เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
วิธีการผสมเกสรอินทผลัมให้ได้ผลผลิตสูง ที่ไชยปราการ
   
ปัญหา :
 
 
จากที่นิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน เป็นนิตยสารเกษตรฉบับแรกที่ได้เคยนำเสนอเรื่องราวของอินทผลัมรับประทานผลสดรายแรกของเมืองไทย ประมาณปี 2549 ของ คุณศักดิ์ ลำจวน หรือบ้านสวนโกหลัก ที่ได้ค้นพบและผสมพันธุ์จนได้ลักษณะประจำพันธุ์ที่แน่นอน พร้อมทั้งตั้งชื่อพันธุ์ใหม่นี้ว่า KL.1 (แม่โจ้ 36) ลำต้นเล็กคือปลูกเพียง 3 ปี ก็ให้ผลผลิต ผลดกโต รสชาติกรอบหวานมัน เนื้อมาก เมล็ดเล็ก รับประทานได้ทั้งผลดิบและผลสด เก็บไว้รับประทานได้นาน ไม่ต้องนำไปแปรรูป เพียงแต่วางไว้ในอุณหภูมิห้องปกติ ผลอินทผลัมจะเปลี่ยนแป้งเป็นน้ำตาลด้วยตัวเอง หรือสามารถปลูกเป็นไม้ประดับหรือเป็นไม้มงคลได้

ตั้งแต่นั้นจนถึงบัดนี้ มีเกษตรกรให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก สั่งซื้อต้นพันธุ์อินทผลัมไปปลูกหลายจังหวัดทั่วประเทศ องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล จัดทำโครงการส่งเสริมการปลูกอินทผลัมทุกพื้นที่ ไม่จำเป็นต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศที่นำมาจำหน่ายตามห้างสรรพสินค้าทั่วไปมารับประทาน ตลอดจนประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซีย สั่งซื้อพันธุ์อินทผลัมเข้าไปปลูกเป็นจำนวนมากเช่นกัน แต่เนื่องจากการปลูกอินทผลัมนั้น จำเป็นต้องปลูกหลายต้น เพราะอินทผลัมเป็นพืชที่มีเพศผู้และเพศเมียอยู่คนละต้นกัน ต้นเพศเมียจะต้องได้รับการผสมเกสร โดยธรรมชาติจะผสมจากการถูกลมพัดเกสรตัวผู้ไปหาเกสรตัวเมีย หรือเกิดจากเกสรตัวผู้ติดไปกับขาและปีกของผึ้งไปผสมตามธรรมชาติ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องช่วยการผสมเกสรตัวเมียด้วย

ด้วยความเป็นห่วงต่อเกษตรกรที่ซื้อต้นพันธุ์อินทผลัมไปปลูกแล้วได้ผลผลิตน้อย คุณศักดิ์ ลำจวน จึงใคร่ขอแนะนำการช่วยผสมเกสรคือ เมื่อเกสรตัวผู้ออกช่อและแก่เต็มที่แล้ว ควรใช้ถุงพลาสติคครอบที่จั่นเกสรตัวผู้ทั้งหมด แล้วเขย่าให้เกสรหล่นลงในถุงพลาสติค ละอองเกสรตัวผู้จะมีสีขาวออกเหลือง ลักษณะเป็นผงคล้ายแป้งมัน จากนั้นจึงนำไปผสมกับช่อเกสรตัวเมีย หากในช่วงนั้นเกสรตัวเมียยังไม่แก่จัดหรือยังไม่ออก เราสามารถเก็บละอองเกสรตัวผู้นี้ไว้ในตู้เย็นได้นานหลายเดือน ในการผสมเกสรตัวผู้ให้กับช่อดอกตัวเมีย ทำได้โดยใช้ช้อนชาตักเกสรตัวผู้ประมาณครึ่งช้อนชา เทลงในถุงพลาสติคขนาดเล็กที่สามารถครอบจั่นของช่อดอกตัวเมียได้ จากนั้นจึงนำถุงพลาสติคเล็กที่มีละอองเกสรตัวผู้นั้น ครอบทั้งจั่นช่อดอกเพศเมีย เขย่าถุงไปมา จะทำให้ละอองเกสรเพศผู้ปลิวไปติดละอองเกสรเพศเมีย ซึ่งจะมีเมือกเหนียวที่บริเวณเกสรเพศเมีย ช่วงเวลาที่เหมาะสมต่อการช่วยผสมเกสรนี้ เวลาประมาณ 10.00 น. จากนั้นทิ้งไว้ประมาณ 7 วัน จะเกิดเป็นตุ่มเล็กๆ สีเขียว หลังจากช่วยการผสมพันธุ์แล้ว ระยะต่อไปจะเจริญเติบโตเป็นผลอินทผลัมรับประทานได้ภายใน 5-7 เดือน ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของแต่ละต้น ควรช่วยผสมเกสรตัวเมียแบบนี้ทุกๆ จั่น รับรองว่าได้ผลผลิตที่ดกจำนวนมาก แต่หากปล่อยให้ติดผลมากเกินไป จะได้ผลที่เล็ก ควรตัดแต่งผลบ้าง เพื่อจะได้ผลที่ใหญ่มากขึ้น

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ บ้านสวนโกหลัก เลขที่ 37 หมู่ที่ 1 ตำบลศรีดงเย็น อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ 50320 โทรศัพท์ (053) 457-081, (089) 855-9569 หรือ www.intapalum.com

บอกข่าวกันตรงนี้นิดหนึ่ง ระหว่าง 25-27 ธันวาคม 2552 นิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้านและนิตยสารเส้นทางเศรษฐี จัดเสวนาเกษตรสัญจรไปจังหวัดเชียงใหม่ โดยมีกำหนดการแวะที่สวนอินทผลัม ผู้สนใจร่วมเดินทาง ดูรายละเอียดในนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้านปักษ์นี้ แล้วรีบจองที่นั่งด่วน

วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
เชียงใหม่
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคเหนือ
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ปีที่ 22 ฉบับที่ 467
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM