เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
แนะนำพันธุ์ไผ่ ตอนที่ 7 ไผ่เลี้ยง : ไผ่แสนดี ที่ควรปลูก (1)
   
ปัญหา :
 
 
สวัสดีครับท่านผู้อ่านนิตยสารเทคโนชาวบ้าน ทุกท่าน ฉบับนี้ เป้ บ้านโป่ง ขอโอกาสนำเสนอไผ่พันธุ์ต่างๆ ที่น่าสนใจต่อครับ โดยในตอนที่ผ่านมาผู้เขียนได้นำเสนอไปแล้ว 5 ชนิด ได้แก่ ไผ่ซางหม่น ไผ่นวลราชินี ไผ่ตง ไผ่กิมซุ่ง และไผ่หม่าจู ซึ่งไผ่เหล่านี้ที่ได้นำเสนอไปแล้วในตอนต้นๆ ก็เนื่องจากผู้เขียนคิดว่า ไผ่เหล่านั้นมีลักษณะที่ดี มีอนาคต จึงอยากให้ท่านผู้อ่านได้รู้จักกันไว้ก่อน

แต่สิ่งสำคัญก็คือ อย่าปลูกตามกระแสกันมากเกินไป เน้นความหลากหลายจะดีกว่า นอกจากนี้ ยังมีพันธุ์ไผ่อีกหลายพันธุ์ที่ยังไม่ได้นำเสนอ และมีโอกาสที่มีอนาคตมากกว่าพันธุ์เหล่านั้น ทั้งพันธุ์ที่หน่อดก หน่ออร่อย ลำใหญ่ ลำเล็ก ลำตัน ลำสวยงาม ลำที่มีลักษณะแปลกๆ ซึ่งต้องมีอนาคตแน่นอน เผลอๆ จะมีปัจจุบันด้วยซ้ำ

ยกตัวอย่าง กรณีของสวนผลไม้จะต้องใช้ลำไผ่ในการค้ำต้นค้ำกิ่ง ซึ่งก็คงหนีไม่พ้นพระเอกของเราก็คือ ไผ่เลี้ยง และไผ่รวก ซึ่งมีลักษณะเล็กเรียวยาว และแข็งแรง เพราะถ้าเอาไผ่ที่มีลำใหญ่มาค้ำก็คงไม่ใช่เรื่อง ต้นไม้ผลต้นหนึ่งใช้ลำไผ่ค้ำทีเป็นสิบๆ ลำ ยิ่งถ้าพายุหรือมรสุมเข้า ต้องหาไม้มาค้ำกันให้ขวัก และก็อาจจะหามาค้ำไม่ได้ เพราะไม่ค่อยมีคนปลูกกัน ถึงหาได้จากเดิมลำละ 3 บาท อาจขึ้นเป็น 10 บาท ก็ยังพอไหว ถ้าขึ้นเป็นลำละ 20 บาท ก็เลิกพูดได้เลย เห็นมั้ยครับว่าถึงจะเป็นแค่ไผ่รวกและไผ่เลี้ยงก็มีทั้งปัจจุบันและอนาคตเลย เพราะมันจำเป็นต้องใช้จริงๆ เสมือนยาสามัญประจำบ้าน แต่อันนี้เป็นยาสามัญประจำสวน ไม่ว่าจะเป็นไร่ นา สวน ก็ต้องใช้ประโยชน์จากลำไผ่ทั้งนั้น เช่น ใช้ค้ำ ใช้ทำร้าน ใช้ทำเสากางซาแรน ใช้ทำโครงสร้างง่ายๆ ปลูกเป็นแนวกันลม

แม้แต่หุ่นไล่กาก็ใช้ไม้ไผ่ทำได้ ผู้เขียนเคยเห็นสวนแก้วมังกรสวนหนึ่ง เขาเอาไผ่ลำเล็กมาสุมกันเป็นกระโจม แล้วให้แก้วมังกรเกาะ ก็เข้าท่าไปอีกแบบครับ ดังนั้น ผมอยากให้ทุกท่านปลูกไผ่เลี้ยงและไผ่รวกไว้ครับ และควรต้องมีประจำสวนไว้เลย ต้นหนึ่งก็ไม่น่าจะแพงครับ น่าจะตกอยู่ที่ต้นละ 10-40 บาท อาจจะซื้อสัก 10 ต้น แล้วปลูกไปสักระยะให้กอใหญ่และมีลำใหม่ๆ ขึ้น ซึ่งไม่เกิน 1 ปี แล้วขยายพันธุ์ด้วยวิธีขุดเหง้าแยกกอ ก็จะได้ปริมาณต้นเพิ่ม นำไปปลูกเพิ่มพื้นที่ต่อไป นอกจากนี้ ยังเป็นการลดต้นทุนอีกด้วย ประโยชน์ของไผ่เลี้ยงยังมีอีกครับ เอาไว้ค่อยเล่าต่อ แต่ตอนนี้ขอเข้าเรื่อง "ไผ่เลี้ยง" ก่อนครับ

ไผ่เลี้ยง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bambusa nana เป็นชื่อที่นิยมเรียกกันมากที่สุด แต่ชื่อนี้ก็ยังเป็นชื่อที่ไม่แน่นอนครับ เพราะว่า ไผ่ชนิดนี้มีลักษณะก้ำกึ่งระหว่างไผ่สกุล Bambusa (สกุลไผ่ป่า) ที่มีใบขนาดเล็ก กับ สกุล Dendrocalamus (สกุลไผ่ตง) ที่มีลักษณะดอกคล้ายกับไผ่เลี้ยง ซึ่งข้อสังเกตอันนี้ท่าน อาจารย์ ดร.สราวุฒิ สังข์แก้ว คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้แนะนำผมมา จึงทำให้มีชื่อวิทยาศาสตร์ที่แน่นอนเสียที ฝากนักจัดจำแนกไผ่ช่วยหาชื่อวิทยาศาสตร์ด้วยครับ เพราะเป็นไผ่ที่ใกล้ตัวจริง

ไผ่เลี้ยงที่นิยมปลูกกัน จริงๆ แล้วไม่ใช่ไผ่พื้นเมืองของไทย แต่มีถิ่นกำเนิดเดิมในประเทศจีน และญี่ปุ่น ดังนั้น จึงไม่ค่อยพบไผ่เลี้ยงขึ้นในป่าธรรมชาติบ้านเรา เป็นไผ่ที่ปลูกขึ้นง่าย โตเร็ว (เร็วจริงถ้าดินดีน้ำดี) ชอบดินร่วนระบายน้ำดี อากาศชื้น (ถ้าอากาศแล้งจะได้ลำเล็กหน่อย) ปลูกได้ทั่วประเทศไทย จัดเป็นไผ่ที่กอไม่แน่น ไม่มีหนาม ลำต้นเกือบตันจึงแข็งมาก ลำมีความสูงประมาณ 2-5 เมตร (และอาจสูงได้เป็น 10 เมตร หากสภาพแวดล้อมเหมาะสม) ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางลำ 1-3 เซนติเมตร (อาจใหญ่ได้ถึง 7 เซนติเมตร) ความยาวปล้อง 20-30 เซนติเมตร ลำมีสีเขียว ที่ลำมีขนละเอียดสีขาวนวล เสมือนที่ข้อมีวงแหวนสีขาวคาดอยู่ ที่สำคัญอีกอย่างของไผ่เลี้ยง คือมีใบขนาดเล็ก เรียวยาวประมาณ 8-10 เซนติเมตร กว้าง 1-1.5 เซนติเมตร กาบหุ้มลำสีน้ำตาลอ่อน บาง หลุดง่าย อันนี้ก็เป็นลักษณะโดยทั่วไปของไผ่เลี้ยง นอกจากนี้ ไผ่เลี้ยงมีช่วงการออกดอกประมาณ 25-30 ปี

นับว่าสั้นมากเมื่อเทียบกับไผ่ชนิดอื่นๆ จึงหาดูดอกไผ่เลี้ยงไม่ยากเท่าไร และช่วงการออกดอกที่สั้นนี้เอง เป็นเหตุให้เกิดสายพันธุ์ไผ่เลี้ยงมากมาย เพราะว่ามีการเก็บเมล็ดไผ่เลี้ยงไปปลูกแล้วมีการคัดเลือกต้นที่ดี เพื่อมาใช้เป็นต้นพันธุ์แล้วนำไปขยายพันธุ์ด้วยวิธีการขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ สำหรับไผ่เลี้ยง แล้ววิธีแยกเหง้าจัดเป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุด หลังจากนั้นจะได้ต้นใหม่ที่เหมือนกับต้นแม่ทุกประการ ที่สำคัญอายุการออกดอกก็ถ่ายทอดมาจากต้นแม่ด้วย หรืออาจจะมาจากการขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดก็จะได้คล้ายต้นเดิม เนื่องจากไผ่ออกดอกไม่บ่อย ทำให้เกิดอัตราการผสมข้ามต้นต่ำ มีโอกาสกลายพันธุ์ได้บ้าง แต่วิธีนี้ไม่เหมาะสมเท่าไรตรงที่เมล็ดเก็บไว้ได้ไม่นานและต้องรอออกดอกจึงขยายพันธุ์ได้ ซึ่งถ้าหากแบ่งสายพันธุ์ไผ่เลี้ยงน่าจะแบ่งได้ 2 พันธุ์หลักๆ ก็คือ ไผ่เลี้ยงลำเล็ก (ที่มีมากมายหลายสายพันธุ์) และไผ่เลี้ยงลำใหญ่ (เลี้ยงบ้านหรือเลี้ยงใหญ่) โดยสายพันธุ์ไผ่เลี้ยงลำเล็ก และไผ่เลี้ยงลำใหญ่มีสายพันธุ์อะไรบ้างนั้น ผู้เขียนขอยกยอดไปอธิบายต่อในฉบับหน้าครับ

โดยในตอนที่แล้วผู้เขียนได้ติดเรื่องของการขยายพันธุ์ไผ่ด้วยวิธีการตอนกิ่ง ซึ่งผมขอเข้าเรื่องในตอนนี้ต่อเลยครับ ซึ่งการขยายพันธุ์ด้วยวิธีตอนกิ่งนี้เหมาะที่จะใช้ขยายพันธุ์กับไผ่ที่มีขนาดลำใหญ่และมีการแตกแขนงข้าง เช่น ไผ่ตง ไผ่นวลราชินี ไผ่ซางหม่น ไผ่หม่าจู และไผ่กิมซุ่ง เป็นต้น แต่ถ้าเป็นที่ไม่มีการแตกแขนง อาจจะใช้วิธีนี้ไม่ได้ เพราะไม่มีกิ่งแขนงให้ตอนนั่นเอง เนื่องจากถ้าไม่มีแขนงแสดงว่าไม่มีตาที่จะเจริญมาเป็นรากหรือกิ่งในบริเวณนั้น การตอนก็ทำได้ไม่ยาก อาจใช้เลื่อย เลื่อยบริเวณรอยต่อระหว่างลำกับแขนง เลื่อยทั้งบนและล่างให้ลึกประมาณ 1/3 ของกิ่ง (แต่อย่าเลื่อยเพลินจนกิ่งขาดนะครับ) แล้วนำกาบมะพร้าวชุ่มน้ำใส่ถุงพลาสติคมาหุ้ม ผูกเชือกเข้ากับกิ่งให้แน่น ปล่อยไว้ประมาณ 1-2 เดือน ก็จะเห็นรากเดิน เมื่อเห็นรากเดินเต็มแล้ว ก็ตัดมาชำต่อไป จะเห็นได้ว่าการตอนไผ่ไม่ใช่เรื่องยากเลยใช่มั้ยครับ บางทีแค่เอาตุ้มตอนมาหุ้มไว้เฉยๆ ก็ออกรากแล้ว บางครั้งอากาศชื้น รากก็ออกมาเอง ในกรณีที่มีรากออกมาเองสามารถตัดกิ่งแล้วนำมาชำได้เลยครับ
วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
กรุงเทพมหานคร
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 22 ฉบับที่ 465
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM