เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
ปลูกหน้าวัว...เสริมรายได้ ในสวนยางพารา
   
ปัญหา :
 
 
ไม้ดอกสกุลหน้าวัว (Anthurium spp.) เป็นไม้ดอกเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่งของประเทศไทย โดยได้รับการพัฒนาให้เป็นไม้ตัดดอกเพื่อการส่งออก และนิยมใช้กันแพร่หลายในประเทศ เนื่องจากมีพันธุ์และสีสันหลากหลาย ใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวาง และมีอายุการใช้งานได้นาน จากการศึกษาและทดสอบปลูกเป็นพืชร่วมในสวนยางพารา ที่โครงการสวนยางเขาสำนัก และโครงการสวนยางทักษิณราชนิเวศน์ โดยงานวิชาการเกษตร ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนราธิวาส พบว่า สามารถเจริญเติบโตและออกดอกได้ดี

หน้าวัว เป็นไม้ดอกชนิดหนึ่ง ที่เหมาะสำหรับแนะนำหรือส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกเป็นพืชร่วมในสวนยางพารา เพื่อเสริมรายได้ในช่วงฤดูฝนที่มีจำนวนวันกรีดน้อยหรือในช่วงที่ราคายางตกต่ำ สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการปลูกหน้าวัว คือมีร่มรำไร มีแสงแดดประมาณ 20-30 เปอร์เซ็นต์ และต้องการความชื้นสูง หากนำมาปลูกในสวนยางพารา ควรปลูกในสวนยางพาราอายุประมาณ 10 ปี นอกจากปริมาณแสงเพียงพอกับการเจริญเติบโตและออกดอกแล้ว ยังมีเวลายาวนานเพียงพอกับการลงทุน สำหรับพันธุ์ที่แนะนำการปลูกหน้าวัวในสวนยางพารา ควรใช้พันธุ์ที่ต้านทานโรคและทนทานต่อแสงแดด สายพันธุ์ไทยที่เหมาะสม ได้แก่ เปลวเทียนภูเก็ต (สีชมพู) เปลวเทียนลำปาง (สีขาว) หน้าวัวผกามาศ (สีส้ม) และหน้าวัวดวงสมร (สีแดง) วิธีการปลูกเป็นวิธีการที่ไม่ยากมากนัก ใช้ต้นพันธุ์ที่มีใบ 3-4 ใบ และมีราก 2-3 ราก วิธีการปลูก ปลูกในแปลงโดยใช้กาบมะพร้าวสับเป็นวัสดุปลูกหลัก และใช้เศษอิฐหักผสมบ้างเพื่อกันต้นล้ม นิยมปลูกแถวคู่ ระยะปลูก 50x50x50 เซนติเมตร จำนวนต้นพันธุ์ที่ใช้ปลูกประมาณ 3,200 ต้น และ 2,750 ต้น ต่อพื้นที่ปลูกยางพารา 1 ไร่ เมื่อใช้ระยะปลูกยางพารา 2.5x8 เมตร (ภาพที่ 1) และระยะปลูกยางพารา 3x7 เมตร (ภาพที่ 2) โดยปลูกห่างแถวยางพารา 2 เมตร และ 1.75 เมตร ตัวอย่างการปลูก ดังนี้



วิธีการปฏิบัติและการดูแลรักษา

การใส่ปุ๋ย ในปีแรกใช้ปุ๋ยเกล็ด สูตร 21-21-21 อัตรา 15 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร สลับกับปุ๋ยน้ำ สูตร 11-8-6 อัตรา 30 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นสัปดาห์ละครั้ง ในปีต่อๆ ไป ยังคงใช้ปุ๋ยเกล็ด สูตร 21-21-21 อัตราเท่าเดิม ฉีดพ่นสัปดาห์ละครั้ง และสลับด้วยปุ๋ยเกล็ด สูตร 10-52-17 อัตรา 30 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นเดือนละครั้งเพื่อเร่งดอก การป้องกันกำจัดโรค ในฤดูฝนมักมีโรคที่เกิดจากเชื้อรา ระบาดทางใบและดอก เช่น โรคแอนแทรกโนส ควรใช้สารออโธไซด์ฉีดพ่นเพื่อป้องกันหรือในช่วงเป็นโรคเพียงเล็กน้อย อัตรา 50 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร ถ้าโรคระบาดรุนแรงให้สลับด้วยสารอาลีเอท อัตรา 30 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น 2 สัปดาห์ ต่อครั้ง และค่อยๆ ห่างออกไป ส่วนในช่วงแล้งไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมี

วิธีการให้น้ำ ในช่วงฤดูแล้งควรรดน้ำให้ชุ่มทั้งต้นและวัสดุปลูก วันละ 2 ครั้ง คือ เช้าและเย็น ผลผลิตเริ่มออกดอกหลังจากปลูกประมาณ 5-7 เดือน ในปีแรกผลผลิตดอกยังน้อย ในปีถัดไปผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 22,000 และ 16,000 ดอก ต่อพื้นที่ปลูกยางพารา 1 ไร่ เมื่อใช้ระยะปลูกยางพารา 2.5x8 เมตร และ 3x7 เมตร ตามลำดับ การเก็บเกี่ยว ควรตัดดอกในช่วงเช้า โดยเลือกจานรองดอกที่มีดอกจริงบนจานรองดอก 1/2-3/4 ของจาน ให้สังเกตจากสีของจานรองดอกที่เปลี่ยนไป ซึ่งจะทำให้ดอกที่ตัดมานั้นมีอายุการใช้งานได้นาน ไม่ต่ำกว่า 1 สัปดาห์ ต้นทุนการผลิต และรายได้ (ในพื้นที่ปลูกยางพารา 1 ไร่) ในปีแรกต้นทุนจะประกอบด้วยค่าต้นพันธุ์ วัสดุปลูก อุปกรณ์ให้น้ำ ปุ๋ย และสารเคมีป้องกันกำจัดโรค เฉลี่ยประมาณ 51,700 และ 44,400 บาท ต่อพื้นที่ปลูกยางพารา 1 ไร่ เมื่อใช้ระยะปลูกยางพารา 2.5x8 เมตร และ 3x7 เมตร ตามลำดับ ต้นทุนการผลิตแตกต่างกันบ้าง ขึ้นกับราคาขายและพันธุ์ที่ไม่เหมือนกัน ในปีต่อๆ ไป มีเฉพาะค่าปุ๋ยและสารเคมีป้องกันกำจัดโรค เฉลี่ย 2 บาท ต่อต้น หรือประมาณ 6,400 บาท และ 5,500 บาท ต่อพื้นที่ปลูกยางพารา 1 ไร่ เมื่อใช้ระยะปลูกยางพารา 2.5x8 เมตร และ 3x7 เมตร ตามลำดับ

สำหรับรายได้จากการตัดดอกในปีแรกยังคงต่ำ เฉลี่ยประมาณ 34,450 บาท และ 29,600 บาท ต่อพื้นที่ปลูกยาง 1 ไร่ ในปีต่อๆ ไป รายได้เฉลี่ยประมาณ 80,000 บาท และ 68,750 บาท ต่อพื้นที่ปลูกยางพารา 1 ไร่ เมื่อใช้ระยะเวลาปลูกยางพารา 2.5x8 เมตร และ 3x7 เมตร ตามลำดับ ฉะนั้น ผลตอบแทนจะสามารถคืนทุนได้ในปีที่ 2 หลังจากปลูก และจะมีรายได้ส่วนหนึ่งจากการจำหน่ายต้นพันธุ์ ซึ่งเริ่มขยายพันธุ์ได้ในปีที่ 4-5 เป็นต้นไป ข้อเสนอแนะในการปลูกไม้ดอกสกุลหน้าวัวเพื่อเสริมรายได้ในสวนยางพารา เป็นแนวทางที่เหมาะสมสำหรับสวนยางพาราในบางพื้นที่เท่านั้น โดยให้พิจารณาถึงแหล่งที่มีตลาดรองรับ นอกจากนี้ เจ้าของสวนควรคำนึงถึงปัจจัยอื่นๆ ด้วย คือ

1. แหล่งน้ำในสวน ควรมีเพียงพอสำหรับการให้น้ำไม้ดอกในช่วงฤดูแล้ง

2. แรงงาน เจ้าของสวนควรมีแรงงานเพียงพอสำหรับดูแลรักษาแปลงไม้ดอก

3. ปริมาณพื้นที่ปลูก ให้พิจารณาจากเงินทุนที่มีอยู่ และการปลูกควรเริ่มจากพื้นที่น้อยๆ แล้วค่อยขยายออกไปเมื่อมีประสบการณ์เพิ่มมากขึ้น และควรหมั่นคอยดูแลเอาใจใส่ แล้วจะได้ผลอย่างที่ต้องการ

ผู้สนใจต้องการปลูกหน้าวัว ติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ งานวิชาการเกษตร ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลกะลุวอเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส โทรศัพท์ (073) 631-033, (073) 631-038

วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
นราธิวาส
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคใต้
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ปีที่ 21 ฉบับที่ 456
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM