เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
ใช้แก๊สเร่งน้ำยาง เพิ่มผลผลิตยางให้สูงขึ้น
   
ปัญหา :
 
 
คุณสุขุม วงษ์เอก ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร บอกว่า การใช้แก๊สเร่งน้ำยางสามารถเพิ่มผลผลิตน้ำยางให้สูงขึ้นกว่าวิธีการกรีดปกติ ปัจจุบันดำเนินการหลายระบบอยู่ในหลักการเดียวกัน ต่างกันที่วิธีการและความเข้มข้นของแก๊ส ด้วยวิธีการให้แก๊สโดยตรงกับต้นยางบริเวณเปลือกใกล้รอยกรีดหรือรอยเจาะเพื่อให้แก๊สกระจายและซึมสู่เปลือกชั้นในเข้าสู่ท่อน้ำยาง ด้วยคุณสมบัติของแก๊สที่ทำให้น้ำยางไหลผ่านผนังเซลล์ได้ดีขึ้น ช่วยเพิ่มความดันภายในท่อน้ำยาง และชะลอการจับตัวของเม็ดยางในเนื้อยาง น้ำยางแข็งตัวช้า ทำให้ไหลได้นานกว่าปกติ แก๊สที่นำมาใช้เร่งน้ำยางเป็นแก๊สเอทิลีน ความเข้มข้น 68-99% หลักการคือ การปล่อยแก๊สเอทิลีนให้ซึมเข้าสู่เปลือกชั้นในของต้นยาง จากนั้นใช้เข็มเจาะที่ลำต้นหรือกรีดสั้น 3-5 วัน ต่อครั้ง สามารถเพิ่มผลผลิตสูงกว่าการกรีดปกติและช่วยลดปัญหาการขาดแคลนแรงงานกรีดยาง

อย่างไรก็ตาม การใช้เทคโนโลยีดังกล่าว มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ผลจากการทดลองของสถาบันวิจัยยางโดยใช้แก๊สหลายระบบ พบว่า การใช้แก๊สให้ผลผลิตต่อครั้งกรีดสูงกว่าการกรีดปกติร้อยละ 76-118 แต่ผลผลิตต่อปีสูงกว่าเพียงร้อยละ 55-67 ขณะที่รายได้สุทธิสูงกว่าการกรีดปกติเพียงร้อยละ 25 เนื่องจากต้องเสียค่าใช้จ่ายที่เป็นค่าอุปกรณ์ และค่าแก๊สเพิ่มขึ้นเฉลี่ยประมาณ 90 บาท ต่อต้น ต่อปี ซึ่งรายได้สุทธินี้ใกล้เคียงกับการใช้สารเคมีเร่งน้ำยางชนิดทา (เอทิฟอน ความเข้มข้น 2.5%) ซึ่งสามารถทำให้ผลผลิตน้ำยางเพิ่มขึ้นได้เช่นเดียวกัน และวิธีการใช้ไม่ยุ่งยากเท่ากับการใช้แก๊ส ขณะที่การใช้แก๊สต้องระวังไม่ให้แก๊สรั่วเพราะหากแก๊สรั่วจะทำให้ประสิทธิภาพลดลงหรือไม่เพิ่มผลผลิต ต้องรอเก็บน้ำยางในวันรุ่งขึ้นอาจเกิดปัญหาการขโมยน้ำยางได้ นอกจากนี้ การใช้แก๊สจะให้ผลผลิตสูงในช่วง 3 ปีแรก หลังจากนั้นผลผลิตจะลดลง และปริมาณเนื้อยางแห้งต่ำกว่าปกติ ต้นยางทรุดโทรม เนื้อไม้มีตำหนิหากเจาะลึกถึงเนื้อไม้ สถาบันวิจัยยางแนะนำว่า การใช้แก๊สเร่งน้ำยางควรใช้เฉพาะในพื้นที่ที่มีความชื้นในดินสูงและปริมาณน้ำฝนเพียงพอ เช่น พื้นที่ภาคใต้ และ 3 จังหวัดภาคตะวันออก เช่น ระยอง จันทบุรี ตราด ไม่ควรใช้ในพื้นที่ปลูกยางในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ เพราะอาจทำให้ต้นยางทรุดโทรม และเกิดอาการเปลือกแห้งมากขึ้น นอกจากนี้ การใช้แก๊สแนะนำให้ใช้กับต้นยางก่อนโค่น 3-5 ปี หรือมีอายุไม่น้อยกว่า 20 ปี หรือหน้ากรีดล่างที่เปลือกงอกใหม่เสียหาย ไม่สามารถกรีดปกติได้ และควรใช้กับต้นยางที่สมบูรณ์ ปัจจุบันสถาบันวิจัยยางยังไม่มีข้อมูลยืนยันการใช้แก๊สเร่งน้ำยางกับต้นยางที่กรีดใหม่ เนื่องจากอยู่ในระหว่างการทดลองและเก็บข้อมูลเพื่อศึกษาผลกระทบในระยะยาว

ดังนั้น การใช้แก๊สเร่งน้ำยาง ผู้ใช้จึงควรศึกษาข้อมูลโดยละเอียดและพิจารณาอย่างรอบคอบ คำนึงถึงความคุ้มค่ากับการลงทุน เนื่องจากการใช้แก๊สเอทิลีนอาจมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของต้นยางและการให้ผลผลิตในระยะยาว เฉพาะอย่างยิ่งกับต้นยางที่เปิดกรีดใหม่ เกษตรกรและผู้สนใจสามารถขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร โทร. (02) 579-1576 หรือศูนย์วิจัยยาง ศูนย์บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิต (สถานีทดลองยาง) และสำนักงานตลาดกลางยางพารา กรมวิชาการเกษตรตามจังหวัดต่างๆ ในวันและเวลาราชการ หรือดูข้อมูลวิชาการ ถามปัญหาทางหน้าเว็บบอร์ด และติดตามราคายางได้ที่ www.rubberthai.com หรือ Call center 1174
วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
กรุงเทพมหานคร
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2551 ปีที่ 20 ฉบับที่ 438
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM