เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
วิธีเพาะเห็ดลมและเห็ดยานางิ
   
ปัญหา :
 
 
    ผมมีความสนใจการเพาะเห็ดมาก ขอเรียนถามปัญหาดังนี้ การเพาะเห็ดลมและเห็ดยานางิ มีวิธีทำอย่างไรจึงจะได้ผลดี พร้อมแหล่งจำหน่ายเชื้อพันธุ์ของเห็ดทั้งสองชนิด และแหล่งฝึกอบรมมีอยู่ที่ใดบ้างครับ
วิธีแก้ไข :
 
    เห็ดลม มีชื่อเรียกหลายชื่อ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เรียก เห็ดบด เห็ดขอนดำ หรือเห็ดกระด้าง ในธรรมชาติพบเห็ดชนิดนี้ขึ้นอยู่บนต้นเต็ง รัง เหียง ตะเคียน และกระบาก วิธีเพาะเห็ดลม เตรียมอาหารเพาะ ที่มีส่วนผสมของขี้เลื่อยไม้เบญจพรรณ 100 กิโลกรัม แอมโมเนียมซัลเฟต 1 กิโลกรัม และปูนขาว 1 กิโลกรัม คลุกเคล้าทั้งสามส่วนให้เข้ากันดี เติมน้ำ คลุกให้ทั่วอีกครั้งพอชื้นแต่อย่าให้แฉะ หมักไว้นาน 2-3 เดือน ในร่ม คลุมด้วยกระสอบ กลับกอง 3-4 ครั้ง เมื่อครบกำหนด เติมรำละเอียด 3 กิโลกรัม อาจเติมน้ำตาลทราย 2 กิโลกรัม อีกก็ได้ ปรับความชื้นประมาณ 50-55 เปอร์เซ็นต์ ทดสอบโดย กำอาหารเพาะที่ผสมแล้ว หากน้ำไม่เยิ้มออกมา เมื่อคลายมือออก อาหารเพาะจะแตกตัวแยกจากกันเป็น 2-3 ส่วน นับว่าใช้ได้ จากนั้นนำอาหารเพาะบรรจุลงในถุงพลาสติกทนร้อนขนาด 7x13 นิ้ว หรือ 9x13 นิ้ว ปริมาณ 2 ใน 3 ส่วนของถุง รวบปากถุง สวมคอพลาสติก พับปากถุงลง ดึงให้ตึง รัดยางให้แน่น อุดปากถุงด้วยสำลี หุ้มทับด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์หรือฝาครอบพลาสติก นำไปนึ่งฆ่าเชื้อที่อาจติดมากับอาหารเพาะและถุงพลาสติก ที่อุณหภูมิ 90-100 องศาเซลเซียส อย่างน้อย 2 ชั่วโมง เมื่อครบกำหนดเวลาแล้วทิ้งไว้ให้เย็น การใส่เชื้อเห็ดควรทำในห้องที่สะอาดไม่มีลมพัดโกรกป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อโรค ให้เปิดฝาถุงเพาะออก ใส่เชื้อที่เพาะในเมล็ดข้าวฟ่างถุงละ 15-20 เมตร ปิดจุกสำลีทันที ทำได้ตามจำนวนที่ต้องการแล้วนำเข้าเก็บในโรงเรือนเพื่อบ่มเส้นใย ที่มีอุณหภูมิ 28-32 องศาเซลเซียส เส้นใยของเห็ดลมจะเจริญในอาหารเพาะขนาดน้ำหนัก 800-1,000 กรัม จนเต็มถุง ใช้เวลาประมาณ 30-35 วัน ต่อมาเส้นใยจะเริ่มเปลี่ยนจากสีส้มเป็นสีน้ำตาลอย่างช้า ๆ จนเป็นสีน้ำตาลเข้มเกือบเป็นสีดำ นำเข้าโรงเรือนสำหรับเปิดดอกที่มีแสงผ่านเข้าได้ประมาณ 60-70 เปอร์เซ็นต์ เปิดจุกสำลีออก ภายในโรงเรือนมีความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 เปอร์เซ็นต์ และปรับอุณหภูมิที่ 33-36 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 2-3 วัน ดอกจะเริ่มปรากฎให้เห็น ระยะนี้ให้ลดความชื้นลงเหลือเพียง 60-70 เปอร์เซ็นต์ ปรับโรงเรือนให้ถ่ายเทอากาศได้ดีขึ้น และเพิ่มแสงสว่างมากขึ้น รวมระยะเวลาตั้งแต่เปิดดอกจนให้ดอกใช้เวลา 30-40 วัน การเก็บดอก ควรเก็บขณะที่หมวกเห็ดที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 5 เซนติเมตร ดอกเห็ดอ่อนจะมีราคาแพงกว่าดอกเห็ดที่บานแล้ว หลังเก็บดอกเห็ดแล้วจะพักตัว 15-20 วัน จึงจะให้ดอกใหม่ ข้อควรระวัง ต้องเก็บส่วนต่าง ๆ ของดอกเห็ดออกให้หมดป้องกันส่วนที่เหลืออยู่เน่าลุกลามไปทำลายในรุ่นต่อไป การเพาะเห็ดยานางิ เตรียมอาหารเพาะที่มีส่วนผสมของขี้เลื่อย ยางพารา 100 กิโลกรัม รำข้าว 6 กิโลกรัม แคลเซียมคาร์บอเนต 1 กิโลกรัม ดีเกลือ 0.2 กิโลกรัม คลุกเคล้าให้เข้ากัน รดน้ำคลุกเคล้าให้เข้ากันอีกครั้ง รักษาระดับความชื้นที่ 60-65 เปอร์เซ็นต์ ทดสอบโดยกำแล้วบีบอาหารเพาะเห็ดจะเห็นว่ามีน้ำเยิ้มออกจากวัสดุเล็กน้อยนับว่าใช้ได้ นำบรรจุลงในถุงเพาะได้ทันทีไม่จำเป็นต้องหมักเหมือนการเพาะเห็ดลม ขนาดถุงเพาะเห็ด วิธีการนึ่งและการใส่เชื้อปฏิบัติเช่นเดียวกับการเพาะเห็ดลม นำเก็บในห้องบ่มเส้นใยในโรงเรือนที่อุณหภูมิ 25-30 องศาเซลเซียส เมื่อเส้นใยเดินเต็มถุงใช้เวลาใกล้เคียงกับการเพาะเห็ดลม คือ 30-35 วัน ต่อมานำมาเปิดออกในห้องที่อุณหภูมิ 12-30 องศาเซลเซียส และความชื้นสัมพัทธ์ 75-60 เปอร์เซ็นต์ กลุ่มดอกเห็ดจะเริ่มปรากฏให้เห็น ดอกที่โตเต็มที่จะยาวประมาณ 5-11 เซนติเมตร หมวกของดอกเฉลี่ย 3-10 เซนติเมตร สามารถเก็บดอกได้ 5-8 ครั้ง เฉลี่ยให้ผลผลิตถุงละ 100-250 กรัม แหล่งจำหน่ายเชื้อเห็ด และแหล่งให้ความรู้ ติดต่อสอบถามได้ที่ กลุ่มงานจุลชีววิทยาประยุกต์ กองโรคพืชและจุลชีววิทยา กรมวิชาการเกษตร จตุจักร กทม. 10900 โทร. 0-2579-0147, 0-2579-8558 ในวันเวลาราชการ
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
7
ตำบล / แขวง :
ไทรน้อย
อำเภอ / เขต :
ไทรน้อย
จังหวัด :
นนทบุรี
รหัสไปรษณีย์ :
11150
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 01 ธันวาคม พ.ศ. 2545 ปีที่ 15 ฉบับที่ 300
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM