาชีพเสริม คงสร้างรายได้ให้ครอบครัวเป็นอย่างดีแน่ และยังเป็นพืชผักปลอดสารพิษปลอดภัยสำหรับผู้บริโภคได้ร้อยเปอร์เซ็นต์

จึงได้ไปอบรมและได้ศึกษาหาความรู้เรื่องพืชผักต่างๆ รวมทั้งศึกษาจากตำราและทางเว็บไซต์ จึงเริ่มเข้าใจระบบของการปลูกพืช

"ตัดสินใจมาเช่าที่ทำการเกษตรอยู่ในเขตอำเภอหนองเสือ เพื่อเป็นแปลงปลูกทดลอง จำนวนครึ่งไร่จากจำนวน 10 ไร่ และก็ได้จัดสร้างโรงเรือนกางมุ้งเพื่อกันแสงแดดและปรับอุณหภูมิ ซึ่งในช่วงแรกนี้ เป็นการลงทุนค่อนข้างสูง ส่วนในเรื่องปุ๋ยและพันธุ์ต้นกล้า ต้นทุนไม่สูงมากนัก เริ่มปลูกเป็นอาชีพมาประมาณปีเศษ โดยเก็บผลผลิตไปได้แล้วหลายรุ่น ตั้งแต่ปลูกจนกระทั่งเก็บผลผลิตได้ใช้เวลาประมาณ 20-25 วัน ผักไฮโดรโปนิกส์นั้น วิธีการปลูกใช้ระบบต้นทุนต่ำแบบประหยัด ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง มีขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยาก ดูแลง่าย ใช้พื้นที่น้อย ซึ่งสามารถมาปรับประยุกต์ใช้ปลูกผักสวนครัวของไทยได้หลายชนิด อาทิ ผักบุ้ง คะน้า ผักกาดขาว ผักกาดหอม เป็นต้น ผักที่ปลูกด้วยระบบไฮโดรโปนิกส์จะเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ผู้บริโภคปลอดภัย ได้รับสารอาหารเต็มที่ ปลูกได้ตามอาคารสถานที่ที่เหมาะสม ประหยัดพื้นที่ ดูแลได้ทั่วถึง ประหยัดน้ำและประหยัดปุ๋ย เพราะมีถังเก็บน้ำปุ๋ยและใช้มอเตอร์ไฟฟ้าเป็นตัวขับเคลื่อน"?

คุณจิรัฐยากล่าว และอธิบายอีกว่า

"ระบบทั้งหมดภายในโรงเรือนโดยใช้ระบบหมุนเวียน มีผลผลิตที่สม่ำเสมอ สะอาด ถูกสุขอนามัย ไม่ว่าเด็กเยาวชน ผู้สูงอายุ ตลอดจนคนพิการก็สามารถปลูกได้ หลายคนอาจจะสงสัยว่าการปลูกพืชด้วยดินตามปกติก็สามารถปลูกได้ ทำไมเราจึงต้องเปลี่ยนมาใช้วิธีนี้ ซึ่งในปัจจุบันปัญหาด้านการเกษตรนั้นมักพบว่า ดินที่เสื่อมคุณภาพ ดินตาย สิ่งมีชีวิตในดินสองร้อยกว่าชนิด ทั้งจากการใช้ปุ๋ยยาปราบศัตรูพืชเกิดสารพิษตกค้าง ตลอดการสะสมโรคและแมลงถูกกำจัดออกไปจากดิน ทำให้การปรับปรุงดินที่เสื่อมคุณภาพให้สามารถกลับมาปลูกพืชได้ดังเดิมนั้น ค่อนข้างยุ่งยาก หรือเสียค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง แนวโน้มของผลผลิตที่มีคุณภาพก็ลดลง คือต้นทุนการผลิตสูงผลผลิตตกต่ำ จึงไม่คุ้มค่ากับการลงทุน และทำให้การปลูกพืชด้วยระบบนี้จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะทำให้เราสามารถปลูกพืชได้ผลผลิตตลอดทั้งปี และยังมีตลาดรองรับตลอดทั้งปีและยังมีคุณภาพ โดยไม่ต้องใช้ยาปราบศัตรูพืชที่มากับดินอีกด้วย"

นอกจากนี้ คุณจิรัฐยาเล่าต่อว่า การปลูกแบบไฮโดรโปนิกส์ ไม่ต้องมีการเตรียมแปลงปลูกขนาดใหญ่ จึงไม่ต้องจ่ายค่ารถไถเตรียมดิน ค่ากำจัดวัชพืช งานดินต่างๆ ทั้งการใส่ปุ๋ยและยกร่อง เป็นต้น

ความสม่ำเสมอของการให้น้ำ ระบบไฮโดรโปนิกส์เป็นระบบที่ควบคุมการให้น้ำตามความต้องการของพืช ดังนั้น ความสม่ำเสมอของการให้น้ำจึงเป็นหัวใจของระบบไฮโดรโปนิกส์ จะประหยัดน้ำกว่าการให้น้ำกับพืชที่ปลูกทางดินไม่น้อยกว่า 10 เท่า ซึ่งจะมีผลทำให้การปลูกพืชในฤดูแล้งหรือนอกฤดูปลูกปกติในดิน สามารถทำได้โดยมีผลตอบแทนสูงกว่า

"ควบคุมโรคในดินได้ง่ายกว่าการปลูกพืชในดินปกติ ได้ผลผลิตที่มีความสม่ำเสมอและคุณภาพดีกว่าการปลูกในดินปกติ สามารถปลูกพืชได้ในสภาพที่ดินบริเวณข้างเดียวไม่เหมาะสม เช่น ดินเป็นกรด เป็นด่าง หรือดินเค็ม และมีสภาพขาดแคลนน้ำ ข้อด้อยของระบบไฮโดรโปนิกส์ที่มักจะถูกกล่าวถึงเสมอก็คือ การที่ต้องลงทุนสูงทั้งโรงเรือนและระบบ เมื่อเทียบกับการปลูกพืชในดินตามปกติ และต้องมีความรู้ด้านการจัดการและเทคโนโลยีที่สูงกว่าการปลูกพืชในดินปกติ โดยเฉพาะข้อมูลพื้นฐานในเรื่องสรีรวิทยาของพืช และพื้นฐานทางเคมีและธาตุอาหารพืช นอกจากนี้ ในบริเวณที่จะติดตั้งระบบไฮโดรโปนิกส์ จะต้องมีระบบน้ำและระบบไฟฟ้าที่พร้อม เนื่องจากเป็นพื้นฐานสำหรับการติดตั้งระบบการปลูกพืชด้วยวิธีนี้ และข้อจำกัดของชนิดพืชปลูกมีค่อนข้างสูง"? คุณจิรัฐยา กล่าว

คุณจิรัฐยาบอกว่า การเลือกชนิดพืชที่จะปลูกในเชิงพาณิชย์ ต้องมีการศึกษาตลาดอย่างถี่ถ้วน ควรเป็นพืชที่แตกต่างจากพืชที่ปลูกทั่วไป

ในด้านการตลาดนั้น จัดส่งขายเองที่ตลาด อ.ต.ก. และตามห้างสรรพสินค้าต่างๆ ที่มีออเดอร์สั่งเข้ามา ซึ่งผลผลิตตอนนี้ยังไม่เพียงพอต่อการตลาด

จะต้องขยายโรงเรือนอีก 1 ไร่ และอนาคตข้างหน้าจัดสร้างอุปกรณ์เพาะต้นกล้ารางปลูกและเมล็ดพันธุ์ไว้ให้เกษตรกรด้วยกันได้ปลูก

คุณจิรัฐยากล่าวต่อว่า ตนเองอยากจะให้ประชาชนหันกลับมาดูแลเรื่องสุขภาพกันให้มากกว่านี้โดยตนเองจะให้ความรู้ในการปลูกผักไว้รับประทานกันเองภายในครอบครัว

สนใจสอบถามรายระเอียดได้ที่เบอร์โทร. (089) 128-8388 ได้ทุกวัน
วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
ปทุมธานี
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2551 ปีที่ 20 ฉบับที่ 439
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM