เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
เทคนิคการปลูกมะนาวให้ผลดก
   
ปัญหา :
 
 
    ผมมีที่อยู่หลายไร่ น้ำท่าอุดมสมบูรณ์ มีความประสงค์จะปลูกมะนาว ทำอย่างไรจึงจะปลูกให้ได้ผลดี ขอคำแนะนำตั้งแต่เริ่มปลูก การดูแลรักษาการป้องกันกำจัดโรคและศัตรูสำคัญของมะนาว หวังว่าคงจะได้รับคำแนะนำจากคุณหมอเป็นอย่างดี
วิธีแก้ไข :
 
    มะนาว เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนระบายน้ำดี แม้จะเป็นพืชที่ชอบน้ำก็ตาม แต่ไม่ชอบบริเวณที่มีน้ำขังแฉะตลอดเวลา ต้นมะนาวที่ปลูกบนที่ดอนจะมีขนาดใหญ่และอายุยืน เนื่องจากรากสามารถแพร่กระจายออกหากินได้ไกล ส่วนมะนาวที่ปลูกในบริเวณที่ลุ่มจำเป็นต้องยกร่องทำให้ระบบรากถูกจำกัดอยู่ในบริเวณแคบ ๆ ต้นมะนาวจึงมีขนาดเล็กกว่า สิ่งสำคัญที่จะทำให้ต้นมะนาวเจริญงอกงาม มีผลดกและคุณภาพดีนั้นต้องปรับปรุงดินให้โปร่ง มีอินทรียวัตถุสูง พื้นที่ปลูกควรลาดเอียงเล็กน้อย แหล่งปลูกมะนาวควรอยู่ใกล้น้ำ เพราะมะนาวเป็นพืชที่ต้องการน้ำ ตั้งแต่เริ่มปลูกไปจนถึงระยะติดผล หากต้นมะนาวขาดน้ำในระยะแรก ๆ จะทำให้ต้นเจริญเติบโตช้าและแคระแกร็น การให้น้ำอย่างสม่ำเสมอต้นมะนาวจะเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว ระยะปลูกมะนาวที่เหมาะสมควรใช้ระยะ 4x4 เมตร ขุดหลุมกว้างและลึก 30 เซนติเมตร เท่ากัน นำปุ๋ยคอกเก่าหรือปุ๋ยหมัก คลุกเคล้ากับดินที่ขุดจากหลุมให้เข้ากัน รองก้นหลุมด้วยเศษใบไม้หรือฟางข้าวแห้ง อัดให้แน่น ปริมาณ 2 ใน 3 ของหลุม เกลี่ยดินผสมกลับลงหลุม หรืออาจรองก้นหลุมด้วยโดโลไมต์อัตรา 1 กิโลกรัม ต่อต้น ด้วยก็ได้ ปลูกกิ่งพันธุ์ที่ปราศจากโรคและแมลงศัตรู กลบดินพอแน่น ปักหลักผูกเชือกป้องกันต้นกล้าโยก รดน้ำตามทันที ช่วงปลูกที่เหมาะสมที่สุดควรปลูกในต้นฤดูฝน เมื่อต้นมะนาวมีอายุ 4 เดือน เป็นช่วงที่ตั้งตัวได้แล้ว ให้ใส่ปุ๋ย สูตร 15-15-15 อัตรา 1 กำมือ ต่อต้น โรยรอบโคนต้น ห่างออกมาเล็กน้อยและรดน้ำตาม ใส่ปุ๋ยสูตรเดียวกันเมื่ออายุ 2 ปี และ 3 ปี อัตรา 300 กรัม และ 1 กิโลกรัม ต่อต้น วิธีใส่ปุ๋ยให้หว่านตามแนวรัศมีทรงพุ่ม แล้วรดน้ำตามทันที มะนาวจะเริ่มให้ผลเมื่อมีอายุครบ 3 ปี ก่อนออกดอก 2 เดือน ใส่ปุ๋ย สูตร 12-24-12 อัตรา 1 กิโลกรัม ต่อต้น ด้วยวิธีเดียวกัน หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตต้องตัดแต่งกิ่งให้โปร่ง แดดส่องได้ทั่วทั้งทรงพุ่ม กิ่งกระโดงที่อยู่ภายในทรงพุ่มควรตัดแต่งออก จะช่วยให้ลมพัดผ่านได้ดียิ่งขึ้น ช่วยป้องกันการระบาดของโรคและแมลงได้ในระดับหนึ่ง กิ่งที่ตัดแต่งออกมาแล้วควรนำไปเผาทำลาย ไม่ควรทิ้งไว้ที่บริเวณโคนต้น เพราะจะเป็นแหล่งสะสมของโรคและแมลงศัตรู โรคสำคัญที่มักพบระบาดอยู่เสมอ คือ โรคขี้กราก หรือ แคงเกอร์ โรคนี้เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง เข้าทำลายทุกส่วนของมะนาว ไม่ว่าจะเป็นที่ใบ กิ่งก้านหรือที่ผล อาการเกิดขึ้นในลักษณะคล้ายกัน ระยะแรกเกิดแผลกลม รอบแผล ฝังลึกลงทั้งที่ใบ กิ่งก้าน หรือที่ผล เมื่อแผลมีขนาดใหญ่ขึ้นจะฟูและนูน คล้ายฟองน้ำ การระบาดที่รุนแรงต้นจะโทรม แคระแกร็น ใบร่วงหล่น ผลผลิตลดลงและกิ่งก้านอาจแห้งตายในที่สุด วิธีป้องกันและรักษา ในระยะที่มะนาวแตกใบอ่อนให้ฉีดพ่นด้วยคอปเปอร์ซัลเฟต ทุก 7-10 วัน นอกจากนี้ ต้องกำจัดหนอนชอนใบที่เป็นสาเหตุของการระบาดของโรคอีกทางหนึ่งด้วยไดเมทโธเอท อัตรา 4-5 ช้อนแกง ต่อน้ำ 1 ปี๊บ เมื่อพบอาการของโรคระบาดในระยะแรกให้ฉีดพ่นด้วยยาปฏิชีวนะ เช่น สเตร็ปโตมัยซิน อัตรา 3-6 กรัม ต่อน้ำ 1 1 ปี๊บ หรือแคงเกอร์เอกซ์ ตามอัตราแนะนำในฉลาก ทุก 10-15 วัน 1-2 ครั้ง ติดต่อกัน จะทำให้อาการของโรคเบาบางลงและหมดไปในที่สุด นอกจากนี้ ควรบำรุงต้นมะนาวให้แข็งแรงสมบูรณ์อยู่เสมอ คุณก็จะได้ต้นมะนาวที่ให้ผลดกดีตามต้องการ
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
ในเมือง
อำเภอ / เขต :
เมือง
จังหวัด :
นครราชสีมา
รหัสไปรษณีย์ :
30000
ภาค :
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2545 ปีที่ 15 ฉบับที่ 297
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM