เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
การใช้สารสะเดาเพื่อกำจัดแมลงศัตรูพืช(2)
   
ปัญหา :
 
 
ได้กล่าวถึงการใช้ สารสะเดาเพื่อกำจัดแมลงศัตรูพืช แต่ยังไม่จบ ขอนำมาบอกต่อดังนี้...ข้อมูลโดย ศ.ดร.ขวัญชัย สมบัติศิริ แห่งภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตร ม.เกษตรศาสตร์ จากเอกสารเผยแพร่ทางวิชาการ เรื่อง หลักการและวิธีการใช้สะเดาป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืช ระบุไว้ว่า การสกัดสารอะซาไดแรค ตินจากเมล็ดหรือผลสะเดาทําได้หลายวิธีด้วยกัน สิ่งที่สําคัญคือ ส่วนของสะเดาที่ใช้ต้องบดให้ละเอียด สําหรับตัวสกัดที่เหมาะสมในการผลิตเป็นการค้าคือ แอลกอฮอล์ อาจเป็นเอทิลแอลกอฮอล์หรือเมทิล แอลกอฮอล์ก็ได้ แต่เมทิลแอลกอฮอล์ราคาถูกกว่า มาก ถ้าใช้เมทิลแอลกอฮอล์ ต้องระวังอย่าให้เข้าปากหรือเข้าตา ในกระบวนการสกัดสารถ้าต้องการผลิตใช้เอง ตัวสกัดที่เหมาะสม คือ นํ้า ซึ่งเกษตรกรเป็นจํานวนไม่น้อยใช้น้ำในการสกัดสารจากผลสะเดาที่ได้จากผลแห้ง

“การสกัดเพื่อใช้เอง ให้นำผงสะเดาที่ ได้จากการบดผลสะเดาแห้ง จํานวน 10 กิโลกรัม ใส่ในภาชนะบรรจุ เติมนํ้าให้ท่วมประมาณ 200 ลิตร (ผงสะเดา 1 กิโลกรัมต่อน้ำ 20 ลิตร) แช่ไว้นานประมาณ 24 ชั่วโมง ในระหว่างการแช่นํ้า อาจใช้ไม้ยาวกวนให้ผลสะเดารวมกับน้ำเป็นครั้งคราว เมื่อครบกําหนดเวลาจึงกรองนํ้ายาผ่านตาข่ายพลาสติกสีเขียว ในกรณีที่ใช้เครื่องพ่นสูบโยกที่ใช้แรงคน เกษตรกรบางรายที่ต้องการประหยัดผงสะเดา อาจแช่ครั้งแรกประมาณ 3 ชั่วโมงจึงกรองนํ้ายาออก จากนั้นเติมนํ้าลงไปในกากสะเดาใหม่ แต่ใช้นํ้าน้อยลง อาจเป็น 100-150 ลิตร แช่ไว้ประมาณ 24 ชั่วโมง จึงกรองนํ้ายาไปใช้ นอกจากนั้น เกษตรกรอาจใช้แอลกอฮอล์ร่วมสกัดโดยการนําผงสะเดาที่รู้นํ้าหนักแล้ว บรรจุในภาชนะที่มีฝาปิดสนิท เติมเมทิลแอลกอฮอล์ให้ท่วมผงสะเดา จะแช่ไว้นานเท่าใดก็ได้ แต่อย่างน้อยควรนานกว่า 1 วัน จากนั้นนําผลสะเดาที่แช่ในแอลกอฮอล์ไปแช่ในนํ้า โดยคิดอัตราส่วน ผงสะเดา 1 กิโลกรัม (ไม่รวม นํ้าหนักของแอลกอฮอล์) ต่อนํ้า 20 ลิตร แช่ในนํ้าเป็นเวลาประมาณ 2 ชั่วโมง จึงกรองเหมือนวิธีเดิม...” ศ.ดร.ขวัญชัย กล่าว

ข้อมูลจาก กลุ่มส่งเสริมการผลิตและการจัดการผลผลิต สำนักงานเกษตรจังหวัดนนทบุรี บอกไว้ว่า ประสิทธิภาพของสารสะเดาต่อแมลงศัตรูพืช แบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ

1. ใช้สารสกัดสะเดาได้ผลดี เช่น หนอน กระทู้ผัก หนอนหลอดหอม หนอนใยผัก หนอนม้วนใบ หนอนชอนใบ เพลี้ยจักจั่นฝ้าย หนอน กระทู้หอม เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไก่แจ้ หนอนแก้วส้ม หนอนผีเสื้อหัวกะโหลก

2. ใช้สารสะเดาได้ผลปานกลาง เช่น หนอนเจาะฝักถั่ว หนอนเจาะสมอฝ้าย หนอนเจาะดอกมะลิ หนอนแมลงวันเจาะต้นถั่ว หนอนเจาะยอดและผลมะเขือเทศ หนอนเจาะยอดคะน้า และแมลงหวี่ขาวยาสูบ

3. ใช้สารสะเดาไม่ได้ผล เช่น เพลี้ยไฟ มวนแดง มวนเขียว หมัดกระโดด เต่าแตงแดง เต่าแตงดำ ด้วงกุหลาบ และแมลงปีกแข็งอีกหลายชนิด

สำหรับการใช้สารสะเดาเพื่อควบคุมแมลงศัตรูพืชนั้น สามารถใช้ได้หลายทาง คือ การใช้ทางดิน ตัวอย่างเช่น

1. ควบคุมตัวอ่อนด้วงหมัดผักในพืชตระกูลกะหล่ำ เช่น ผักกาดหัว คะน้า กะหล่ำดอก กวางตุ้ง เป็นต้น ให้หว่านเมล็ดสะเดาบดแห้ง หลัง ย้ายกล้าหรือหลังงอก 7-10 วัน อัตรา 20-25 กก. ต่อไร่ หรือโรยรอบโคนต้น อัตรา 2.5-3 กรัมต่อหลุม

2. ควบคุมหนอนแมลงวันเจาะโคนต้นถั่ว ในถั่วฝักยาว ถั่วเหลือง ถั่วแระญี่ปุ่น ถั่วแขก ถั่วพู เป็นต้น ให้หว่านเมล็ดสะเดาบดแห้ง หลังจากถั่วงอกพ้นดิน 7-10 วัน อัตรา 10 หรือ 15 กก. ต่อไร่ หรือ 5 กรัมต่อหลุม

3. ควบคุมหนอนกระทู้ผักในแปลงหน่อไม้ฝรั่ง ให้โรยเมล็ดสะเดาบดรอบกอ อัตรา 5 กรัมต่อกอ ทุก 45-60 วัน

การหยอดยอด ใช้เมล็ดสะเดาบดแห้ง ผสมทรายหรือดินหรือขี้เลื่อยอัตราส่วน 1 : 1 โดยปริมาณ เพื่อควบคุมหนอนเจาะลำต้นข้าวโพดที่อาศัยหลบซ่อนบริเวณส่วนยอดในใบรูปกรวย แบ่งการหยอดเป็น 2 ครั้ง คือ ครั้งแรก เมื่อข้าวโพดอายุ 3-4 สัปดาห์ อัตรา 1 กรัมต่อยอด หรือ 8 กิโลกรัมต่อไร่ และหยอดอีกครั้งก่อนข้าวโพดออกดอกตัวผู้ในอัตราเดียวกัน

การพ่น นำเมล็ดสะเดาบด จำนวน 1 กิโลกรัม ห่อด้วยถุงผ้าแช่ในน้ำ 20 ลิตร ทิ้งไว้ ประมาณ 12 ชั่วโมง กวนเป็นครั้งคราว นำน้ำที่ผ่านการกรองแล้วไปผสมสารจับใบ พ่นที่ต้นพืชได้ทันที ทุก 5-7 วัน จนถึงใกล้เก็บเกี่ยว สามารถ ป้องกันกำจัดเพลี้ยอ่อน เพลี้ยจักจั่น เต่าแตงแดง และดำ หนอนใยผัก หนอนหลอดหอม หนอนกระทู้ผัก หนอนคืบ หนอนแก้วส้ม หนอนเจาะฝักและผลได้

ข้อจำกัดของการใช้สารสกัดจากสะเดา

1. สารสกัดจากสะเดาไม่สามารถฆ่าแมลงได้ทุกชนิด โดยเฉพาะที่อยู่ในระยะตัวเต็มวัย

2. ในช่วงที่เกิดการระบาดรุนแรง การใช้สารสกัดสะเดาเพียงอย่างเดียวไม่สามารถลดความเสียหายได้ทันทีเนื่องจากสะเดาไม่สามารถฆ่าแมลงได้ตายทันทีเหมือนสารเคมี

3. สารสกัดจากสะเดา สลายตัวอ่อนค่อนข้างไว ดังนั้นช่วงระยะเวลาในการฉีดพ่นจึงสั้นลงประมาณ 5-7 วันต่อครั้ง แต่ถ้าฉีดพ่นในโรงเก็บ
ไม่ถูกแสงแดดสามารถออกฤทธิ์ป้องกันกำจัดแมลงได้อย่างน้อย 3 สัปดาห์

หมายเหตุ ขอขอบคุณข้อมูลจาก ศ.ดร. ขวัญชัย สมบัติศิริ และสำนักงานเกษตรจังหวัดนนทบุรี.
วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
กรุงเทพมหานคร
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 6 พฤษภาคม 2552
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM