เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
ใบเตย...คุณค่ามากมาย แม้กระทั่งทำ 'ถ่านไม้กลิ่นใบเตย'
   
ปัญหา :
 
 

แต่ ก่อนที่บ้านมีต้นเตยเยอะแยะเนื่องด้วยที่บ้านมีพื้นที่เยอะ ปลูกอะไรต่อมิอะไรต่าง ๆ มากมาย และต้นเตยก็เป็น หนึ่งในนั้น ต้นเตย แม้จะมีที่สวนก็ไม่ได้นำไปทำอะไร นอกจากประดับไว้ในโลกาเท่านั้น ด้วยว่าซื้อเขาอร่อยกว่าทำเอง...
 
ข้อมูลจากฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือน ปลูกพืชทดลอง ม.เกษตรศาสตร์ บอกไว้ว่า ใบเตยหอมใช้แต่งสีและกลิ่นเครื่องดื่ม ขนมหวาน และอาหารหลายชนิด นอกจากนี้ยังใช้เป็นยาได้ด้วย โดยเขาบอกว่า ใบสดต้มกับน้ำดื่ม ลดอาการกระหายน้ำ บำรุงหัวใจ ทำให้ชุ่มชื่น ต้นและรากเป็นยาขับปัสสาวะ รักษาโรคเบาหวาน และแก้กระษัยน้ำเบาพิการ
 
สำหรับยาขับปัสสาวะ ใช้ต้น 1 ต้น หรือ ราก 1 กำมือ ต้มกับน้ำดื่ม

สำหรับยาบำรุงหัวใจ ใช้ใบสดไม่จำกัด ผสมในอาหาร หรือนำมาคั้นน้ำรับประทาน ครั้งละ 2-4 ช้อนแกง หรือ ใช้ใบสดตำ คั้นเอาน้ำ จะได้น้ำสีเขียวมาผสมอาหาร แต่งกลิ่น แต่งสีขนม หรือใช้ในรูปของใบชา ชงกับน้ำร้อน หรือใช้ใบสดต้มกับน้ำจนเดือด เติมน้ำตาลเล็กน้อยใช้ดื่มเป็นประจำ
 
สำหรับโรคหัด โรคผิวหนัง ใช้ใบสดตำพอก
 
สำหรับโรคเบาหวาน ใช้ส่วนต้นและราก ต้มกับเนื้อหรือใบไม้สักจะช่วยรักษาโรคเบาหวาน
 
ส่วนวิธีการทำน้ำใบเตย มีวิธีการทำดังนี้ ให้นำใบเตยสดที่ไม่แก่มาก เก็บมาใหม่ ๆ ล้างทีละใบให้สะอาด แช่น้ำด่างทับทิม 10-15 นาที นำมาปั่นตามขวางเป็นชิ้นเล็ก ๆ ให้ได้ประมาณ 3 ถ้วยแล้วแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่หนึ่งใส่ลงในหม้อที่มีน้ำกำลังเดือด ต้มเคี่ยว 5-10 นาที เติมน้ำตาลทรายให้รสหวานจัด กรองเอากากออก ใบเตยที่หั่นแล้วอีกส่วนหนึ่งปั่นให้ละเอียดโดยเติมน้ำ กรองเอากากออก เติมน้ำที่คั้นได้ซึ่งมีสีเขียวและกลิ่นหอมลงในหม้อใบเตยที่เติมน้ำตาลและกำลังเดือด  ชิมให้มีรสหวาน พอเดือดรีบยกลง เมื่อจะดื่มใส่น้ำแข็งบดละเอียด
 
นอกจากว่า จะมีการนำกลิ่นหรือสีของใบเตยไปเป็นส่วนประกอบของอาหารแล้ว ณ วันนี้ กรมป่าไม้เขานำกลิ่นของใบเตยไปเป็นกลิ่นของถ่าน เรียกว่า “ถ่านไม้กลิ่นใบเตย”
 
จริง ๆ กลิ่นของถ่านไม้โดยปกติแล้วก็มิได้น่ารังเกียจอะไร แต่หากทำให้มันมีกลิ่นใบเตย...ก็คิดว่าน่าจะดูดีขึ้นกว่าเดิม ในเรื่องนี้ นายสมชัย เพียรสถาพร อธิบดีกรมป่าไม้ กล่าวว่า จากสถานการณ์ปัจจุบันที่ประชาชนประสบปัญหาทางด้านรายได้และเศรษฐกิจ จึงได้มอบนโยบายให้นักวิจัยของกรมป่าไม้ศึกษาวิจัยในด้านต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด และช่วยสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับประชาชน รวมทั้งรณรงค์ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ และดูแลรักษาทรัพยากรป่าไม้ของชาติด้วยการผลิต “ถ่านไม้กลิ่นใบเตย” ขึ้น
 
สำหรับถ่านไม้กลิ่นใบเตย ถือว่าเป็นการสร้างปรากฏการณ์ของกรมป่าไม้ ที่ได้ฉีกแนวการผลิตถ่านไม้ในปัจจุบัน และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ถ่านไม้ทั่วไป ซึ่งถ่านไม้กลิ่นใบเตยนอกจากสามารถนำมาใช้ในการหุงต้ม ปิ้ง ย่าง ให้ความร้อนตามปกติ ยังมีความพิเศษที่มีกลิ่นหอมของใบเตยทำให้ชวนรับประทานมากยิ่งขึ้น เหมาะสำหรับนำมาย่างบาร์บีคิว และเนื้อสัตว์ ต่าง ๆ ด้วย
 
นายจิระพงษ์ คูหากาญจน์ นักวิชาการ ป่าไม้ชำนาญการพิเศษ หัวหน้าศูนย์วิจัยพลังงานจากไม้ จ.สระบุรี กล่าวถึงวิธีการผลิตถ่านไม้กลิ่นใบเตยว่า ได้นำไม้ยูคาลิปตัส ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-5 เซนติเมตร ความยาว 5 เซนติเมตร น้ำหนักรวม 100 กิโลกรัม มาเผาในเตาเผาถ่านชนิดเตาอิฐก่อกรมป่าไม้ ขนาดความจุ 1.0 ลูก บาศก์เมตร ซึ่งเป็นเตาเผาถ่านขนาดเล็กและสร้างพิเศษ คือ มีช่องเปิดด้านบน ดำเนินการเผาถ่านตามปกติ จนกระทั่งปล่องแห้งสนิท จึงนำใบเตย 5 กิโลกรัม มาใส่ในเตาเผาถ่านที่ช่องเปิดด้านบน ใช้ไม้รวกหรือเหล็กยาวเขี่ยให้กระจายเข้ากัน จากนั้นใช้พัดลมเป่าที่ช่องใส่ไฟเพิ่มเติมออกซิเจนประมาณ 10-30 นาที แล้วจึงยุติกระบวนการเผาถ่าน
 
มิใช่แค่กลิ่นใบเตยเท่านั้น อยากให้ถ่านเป็นกลิ่นอื่น ๆ ก็ทำได้เช่นกัน เพราะถ่านไม้กลิ่นใบเตยของกรมป่าไม้มีจุดเด่นที่สำคัญ คือ เป็นถ่านที่เผาจากกระบวนการเผาถ่านตามปกติ แต่ใช้หลักการดูดซับกลิ่นของถ่าน โดยนำสารที่มีกลิ่นหอมให้ถูกดูดซับเข้าไปแทนที่ช่องว่างในถ่าน สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับสาร ที่มีกลิ่นหอมอื่น ๆ นอกจากใบเตยได้เป็นอย่างดี สนใจโทรฯ ไปที่กรมป่าไม้ 0-2579-5411 เวลาราชการ.

วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
กรุงเทพมหานคร
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 5 พฤษภาคม 2552
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM