เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
เพาะเห็ดในโอ่ง กินในครัวเรือน นำร่องที่ยุวเกษตร ร.ร.สกลวิทสุทธิ
   
ปัญหา :
 
 
เห็ด เป็นอาหารโปรตีนสูง ย่อยง่าย ที่คนส่วนใหญ่นิยมบริโภค เมื่อเพาะให้ผลผลิตเร็ว คือภายใน 2 สัปดาห์ มีวิธีการเพาะหลายวิธี เช่น เพาะแบบกองเตี้ย เพาะแบบกองสูง เพาะในโรงเรือน และการเพาะเห็ดฟางในตะกร้า

ที่กลุ่มยุวเกษตรกรโรงเรียนสกลวิทสุทธิ อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม ทดลองเพาะเห็ดในโอ่ง เป็นภูมิปัญญาอย่างง่ายๆ ในครัวเรือนทั่วๆ ไป สามารถนำมาเป็นตัวอย่างใช้ได้ จะทำให้มีเห็ดสดๆ ปลอดสารพิษไว้รับประทานในครัวเรือนแทบทุกวัน ลดความยุ่งยากในการเพาะเห็ดในโรงเรือน โอ่งที่ใช้ก็เป็นโอ่งที่แตกหรือร้าวที่ใส่น้ำไม่ได้แล้ว

วิธีการเพาะเห็ดในโอ่ง

วัสดุ


1. โอ่งมังกร จำนวน 1 ใบ

2. ก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้า จำนวน 20 ก้อน ต่อโอ่ง

3. ซาแรน หรือกระสอบป่าน สำหรับปิดปากโอ่ง จำนวน 1 ผืน

4. ไม้รองพื้น สำหรับวางก้อนเชื้อ จำนวน 2 อัน

5. ทรายรองพื้นโอ่ง

ขั้นตอนการเพาะ

1. หาโอ่งที่ชำรุดหรือไม่ได้ใช้แล้ว

2. นำโอ่งมานอนลง แล้วเอาไม้ไผ่ทำเป็นแผงวางก้อนเชื้อเห็ด ต้องหาสถานที่เหมาะๆ ใต้ร่มไม้หรือที่มีร่มเงา ให้อากาศถ่ายเทได้สะดวกขึ้น

3. นำทรายหยาบวางรองพื้นตามแนวนอนของโอ่ง เพื่อเก็บความชื้น

4. นำก้อนเชื้อเห็ดที่ต้องการเพาะมาเรียงไว้จนเต็ม

5. ควรระมัดระวังในช่วงวันที่ 1-3 ถ้าร้อนเกินไป ให้เปิดกระสอบป่านหรือซาแรน เพื่อระบายความร้อน

6. รดน้ำบนก้อนเชื้อเช้า-กลางวัน-เย็น ถ้าพบว่ากองเห็ดแห้งเกินไปก็ควรเพิ่มความชื้น โดยใช้บัวรดน้ำเป็นฝอยเพียงเบาๆ ให้ชื้น หลังจากเพาะเห็ดประมาณ 1 สัปดาห์ จะเริ่มมีตุ่มดอกเห็ดสีขาวเล็กๆ ในช่วงนี้ต้องงดการให้น้ำโดยตรงกับดอกเห็ด ถ้าดอกเห็ดถูกน้ำในช่วงนี้ดอกเห็ดจะฝ่อและเน่าเสียหาย

7. หลังจากนั้น ประมาณ 7-10 วัน เห็ดจะออกดอกเก็บรับประทานได้ สามารถเก็บดอกเห็ดมารับประทานได้แล้วทุกวัน จนกว่าดอกเห็ดจะหมดไป ใช้เวลาประมาณ 1-3 เดือน

สำหรับการเพาะเห็ดในโอ่ง เป็นการนำเอาของใช้ที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ เป็นแนวทางในการประหยัดต้นทุน และสามารถนำไปเพาะได้ทุกครัวเรือน

การดูแลรักษา

ข้อระวัง น้ำที่ใช้รดเห็ดจะต้องเป็นน้ำจืด ไม่มีคลอรีนเจือปน ไม่เป็นน้ำกร่อย น้ำเค็ม ระวังน้ำเค็มไม่สามารถจะใช้รดเห็ดได้ เพราะเห็ดจะไม่ออกดอก

เห็ดแต่ละชนิดต้องการอุณหภูมิที่เหมาะสมในการผลิตดอกเห็ดไม่เหมือนกัน เห็ดนางรม เห็ดเป๋าฮื้อ และเห็ดหูหนู ต้องการอุณหภูมิธรรมดาในช่วงฤดูร้อนหรือฤดูฝน ส่วนเห็ดนางฟ้าและเห็ดหอม ต้องการอุณหภูมิค่อนข้างเย็น ดังนั้น ในการผลิตดอกเห็ดแต่ละฤดูก็ควรมีการจัดการชนิดของเห็ดที่จะผลิตควบคู่ไปด้วย

สำหรับผู้สนใจการเพาะเห็ดในโอ่งที่ไม่ต้องใช้โรงเรือนไว้รับประทานเอง สามารถติดต่อสอบถามขอรับข้อมูลได้ที่ สำนักงานเกษตรจังหวัดสมุทรสงคราม โทร. (034) 702-829, (081) 041-8341

วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
สมุทรสงคราม
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ปีที่ 21 ฉบับที่ 443
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM