เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
เลี้ยงกุ้งเป็นมิตรต่อนาข้าว ความสมดุลที่ยั่งยืน
   
ปัญหา :
 
 

การทำธุรกิจรายได้ส่วนใหญ่ล้วนมาจากภาคสังคม การนำสิ่งดี ๆ กลับคืนสู่สังคมจึงถือเป็นภารกิจสำคัญที่ทุกองค์กรไม่ควรมองข้าม เครือเจริญโภคภัณฑ์หรือซีพี เป็นอีกหนึ่งองค์กรที่ให้ความสำคัญกับภารกิจเพื่อสังคมมาโดยตลอด โดยเฉพาะการดำเนิน โครงการตามแนวพระราชดำริของ   พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งขณะนี้มีอยู่ถึง 30 โครงการ ที่ได้ดำเนินการมาแล้วตลอดระยะเวลา 35 ปี
 
งานสนองพระราชดำริโดยเครือเจริญโภคภัณฑ์ เริ่มขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 2514 ใน โครงการฟาร์มส่วนพระองค์หาดทรายใหญ่ ต.เขาเต่า อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งเครือซีพีได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้เข้าร่วมดำเนินการทางด้านปศุสัตว์ หลังจากนั้นเครือซีพีได้ดำเนินโครงการตามแนวพระราชดำริต่อเนื่องเรื่อยมา โดยเฉพาะงานที่ทรงรับสั่งพิเศษให้เครือซีพีนำมาดำเนินงาน
 
โครงการศึกษาและทดลองการทำฟาร์มเลี้ยงกุ้งที่เป็นมิตรต่อนาข้าว อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นอีกหนึ่งโครงการที่ซีพีได้รับพระราชทานพระราชดำริจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้ทำการศึกษาและทดลองการทำฟาร์มเลี้ยงกุ้งกุลาดำที่เป็นมิตรต่อนาข้าว เนื่องจากพระองค์ทรงเล็งเห็นปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการเลี้ยงกุ้ง จึงได้พระราชทานพระราชดำริแก่ นายวัลลภ เจียรวนนท์ กรรมการบริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2541 ให้ทำการศึกษาและทดลองทำฟาร์มเลี้ยงกุ้งที่เป็นมิตรต่อนาข้าว ในพื้นที่โครงการพัฒนาส่วนพระองค์ ณ ตำบล  บางแตน อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี
 
นอกจากนี้ พระองค์ยังได้พระราชทานแนวคิดเกี่ยวกับการรีไซเคิลก่อนการปล่อยน้ำลงสู่ทะเล หรืออาจกักไว้สำหรับเลี้ยงสัตว์น้ำที่กินพืชเพื่อย่อยอาหาร แล้วจึงปล่อยออกไป เนื่องจากน้ำที่ใช้เลี้ยงกุ้งมักก่อให้เกิดปัญหาต่อสภาพแวดล้อม ซีพีจึงได้ดำเนินการโดยกักเก็บน้ำจากการเลี้ยงกุ้งไว้ก่อน แล้วนำสัตว์น้ำ เช่น หอย ไปเลี้ยงในบ่อที่จับกุ้งแล้ว ส่วนการเลี้ยงกุ้งในนาข้าวนั้นพระองค์ทรงมองว่าทำได้และน่าจะมีการศึกษาไว้เผื่อว่าเกิดวิกฤติขึ้น มีความจำเป็นต้องเลี้ยงกุ้งในนาข้าวจะทำอย่างไร จึงนับเป็นอีกหนึ่งโครงการพระราชดำริที่มีความสำคัญต่อการพลิกฟื้นเศรษฐกิจของประเทศ ที่พระองค์ทรงเห็นความสำคัญ 
 
ต่อมาในปี 2542 บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) โดยกลุ่มธุรกิจเพาะเลี้ยง  สัตว์น้ำ จึงได้จัดส่งเจ้าหน้าที่ทางวิชาการเข้าไปดำเนินการตั้งแต่วันที่ 20 มิถุนายน 2542 ในพื้นที่บ่อเลี้ยงกุ้งแปลงแรกจำนวน 24.90 ไร่ หลังจากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริให้ขยายพื้นที่เพิ่มอีก 91 ไร่ เพื่อทำการเลี้ยงกุ้งโดยไม่มีการปลูกข้าว เปรียบเทียบกับพื้นที่แปลงแรก และได้ทำการศึกษาหลายรูปแบบ เช่น การเลี้ยงลูกกุ้งในบ่ออนุบาลระบบปิด หรืออนุบาลกุ้งภายในโรงเรือน Green House (Evaporation Cooling System) ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ช่วยให้อัตรารอดของลูกกุ้งดีขึ้นและผลผลิตเพิ่มขึ้น อีกทั้งยังใช้ระยะเวลาการเลี้ยงในบ่อเลี้ยงสั้นลง ทำให้ผลผลิตต่อรุ่นเพิ่มขึ้น
 
ทั้งนี้ ในช่วงปี 2542-2545 มีการทดลองเลี้ยงกุ้งกุลาดำเพียงอย่างเดียว ต่อมาปี 2545-2549 กระแสกุ้งขาวแวนาไมมาแรงจึงนำมาทดลองเลี้ยงด้วย ซึ่งตั้งแต่เริ่มโครงการจนถึงปัจจุบันมีการเลี้ยงกุ้งทั้งสองชนิดรวมแล้ว 15 รุ่น ปริมาณผลผลิตที่ได้เฉลี่ยดังนี้ กุ้งกุลาดำ 1 บ่อ ขนาด 30 ตัวต่อกิโลกรัม ได้รุ่นละ 800 กิโลกรัม ต้นทุนกิโลกรัมละ 150 บาท ส่วนกุ้งขาวแวนาไม 1 บ่อ ขนาด 40 ตัวต่อกิโลกรัม ได้รุ่นละ 1,500 กิโลกรัม ต้นทุนกิโลกรัมละ 100-110 บาท
 
ตลอดระยะเวลาที่ได้ศึกษาและทดลองจน ถึงเดือนมีนาคม 2551 สามารถสรุปโครงการศึกษาและทดลองการเลี้ยงกุ้งที่เป็นมิตรต่อนาข้าวตามแนวพระราชดำริ ที่สำคัญคือการเลี้ยงกุ้งและการปลูกข้าวสามารถที่จะเลี้ยงอยู่ในที่เดียวกันได้ โดยไม่มีผลกระทบต่อผลผลิตข้าว การเลี้ยงกุ้งในที่ซึ่งมีน้ำเค็มท่วมถึงหรือมีน้ำ  ใต้ดินเป็นน้ำเค็ม สามารถที่จะใช้ประโยชน์จากธรรมชาติได้ต่อเนื่องได้ทุกฤดูกาล เพื่อให้ได้ผลผลิตที่สูงสุดโดย  ไม่พบการแพร่กระจายของความเค็มออกไปภายนอกฟาร์มในแนวระนาบและแนวดิ่ง เนื่องจากพื้นที่เป็นดินเค็มมาก่อน จึงกล่าวได้ว่า การเลี้ยงกุ้งและการทำนาข้าว สามารถอยู่ร่วมกันได้โดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมและ   ระบบนิเวศใกล้เคียง อีกทั้งยังเป็นการใช้พื้นที่เลี้ยงกุ้งอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะเป็นการช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรจากการทำนาข้าวควบคู่กับการทำนากุ้งอีกด้วย
 
ในอนาคตถ้าหากเกษตรกรสามารถปฏิบัติตามโครงการได้ นอกจากจะมีรายได้จากการปลูกข้าวและเลี้ยงกุ้งแล้ว ยังสามารถเลี้ยงปลาในคูน้ำจืดเสริมรายได้อีกต่อหนึ่ง โดยเฉพาะปลาทับทิม ซึ่งเป็นชื่อพระราชทาน ที่เลี้ยงได้ในสภาพน้ำทั่วทุกแห่งของประเทศไทย สามารถสร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรได้เป็นอย่างดี.

วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
กรุงเทพมหานคร
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันอังคาร ที่ 28 ตุลาคม 2551
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM