เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
ม.ขอนแก่น พัฒนา 'โคนมพันธุ์ทนร้อน' เหมาะเลี้ยงสพื้นที่อีสาน เลี้ยงง่าย น้ำนมดี
   
ปัญหา :
 
 
เหตุ จากพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ อีสาน เป็นพื้นที่ร้อนและแห้งแล้ง ดังนั้น โคนมที่เลี้ยงในพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโคนมสายพันธุ์จากต่างประเทศ จึงไม่คุ้นเคยกับสภาพภูมิอากาศของเมืองไทย ส่งผลให้โคนมที่เลี้ยงในอีสานมีปริมาณน้ำนมน้อย ด้วยเหตุนี้ รศ.ดร.วิโรจน์ ภัทรจินดา ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าว จึงหันมาพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์โคนมเพื่อให้เหมาะกับการเลี้ยงในพื้นที่ภาคอีสาน โดยใช้ระยะเวลาในการพัฒนาสายพันธุ์กว่า 16 ปี จึงประสบความสำเร็จในการพัฒนาโคนมสายพันธุ์ใหม่ ภายใต้ชื่อ โคนมทนร้อนมหาวิทยาลัยขอนแก่น (KKU101) โดยมีลักษณะเด่น คือ สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพอากาศร้อน-ชื้น และสภาพการเลี้ยงแบบไทย ๆ ที่มีคุณภาพอาหารค่อนข้างต่ำ   ได้ นอกจากนี้ยังมีลักษณะให้ผลผลิตน้ำนมสูง โดยให้น้ำนมเฉลี่ย 12 กก./วัน หรือ 4,400 กิโลกรัม/ปี มีระยะการให้น้ำนมนานถึง 300 วัน และหากนำโคนมพันธุ์ดังกล่าวไปเลี้ยงในพื้นที่ที่มีสภาพอากาศเย็น โคจะตอบสนองต่อการกินอาหารและการให้น้ำนมที่สูงขึ้นถึง 15-18 กิโลกรัม/วัน หรือ 5,500-6,500 กิโลกรัม/ปี จึงนับได้ว่า โคนมทนร้อน KKU101 เป็นโคนมที่มีความสวยงาม ขนาดลำตัวเหมาะสม เลี้ยงง่ายและให้น้ำนมในเกณฑ์ดี
   
“โคนมสายพันธุ์ปรับปรุงนี้ ยังมีความสามารถผสมติดง่ายภายใต้สภาวะแวดล้อมที่มีความเครียดสูง ส่วนลักษณะของการให้น้ำนมนั้น เดิมโคนมจะมีโครงสร้างเต้านมขนาดเล็ก รวมตัวเป็นกระจุกและรีดน้ำนมออกยาก จึงทำให้ได้น้ำนมน้อยแค่ 4-5 กิโลกรัม/วัน และมีระยะให้น้ำนมสั้น แต่ภายหลังปรับปรุงสายพันธุ์ โครงสร้างของเต้านมแข็งแรงขึ้น มีขนาดหัวนมที่ใหญ่และยาวได้มาตรฐานกับชุดรีดนม รีดนมออกง่ายและให้น้ำนมเฉลี่ยสูงขึ้น” รศ.ดร.วิโรจน์ กล่าว
   
รศ.ดร.วิโรจน์ กล่าวย้อนกลับไปถึง   ช่วงเริ่มต้นปรับปรุงสายพันธุ์โคนมพันธุ์ทนร้อนว่า ใช้ระบบการผสมข้ามสายพันธุ์ โดยดำเนินการที่สถานีทดลองและฝึกอบรมเกษตรกรรม จ.ร้อยเอ็ด ของคณะเกษตรศาสตร์ ม.ขอนแก่น โดยเริ่มแรกนั้นได้รับทุนสนับสนุนจากโครงการ DANIDA (Danish International Development Agency) ประเทศเดนมาร์ก ให้ทุนในการจัดซื้อพันธุ์โคนมและอุปกรณ์ประจำฟาร์ม โดยโคนมที่นำเข้ามารุ่นแรกเป็นโคนมผสมสายเลือดพันธุ์ โฮนสไตน์ฟรีเชี่ยน 75% กับพันธุ์ซาฮิวาล 25% ซึ่งโคนมพันธุ์โฮนสไตน์ฟรีเชี่ยน เป็นโคนม    เขตหนาวแถบประเทศอเมริกาและยุโรป มีคุณสมบัติเลี้ยงง่าย นิสัยเชื่อง ให้ปริมาณน้ำนมมาก ส่วนพันธุ์ซาฮิวาลจะเป็นโคนมพันธุ์เขตร้อน มีแหล่งกำเนิดทางประเทศอินเดีย มีคุณสมบัติหากินเก่ง ทนร้อน ทนโรคแมลง โดยเฉพาะเห็บโค แต่มีข้อด้อย คือ ให้ปริมาณน้ำนมน้อย และตื่นเต้นง่าย  
    
สำหรับ โคนมทนร้อน KKU101 นี้ เป็นลูกผสมรุ่นที่ 6 ซึ่งถือว่ามีความคงที่ของสายพันธุ์ในระดับถึง 98.2% โดยจะสามารถถ่ายทอดลักษณะความเป็นโคนมทนร้อนที่แน่นอน ทั้งนี้ ลูกที่เกิดขึ้นจะมีลักษณะตรงตามสายพันธุ์ มีสีขาวดำ น้ำหนักตัว 450-500 กิโลกรัม มีนิสัยเชื่อง ไม่ตื่นเต้นง่าย เลี้ยงง่าย สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพการเลี้ยงในทุกแบบได้เป็นอย่างดี โดยในฤดูร้อนจะทนร้อนได้ดี และสามารถออกเดินแทะเล็มหญ้ากินกลางแสงแดดได้โดยไม่มีอาการหอบ หรือน้ำลายไหลปรากฏให้เห็น
   
นอกจากนี้ โคสายพันธุ์ที่ปรับปรุงนี้ ยังมีคุณลักษณะพิเศษ คือ สามารถทนเห็บหรือทนต่อโรคเห็บ ซึ่งโรคนี้นับเป็นโรคที่สำคัญอันดับหนึ่งของโคนมที่ให้ผลผลิตสูงที่มักตายได้ง่ายจากการระบาดของโรคเห็บที่ระบาดผ่านทางตัวเห็บที่มาเกาะกินเลือดจากตัวโค
   
รศ.ดร.วิโรจน์ กล่าวอีกว่า ในการพัฒนาสายพันธุ์ในขั้นต่อไปนั้น จะนำเอาเทคโน    โลยีขั้นสูงมาใช้ในการปรับปรุงและขยายสายพันธุ์   โคนมนี้ให้มีความรวดเร็วขึ้น เพราะมีพ่อแม่พันธุ์ที่เป็นต้นแบบที่ดี ส่วนการขยายพันธุ์เพื่อเผยแพร่สู่เกษตรกรนั้น ในระยะสั้นจะใช้วิธีเทคโน       โลยีการย้ายฝากตัวอ่อน ซึ่งมีความชำนาญอยู่แล้ว จะสามารถเพิ่มจำนวนลูกโคพันธุ์ดีได้มากและรวดเร็ว
   
“อยากให้ภาครัฐสนับสนุนและช่วยส่งเสริมการขยายพันธุ์ให้เกิดการแพร่หลาย มากกว่านี้ เพื่อใช้เป็นแหล่งแม่พันธุ์และพ่อพันธุ์โคนมชั้นเยี่ยมของประเทศไทย ทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ และหากได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐอย่างจริงจังคาดว่าประเทศไทยจะก้าวขึ้นสู่การเป็นศูนย์กลางของการส่งออกโคนมพันธุ์ทนร้อนในภูมิภาคอาเซียนได้ในอนาคต”รศ.ดร.วิโรจน์ กล่าวในที่สุด
   
สำหรับเกษตรกรหรือประชาชนทั่วไปที่สนใจโคนมพันธุ์ทนร้อน (KKU101) ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ รศ.ดร.วิโรจน์ ภัทรจินดา ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โทร. 0-4336-2006 หรือ 08-1872-0478.
วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
ขอนแก่น
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 17 มิถุนายน 2552
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM