เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
ทำนาแบบใหม่ด้วยวิธีการ 'โยนกล้า' ต้นทุนการผลิตต่ำ...
   
ปัญหา :
 
 

เมื่อพุธที่แล้ว ...เขียนถึงวิธีเตรียมถาดเพาะกล้าแบบเปียกแล้ว ต่อไปเป็นขั้นตอนการเตรียมแปลง... ซึ่งเขาบอกว่า ก่อนทำนาให้พักแปลงนาให้แห้งอย่างน้อย 1 เดือน เพื่อให้ข้าววัชพืชพ้นระยะพักตัว หรือให้เมล็ดข้าววัชพืชที่ร่วงในนาก่อนนี่พร้อมที่จะงอกให้มากที่สุด
 
ให้ขังน้ำในแปลง 1 คืน และปล่อยให้น้ำแห้งเองเพื่อล่อข้าววัชพืชให้งอกขึ้นมาเต็มที่ซึ่งไม่ควรพ่นสารเคมีกำจัด แต่ให้ไถกลบทุบเป็นปุ๋ยไปเลย... ควรล่อวัชพืชอย่างน้อย 1 ครั้งขึ้นไป
 
ต่อจากนั้น ให้ไถเตรียมดินเหมือนนาดำ หรือนาหว่านน้ำตมทั่วไป แต่ปรับเทือกให้สม่ำเสมอมากที่สุด พอเช้าวันต่อมาให้โยนกล้าได้กรณีที่เป็นดินเหนียว แต่ถ้าเป็นดินร่วนปนทรายหรือดินทราย หลังปรับเทือกให้โยนต้นกล้าทันทีทันใด
 
ขั้นตอนการโยนต้นกล้า ขณะที่โยนต้นกล้าในแปลงควรมีน้ำขลุกขลิกเล็กน้อย วิธีโยน ให้เดินถอยหลังโยนกำมือละ 5-15 หลุม โดยตวัดหงายมือโยนต้นข้าวขึ้นสูงกว่าระดับศีรษะ ต้นกล้าจะกระจายตัวพุ่งลงตั้งตรงหรือเอนเล็กน้อย สำหรับถาดเพาะให้วางบนท่อนแขนครั้งละหลาย ๆ แผ่นแล้วแต่จะรับไหว หากเห็นว่าต้นข้าวห่างเกินไปให้โยนเพิ่มเติมได้ วิธีโยนสามารถนำอุปกรณ์คล้ายเรือลงไปในแปลงนาได้ เพื่อให้สามารถใส่ถาดเพาะครั้งละมาก ๆ และสะดวก ในการโยน เกษตรกร 1 คน โยนต้นกล้าได้ 3-5 ไร่/วัน หลังจากหว่าน 1-2 วัน ให้เติมน้ำทันทีและเพิ่มระดับน้ำขึ้นเรื่อย ๆ จนถึง 5-10 เซนติเมตร ซึ่งมีประสิทธิภาพควบคุมข้าววัชพืชและวัชพืชได้ดีมาก ให้รักษาระดับน้ำจนถึงข้าวโตคลุมพื้นที่นาหรือจนถึงก่อนเกี่ยว 15-20 วัน
 
ขั้นตอนการปฏิบัติดูแลรักษา ควรใส่ปุ๋ยรองพื้นก่อนโยนต้นกล้า 1 วัน ขณะปรับเทือกและการปฏิบัติดูแลรักษาเช่นเดียวกันกับการทำนาวิธี  อื่น ๆ ทุกประการ
 
ข้อดีของการทำนาด้วยวิธีโยนต้นกล้าคือ เป็นนวัตกรรมการทำนาวิธีใหม่ที่ป้องกันการเกิดของข้าววัชพืชและวัชพืชทั่วไปได้ผลดี ทำให้สามารถประหยัดเมล็ดพันธุ์ลงได้สูงสุด 80-85% โดยใช้เมล็ดพันธุ์เพียง 3-4 กิโลกรัม/ไร่, ต้นกล้าที่โยนจะตั้งตัวได้ทันที ไม่หยุดชะงักหรือต้นกล้าเหลืองเหมือนนาปักดำด้วยคน ต้นกล้าจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและแข็งแรง, การแตกกอดีมากและเร็วกว่าวิธีอื่น ๆ จำนวนต้น/กอ มีมาก กว่านาปักดำ, การจัดการด้านโรค-แมลงง่าย ได้ผลดีกว่าการหว่านน้ำตมและใช้ต้นทุนและแรงงานน้อยกว่าวิธีอื่นในแปลงที่มีข้าววัชพืชระบาด นอกจากนี้ยังได้ผลผลิตสูงและผลผลิตมีคุณภาพมาตรฐาน เหมาะสำหรับการทำนาเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์หรือการทำนาข้าวอินทรีย์หรือการทำนาแบบเกษตรพอเพียงหรือเกษตรผสมผสาน เกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นต้น...
 
เมื่อมีข้อดี ย่อมมีข้อจำกัด ซึ่งมีข้อจำกัดดังนี้ เกษตรกร 1 ครอบครัวจะสามารถทำนาด้วยวิธีโยนต้นกล้าได้ไม่เกิน 10-15 ไร่/วัน และขั้นตอนการเตรียมเพาะกล้าอาจยุ่งยากบ้าง ส่วนอุปกรณ์ถาดเพาะกล้าก็ยังไม่มีจำหน่ายอย่างแพร่หลาย อีกทั้งยังไม่มีผู้รับจ้างทำนาด้วยวิธีโยนต้นกล้า ข้อจำกัดอีกประการคือ ต้องทำในเขตชลประทานที่มีการควบคุมน้ำได้ (เพื่อควบคุมข้าววัชพืชและวัชพืชทั่วไป)
 
สำหรับการปลูกข้าวในเขตชลประทานเป็นการทำนาอย่างต่อเนื่องปีละ 3 ครั้ง หรือ 2 ปี 5 ครั้ง ทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัญหาข้าววัชพืช ซึ่งปัจจุบันพบการระบาดมากกว่า 25 ล้านไร่ และยังเพิ่มการ ระบาดอย่างต่อเนื่อง การป้องกันกำจัดค่อนข้างยาก เกษตรกรส่วนหนึ่งหันมาปักดำด้วยเครื่องปักดำและปักดำด้วยแรงงานคน ในส่วนของการทำนาด้วยวิธีการโยนกล้าสามารถควบคุมและป้องกันข้าววัชพืชได้ผลดีและต้นทุนการผลิตต่ำที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับการปลูกข้าวแบบต่าง ๆ ...นับเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของเกษตรกร
 
(หมายเหตุ:ข้อมูลจาก สำราญ อินแถลง นักวิชาการเกษตรศูนย์วิจัยข้าวพระนคร ศรีอยุธยา โทร.08-1899-0274).

วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
กรุงเทพมหานคร
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันพุธ ที่ 5 พฤศจิกายน 2551
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM