เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
ปลาอมไข่ ปลาสวยงามเพาะขยายพันธุ์ในไทยได้แล้ว
   
ปัญหา :
 
 

นายสามารถ เดชสถิตย์ เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งกระบี่ สำนักวิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ บอกว่า ปลาอมไข่ครีบยาว เป็นปลาที่ปัจจุบันไม่มีรายงานว่าเจอในบ้านเรา พ่อพันธุ์แม่พันธุ์ หรือปลาในตลาด มักนำเข้าจากอินโดนีเซียแถบเกาะ banggai ลักษณะเด่นของปลาตัวนี้คือ ปลาตัวผู้จะอมไข่ที่ผสมแล้วไว้ในปาก จนกว่าจะฟักเป็นตัวที่แข็งแรงแล้วจึงค่อยปล่อยให้ลูกออกไปผจญโลกภายนอกคล้าย ๆ กับปลานิล แต่ปลานิลตัวเมียเป็นตัวที่อมไข่ ราคา ขายปลีกในตลาดอยู่ที่ 150-200 บาท/ตัว
 
ผู้ที่ริเริ่มให้เพาะพันธุ์ปลาตัวนี้ได้แก่ อดีตอธิบดีกรมประมง ปลัดกระทรวงเกษตรฯ คนปัจจุบัน คือ ดร.จรัลธาดา กรรณสูต เป็น  ผู้ช่วยติดต่อและจัดหาพ่อพันธุ์แม่พันธุ์เพื่อให้ศูนย์ฯ กระบี่ได้ศึกษาเพาะพันธุ์
 
พ่อพันธุ์แม่พันธุ์ที่ใช้เป็นปลาธรรมชาติมีแหล่งกำเนิดที่อินโดนีเซียอาหารเป็นกุ้งเคย หรือกุ้งฝอย หรือลูกปลาเซลฟินทะเล เมื่อปลาพร้อมตัวเมียไข่แก่ ตัวผู้พร้อมก็จะผสมพันธุ์กันเวลากลางวัน ตัวผู้จะอมไข่ที่ผสมแล้วไว้ในปาก จะเห็นได้ชัดว่าปากป่อง หลังจากนั้นตัวผู้จะไม่กินอะไร อมอยู่อย่างนี้จนลูกปลาแข็งแรงและว่ายน้ำได้เก่ง ซึ่งจะฟักเป็นตัวและแข็งแรงพอที่จะว่าย   น้ำได้เองใช้เวลาประมาณ 20-25 วันขึ้นกับอุณหภูมิ เมื่อปลาอมไข่ไปได้สัก 15 วัน ควรย้ายพ่อปลาไปอยู่ตู้ใหม่ที่มีเม่นทะเลเทียม เพราะในธรรมชาติลูกปลาที่ออกจากปากพ่อแล้วจะอาศัยอยู่กับเม่นทะเลหนามยาว
 
จำนวนลูกปลาที่ได้แต่ละครอกประมาณ 10-30 ตัว แต่มีรายงานว่า อาจมีได้ถึง 50 ตัวต่อครอก เสร็จแล้วนำพ่อปลาไปอยู่กับแม่ปลา ส่วนลูกปลาก็ปล่อยให้อยู่กับเม่นทะเลเทียม เมื่อปล่อยลูกปลาไปแล้วก็ให้อาร์ทีเมียแรกฟักได้เลย
 
ช่วงแรกของการอนุบาลก็ให้อาร์ทีเมียไปเรื่อย ๆ ปลากินเก่งมาก ถ้าคนเลี้ยงไม่ขี้เกียจรับรองว่า ไม่มีปัญหาเรื่องปลาไม่กินอาหาร เมื่อปลาโตขึ้น 10-15 วัน ก็ให้อาร์ทีเมียที่โต    ขึ้น จนอายุประมาณ 45 วัน ปลาก็เริ่มกินกุ้งเคย หรือลูกปลาเซลฟินทะเลได้แล้ว หรือไม่ก็อาร์ทีเมียเต็มวัย จากนั้นก็เลี้ยงให้ลูกปลาโตเพื่อใช้ประโยชน์ตามที่ต้องการต่อไป
 
สำหรับปลาอมไข่นั้น เกิดมาจากสัญชาตญาณของปลาโดยตรงตามธรรมชาติในการอมลูกตัวเองไว้ในปาก เพื่อป้องกันอันตรายจากสัตว์ชนิดอื่นที่กินลูกปลาเป็นอาหาร ปลาชนิดนี้จะอาศัยกันเป็นกลุ่ม ๆ ในท้องทะเล แต่สามารถนำมาเลี้ยงทั้งตัวเดียวหรือเลี้ยงแบบเป็นฝูงก็ได้
 
ปลาชนิดนี้ไม่ดุร้าย แต่อาจมี ไล่กันบ้างเล็กน้อย ปัจจุบันมีนักเลี้ยงที่ประสบความสำเร็จในการเพาะพันธุ์ปลาชนิดนี้เพิ่มมากขึ้นเนื่องจากลูกปลาชนิดนี้จะกินอาหารง่ายตั้งแต่เกิด กินไรทะเลขนาดเล็ก หรือตัวอ่อนอาร์ทีเมียได้โดยไม่ต้องเพาะพันธุ์แพลงก์ตอนเหมือนกับการเลี้ยงลูกสัตว์น้ำชนิดอื่น ๆ.

วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
กรุงเทพมหานคร
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันเสาร์ ที่ 27 ธันวาคม 2551
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM