เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
การเพาะพันธุ์ปลากะรังหงส์
   
ปัญหา :
 
 
ปัจจุบันการเลี้ยงกุ้งทะเลในหลายพื้นที่ตามชายฝั่งทะเลไทย อาทิ จ.สุราษฎร์ธานี, ชุมพร, นครศรีธรรมราช, สงขลา, ปัตตานี, สตูล, กระบี่, ตรัง, พังงา, ฉะเชิงเทรา, ระยองและจันทบุรี เป็นต้น ประสบปัญหาในเรื่องของสภาพแวดล้อมเสื่อมโทรม เกิดโรคระบาดและผลผลิตตกต่ำ ทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงหลายรายจำเป็นจะต้องเปลี่ยนอาชีพจากการเลี้ยงกุ้งมาเลี้ยงปลาน้ำกร่อยแทน และหนึ่งในนั้นคือ ปลากะรังหงส์ ซึ่งสามารถนำไปเลี้ยงในกระชังที่เป็นบ่อกุ้งร้างได้

หลายคนยังไม่ทราบว่าปลากะรังหงส์ จัดเป็นปลาที่มีเนื้อสีขาวและรสชาติดีและเป็นปลาที่จับหาได้ยากในธรรมชาติในอดีตราคาซื้อ-ขายปลาชนิดนี้ที่จับได้จากธรรมชาติมีราคาสูงถึงตัวละ 2,400-2,800 บาท มาถึงปัจจุบันเมื่อเริ่มมีเกษตรกรเพาะเลี้ยงได้ ราคาในปีพ.ศ. 2551 ที่ผ่านมามีราคาประมาณกิโลกรัมละ 900-1,600 บาท จัดเป็นปลาทะเลที่น่าเลี้ยงอีกชนิดหนึ่ง

จากประสบการณ์และการศึกษาวิจัยของ ดร.เรณู ยาชิโร และนักวิชาการศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งระยอง ได้ทำการเพาะและอนุบาลลูกปลากะรังหงส์จนประสบผลสำเร็จ เกษตรกร
นำไปใช้เป็นแนวทางการเพาะและอนุบาลลูกปลากะรังหงส์เลี้ยงในเชิงพาณิชย์ต่อไป ดร.เรณูได้เตรียมพ่อพันธุ์จากปลาที่เลี้ยงในกระชังจนถึงวัยเจริญพันธุ์แล้วคือมีอายุประมาณ 2 ปี มีน้ำ หนักตัวไม่ต่ำกว่า 1.5 กิโลกรัม ซึ่งปลาส่วนใหญ่จะเป็นปลาเพศเมีย ดังนั้นในการเพาะพันธุ์ปลาในระยะนี้จะต้องทำการเปลี่ยนเพศปลาบางส่วนจากเพศเมียเป็นเพศผู้โดยใช้ฮอร์โมนซึ่งเป็นสเตอรอยด์เพศชายที่ถูกสังเคราะห์ขึ้น คือ เมทธิลเทสเตอโรน

สำหรับการเตรียมแม่พันธุ์ ควรจะคัดเลือกปลากะรังหงส์ขนาดน้ำหนัก 2.6-3 กิโลกรัม นำมาแยกเลี้ยงในบ่อซีเมนต์ และให้อาหารเป็นปลาข้างเหลืองสดวันเว้นวันสลับกับปลาหมึกสดหรือหอยแมลงภู่สด ปลากะรังหงส์จะวางไข่ผสมพันธุ์ระหว่างเดือนสิงหาคม-เดือนมีนาคม (ถ้ามีการบำรุงพ่อ-แม่พันธุ์สมบูรณ์ดีอาจจะวางไข่ได้ตลอดปี) ก่อนถึงฤดูวางไข่อย่างน้อย 2-3 เดือน จะต้องเคลื่อนย้ายพ่อ-แม่พันธุ์ปลาที่เตรียมไว้ปล่อยลงบ่อซีเมนต์เพื่อให้วางไข่และผสมพันธุ์ อัตราส่วนเพศผู้ : เพศเมีย 1 : 1

ในสภาพความเป็นจริงการเพาะพันธุ์ปลากะรังหงส์สามารถทำได้ 3 วิธีคือ การเพาะพันธุ์โดยให้วางไข่เองตามธรรมชาติ, การฉีดฮอร์โมนกระตุ้นและวิธีการผสมเทียม การเพาะพันธุ์โดยให้วางไข่เองตามธรรมชาติเป็นวิธีดีที่สุดเพราะพ่อ-แม่พันธุ์ปลาจะไม่ช้ำ ไม่เสี่ยงต่อการสูญเสียพ่อ-แม่พันธุ์เนื่องจากการจับฉีดฮอร์โมนหรือรีดน้ำเชื้อและไข่ปลาการผสมเทียม ทั้งยังให้ลูกปลาแข็งแรง อนุบาลง่ายและอัตรารอดสูง

ปลาจะวางไข่อย่างต่อเนื่องเป็นเวลาประมาณ 10-15 วันทำให้กลายเป็นข้อเสีย เนื่องจากการจัดการอนุบาลลูกปลาวัยอ่อนทำได้ไม่สะดวก เนื่องจากบางครั้งปลาวางไข่มาก ดังนั้นการฉีดฮอร์โมนกระตุ้นให้ปลาวางไข่และปล่อยน้ำเชื้อพร้อมกันจะจัดการเรื่องอนุบาลปลาง่ายกว่า.
 

ทวีศักดิ์
วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
ระยอง
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคตะวันออก
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 11 เมษายน 2552
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM