เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
ปลาหมอไทยในบ่อเลี้ยงไม่ยาก ราคาดี
   
ปัญหา :
 
 

ปลาหมอไทย (Climbing perch) ชื่อวิทยาศาสตร์ Anabas testudineus (Bloch) เป็นปลาที่รู้จักและนิยมบริโภคกันอย่างแพร่หลายทั่วทุกภาคของประเทศไทย อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืดทั่ว ๆ ไป เป็นปลาที่มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อม เนื่องจาก  มีอวัยวะพิเศษช่วยหายใจ ปลาหมอไทยมีชื่อ     เรียกแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น เช่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกว่า ปลาสะเด็ด ภาคเหนือเรียกว่า ปลาแข็ง ภาคใต้ตอนล่างเรียกชื่อเป็นภาษายาวีว่า อีแกบูยู รูปร่างลักษณะภายนอกปลาหมอไทยมีลำตัวค่อนข้างแบนลำตัวมีสีน้ำตาลดำหรือคล้ำ ส่วนท้องมีสีขาวหรือเหลืองอ่อน ลำตัวมีเกล็ดแข็ง กระพุ้งแก้มมีลักษณะเป็นหนามหยักแหลมคมใช้ในการปีนป่าย บริเวณโคนหางมีจุดกลมสีดำ
 
ในหลายพื้นที่ที่มีการเพาะเลี้ยงปลาหมอไทยจะเริ่มต้นด้วยการเตรียมบ่อด้วยการสูบน้ำออกจากบ่อให้แห้งซึ่งจะช่วยกำจัดศัตรูปลาที่มีอยู่ในบ่อ จากนั้นหว่านปูนขาวในขณะที่ดินยังเปียก ในอัตรา 60-100 กิโลกรัมต่อไร่ เพื่อปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างของดิน กำจัดวัชพืชและพันธุ์ไม้น้ำ วัชพืชและพันธุ์ไม้น้ำที่มีอยู่ในบ่อจะเป็นแหล่งหลบซ่อนตัวของศัตรูปลาหมอไทย เช่น ปลาช่อน กบ งู ทำให้ปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำลดลง เนื่องจากพืชน้ำใช้ออกซิเจนในการหายใจเช่นเดียวกับปลา การที่มีพืชน้ำอยู่ในบ่อมากจะเป็นอุปสรรคต่อการให้อาหารและการวิดบ่อจับปลาอีกด้วย
 
ต่อมาก็เป็นการตากบ่อเพื่อทำให้แก๊สพิษในดินบางชนิดสลายตัวไป เมื่อถูกความร้อนและแสงแดดเป็นการฆ่าเชื้อโรคและศัตรูปลาที่ฝังตัวอยู่ในดินใช้เวลาในการตากบ่อ 2-3 สัปดาห์ เสร็จแล้วก็สูบน้ำเข้าบ่อให้ได้ระดับ 60-100 เซนติเมตร ทิ้งไว้ 2-3 วัน ก่อนปล่อยปลาลงเลี้ยง ต้องใช้อวนไนลอนสีฟ้ากั้นรอบบ่อให้สูงจากพื้นประมาณ 90 เซนติเมตร เพื่อป้องกันปลาหลบหนีออกจากบ่อเนื่องจากปลาหมอไทยมีนิสัยชอบปีนป่ายโดยเฉพาะในช่วงที่ฝนตก แล้วปล่อยปลาลงเลี้ยงและอัตราปล่อยปลาขนาด 2-3 เซนติเมตร ความหนาแน่น 50 ตัวต่อตารางเมตร ควรปล่อยในช่วงเช้าหรือเย็น ระดับน้ำในบ่อไม่ควรต่ำกว่า 60 เซนติเมตร อุณหภูมิของน้ำในถุงให้ใกล้เคียงกับน้ำในบ่อ เพื่อป้องกันปลาตาย ปล่อยประมาณ 1 เดือน จึงเพิ่มน้ำในบ่อให้ได้ระดับ 1-1.5 เมตร
 
ปลาหมอไทยกินอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ การเลี้ยงจึงให้อาหารเม็ดปลาดุกในอัตรา 3-5% ของน้ำหนักตัววันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น โดยช่วงแรกให้อาหารเม็ดปลาดุกขนาดเล็กหรือปลาสดสับละเอียดเป็นเวลา 2 เดือน และถัดมาเปลี่ยนเป็นอาหารเม็ดปลาดุกใหญ่เมื่อปลามีขนาดใหญ่ขึ้น การให้อาหารต้องหว่านให้ทั่วบ่อ และจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำ เพราะการเปลี่ยนถ่ายน้ำใหม่ทำให้ปลามีการกินอาหารดีขึ้นส่งผลให้ปลาเจริญเติบโตดี
    
ประมาณ 4-5 เดือนก็จับไปขายได้ การจับใช้วิธีการจับแบบวิดบ่อแห้ง โดยก่อนจับปลาจะต้องสูบน้ำออกจากบ่อให้เหลือน้อยแล้วจึงตีอวนจับปลา โดยลากอวนจากขอบบ่อด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง แล้วจึงยกอวนขึ้นใช้สวิงจับปลาใส่ตะกร้าเพื่อคัดขนาดจนกระทั่งเหลือปลาจำนวนน้อยจึงสูบน้ำออกจากบ่อให้หมด และจับปลาที่เหลืออยู่ตามพื้นบ่อขึ้นมาคัดขนาดอีกครั้งจากนั้นจึงตากบ่อให้แห้งและเตรียมบ่อเพื่อเริ่มต้นเลี้ยงปลาในรุ่นต่อไป
 
ปัจจุบันปลาขนาด 6-10 ตัว/กก. ราคากิโลกรัมละ 55-60  บาท ขนาดกลาง  7-20 ตัว/กก. ราคากิโลกรัมละ 25-30 บาทขนาดเล็กมากกว่า 20 ตัว/กก. ราคากิโลกรัมละ 15-20 บาท.

วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
กรุงเทพมหานคร
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันพฤหัส ที่ 22 มกราคม 2552
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM