เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
วิธีการป้องกันอาการเปลือกแห้งของต้นยาง
   
ปัญหา :
 
 
คุณสุขุม วงษ์เอก ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ปัจจุบันความเสียหายของต้นยางที่เกิดขึ้นและพบมากขึ้น โดยเฉพาะในเขตปลูกยางทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ คือการเกิดอาการเปลือกแห้ง ซึ่งเป็นอาการที่ต้นยางแสดงอาการผิดปกติ โดยหลังจากกรีดอาจมีน้ำยางไหลออกมาเพียงเล็กน้อย หรือไม่ไหลเลย และอาการแบบนี้ยังสามารถเกิดขึ้นได้กับต้นยางที่ยังไม่ได้เปิดกรีดได้อีกด้วย ซึ่งยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด ปัจจุบันได้มีการสำรวจข้อมูลเบื้องต้น พบว่า ในทุกเขตปลูกยางมีอัตราการเกิดอาการเปลือกแห้งร้อยละ 2-27 และมีแนวโน้มว่าจะสูงขึ้นเรื่อยๆ การเกิดอาการเปลือกแห้งของต้นยางไม่ได้เกิดจากเชื้อโรค แต่เป็นความผิดปกติทางสรีรวิทยาของต้นยาง มีสาเหตุหลักมาจากพันธุ์ยาง ระบบกรีด การใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง สภาพแวดล้อม รวมทั้งดินที่ปลูก ซึ่งอาจเกิดจากปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งหรือหลายปัจจัยร่วมกัน

อาการเปลือกแห้งของต้นยางเกิดได้ 2 ลักษณะ คือ อาการเปลือกแห้งแบบชั่วคราว เป็นอาการที่ต้นยางให้น้ำยางลดลงมากและเกิดขึ้นกับต้นยางจำนวนมากในแปลงเดียวกัน ซึ่งอาจเกิดจากการกรีดถี่ การใช้สารเคมีเร่งน้ำยางไม่เหมาะสม การเปิดกรีดต้นขนาดเล็ก กรีดช่วงผลัดใบ หรืออากาศแห้งแล้งเกินไป เมื่อพักกรีดประมาณ 3-6 เดือน มีการบำรุงรักษาต้นยางและมีฝนตามฤดูกาล อาการผิดปกตินี้ก็จะหายไป อีกลักษณะคือ อาการเปลือกแห้งแบบถาวร เป็นอาการที่ต้นยางให้ผลผลิตน้อยมาก หรือไม่ให้ผลผลิตเลย พบในบางต้นเท่านั้น อาจเป็นต้นเดียว เป็นกลุ่ม หรือหลายต้นติดต่อกัน อาจเกิดจากปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งหรือหลายปัจจัยร่วมกัน เช่น เกิดจากความผิดปกติทางสรีรวิทยาของต้นยางนั้นๆ ซึ่งพบมากในต้นยางอายุน้อยกว่า 10-12 ปี หรือเกิดจากสาเหตุที่ไม่แน่ชัด หรือเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ พันธุ์ยางที่ให้ผลผลิตสูงมีโอกาสที่จะเกิดอาการเปลือกแห้งสูงได้ การใช้ระบบกรีดถี่ก็มีโอกาสให้ต้นยางเกิดอาการเปลือกแห้งสูงกว่าการใช้ระบบกรีดที่แนะนำ ความถี่ของการทาและความเข้มข้นของสารเคมีเร่งน้ำยางก็มีผลต่อการเกิดอาการเปลือกแห้งเร็วและรุนแรงขึ้น หรืออาจเกิดจากสภาพแวดล้อม รวมทั้งดินที่ปลูก เช่น ขาดสมดุลของธาตุอาหารในดิน ดินอุ้มน้ำไม่ดี ดินระบายน้ำไม่ดี ดินดาน ดินเหนียว หน้าดินตื้น ดินล่างอัดแน่น และยังพบว่าในสภาพแห้งแล้ง ต้นยางมีโอกาสเกิดอาการเปลือกแห้งสูงกว่าในพื้นที่ที่มีฝนตกชุก หรือในช่วงฤดูหนาว น้ำยางจะไหลได้นาน ถ้ากรีดถี่ ก็เกิดอาการเปลือกแห้งได้ง่ายขึ้น

การเกิดอาการเปลือกแห้งของต้นยางจะพัฒนาเป็นระยะคือ ระยะแรก จะให้น้ำยางสูงมาก น้ำยางหยุดไหลช้า ความเข้มข้นลดลง น้ำยางข้นมากไม่ไหลลงถ้วย หลังจากนั้นน้ำยางจะลดลงอย่างรวดเร็ว มีน้ำยางบนรอยกรีด แห้งเป็นช่วงๆ จนไม่มีน้ำยางไหลอีก ลำต้นโตกว่าปกติ เปลือกด้านนอกเป็นปุ่มปม ต่อมาเปลือกแตกและล่อน ลำต้นบิดเบี้ยวเห็นจุดสีน้ำตาลบนรอยกรีด เมื่อขูดเปลือกชั้นนอกออกจะเห็นรอยแผลสีน้ำตาลกระจายลงไปถึงรอยเท้าช้าง ขนาดและจำนวนของแผลขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ เมื่อตรวจสอบลักษณะภายในของเปลือก ลำต้นด้วยกล้องจุลทรรศน์ จะพบการเกิดเซลล์อุดตันขึ้นภายในท่อน้ำยาง

การรักษาอาการเปลือกแห้ง มีความพยายามในหลายประเทศรวมทั้งประเทศไทย พบว่าวิธีการค่อนข้างยุ่งยาก ค่าใช้จ่ายสูง และได้ผลระยะหนึ่งเท่านั้น อาการเปลือกแห้งก็เกิดขึ้นอีก ดังนั้น การป้องกันจึงเป็นวิธีที่ได้ผลมากกว่า

คุณสุขุม แนะนำการป้องกันว่า

1. เมื่อพบความผิดปกติในการให้น้ำยางของต้นยาง เช่น ให้น้ำยางสูงมากผิดปกติ หรือน้ำยางหยุดไหลเป็นระยะบนหน้ากรีด ควรหยุดกรีดสักระยะหนึ่ง หรือปรับระบบกรีดใหม่ เพื่อให้ต้นยางมีระยะเวลาในการสังเคราะห์น้ำยางขึ้นมาทดแทน

2. ใส่ปุ๋ยบำรุงต้นยางอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะปุ๋ยเคมีตามสูตรแนะนำ ในพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ควรใช้ปุ๋ยอินทรีย์ทั้งในรูปปุ๋ยหมัก ปุ๋ยมูลสัตว์ร่วมกับปุ๋ยเคมี จะช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดิน ช่วยให้ดินร่วนซุย ไม่แน่นแข็งและช่วยให้ประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยเคมีดียิ่งขึ้น

3. ไม่ใช้ระบบกรีดถี่ และใช้สารเคมีเร่งน้ำยางกับสวนยางในเขตที่มีปริมาณน้ำฝนจำกัด หรือในช่วงฤดูแล้ง ฤดูหนาว และกับพันธุ์ยางที่ให้ผลผลิตสูง

4. ไม่เปิดกรีดต้นยางที่มีขนาดเล็ก และหยุดกรีดในช่วงต้นยางผลัดใบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงต้นยางผลิใบใหม่

5. หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องจักรกลหนักในแปลงยาง หรือบริเวณติดแปลงยาง เพราะเป็นการเพิ่มการอัดตัวของดินให้มากยิ่งขึ้น

คุณสุขุม กล่าวในตอนท้ายว่า เกษตรกรควรบำรุงรักษาต้นยางให้สมบูรณ์แข็งแรงอยู่เสมอ ด้วยการใส่ปุ๋ยตามคำแนะนำ เฉพาะอย่างยิ่งการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ และหมั่นสังเกตความผิดปกติของต้นยางอย่างสม่ำเสมอ จะสามารถป้องกันไม่ก่อให้เกิดความเสียหายรุนแรงถึงระดับเศรษฐกิจ

เกษตรกรสามารถขอคำปรึกษาแนะนำได้ที่ สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร โทร. (02) 579-1576 และศูนย์วิจัยยาง สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร กรมวิชาการเกษตร จังหวัดต่างๆ ได้แก่ ศูนย์วิจัยยางสงขลา โทร. (074) 212-401 ศูนย์วิจัยยางสุราษฎร์ธานี โทร. (077) 274-097 ศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรา โทร. (038) 136-225 และศูนย์วิจัยยางหนองคาย โทร. (042) 421-396
วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
กรุงเทพมหานคร
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ปีที่ 21 ฉบับที่ 443
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM