เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
เลี้ยงมดแดงอย่างมืออาชีพ
   
ปัญหา :
 
 

ปัจจุบัน “มดแดง” จัดเป็นแมลงเศรษฐ กิจที่กำลังได้รับความนิยมอย่างสูง เนื่องจากตลาดมีความต้องการไข่มดแดงมากขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีราคาค่อนข้างแพง รศ.ดร.เดชา วิวัฒน์วิทยา จากภาควิชาวิทยาป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บอกถึงวิธีการเลี้ยงมดแดงดูเหมือนไม่ยุ่งยากเพียงแต่คอยให้อาหารและน้ำก็พอแล้ว แต่ในสภาพความเป็นจริงแล้วยังมีขั้นตอนต่าง ๆ อีกหลายประการที่ผู้เลี้ยงมดแดงจะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับชีวิตมดแดง ถึงจะสามารถทำให้การเลี้ยงประสบความสำเร็จ
 
สภาพพื้นที่ในการเลี้ยงมดแดงควรเป็นพื้นที่ราบและเปิดโล่ง มีต้นไม้ขนาดเหมาะสมคือไม่สูงและเล็ก (มีความสูงของต้นไม่เกิน 6 เมตร), เป็นไม้ยืนต้นที่ไม่ผลัดใบและมีเรือนยอดที่ไม่เบียดชิดหรือร่มทึบมากเกินไปจนแสงแดดส่องไม่ถึงพื้น เช่น มะม่วง ยอบ้าน หว้า ชมพู่ ส้มโอ จำปี เงาะลำไย ฯลฯ ควรเป็นพื้นที่ที่สามารถควบคุมได้หรือมีขอบเขตที่ชัดเจน เช่น ต้นไม้รอบบ้าน, ต้นไม้ในไร่นาต่าง ๆ ฯลฯ ที่สำคัญควรมีแหล่งน้ำหรือใกล้แหล่งน้ำ ในการเตรียมพื้นที่เลี้ยงมดแดงจะต้องมีการสำรวจและกำจัดศัตรูมดแดง ทำลายทางเดินของปลวกที่หุ้มลำต้น กำจัดวัชพืชรอบต้น ติดตั้งที่วางอาหารและแขวนที่ใส่น้ำสูงจากพื้นดินมากกว่า 1.50 เมตรขึ้นไป (ขวดน้ำพลาสติกขนาดครึ่งลิตร) ตามลำต้นที่มีรัง นำมดแดงจำนวน 3-5 ตัว โดยใช้ไม้ให้มดแดงเกาะจากต้นหนึ่งไปปล่อยอีกต้นหนึ่งบริเวณที่มีมดแดงเดินมาก ๆ ถ้ามดแดงกัดกัน แสดงว่าต่างอาณาจักรกัน แต่ละอาณาจักรและ แต่ละต้นจะต้องทำเครื่องหมายให้ชัดเจนโดยใช้สีหรือตัวเลขกำกับ เช่น อาณาจักรที่ 1 ต้นที่ 1 อย่างนี้เป็นต้นจนครบทุกต้น
 
สำหรับพื้นที่ที่ไม่มีมดแดงอาศัยหรือมีต้นไม้ที่มีมดแดงอาศัยอยู่น้อย อาจจะทำได้โดยการนำรังมดแดงจากที่อื่นมาปล่อย แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือ จะต้องแน่ใจว่ารังนั้นมีมดราชินี (มด ราชินีเป็นมดขนาดใหญ่ที่สุดและมีตัวเดียวในรัง) วิธีการสังเกตว่าในรังมีมดราชินีหรือไม่ให้ปล่อยเลี้ยงมดแดงไปประมาณ 1-2 เดือน ถ้าอาณาจักรล่มสลายนั้นแสดงว่าไม่มีมดราชินีจะต้องไปหารังมดแดงมาปล่อยใหม่ มดแดงจะชอบกินอาหารสดมากกว่าอาหารสุกหรือแห้ง อาหารควรมีขนาดเล็กเพื่อความสะดวกและง่ายแก่การลากหรือคาบกลับรัง วางอาหารในภาชนะที่สร้างขึ้นหรือวางตามง่าม ต้นที่มีมดแดงเดินผ่าน แต่อย่าให้ถูกแสงแดด
 
ในการเก็บผลผลิตไข่มดแดงนั้นจะต้องเก็บให้ได้ผลผลิตคือ ตัวหนอน ดักแด้และแม่เป้งต่อรังให้มากที่สุด จะใช้สวิงในการเก็บผลผลิต จะต้องไม่เก็บราชินีมดแดงและหลีกเลี่ยงการฆ่ามดแดง เมื่อเก็บได้แล้วจะต้องทำการแยกไข่มดแดง (ตัวหนอนและดักแด้) ใส่ถังน้ำแล้วใช้ผ้าขาวบางหมุน มดงานและแม่เป้งจะติดกับผ้า ส่วนไข่มดแดงจะจมอยู่ก้นถัง รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเลี้ยงมดแดง ติดต่อได้ที่ ภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ โทร. 0-2579-0176.

ทวีศักดิ์  ชัยเรืองยศ

วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
กรุงเทพมหานคร
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 28 มีนาคม 2552
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM