เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
เทคนิคเลี้ยงกล้วยไม้สกุลแวนด้า
   
ปัญหา :
 
 
เกษตรกรที่คิดจะเลี้ยงกล้วยไม้ในเชิงพาณิชย์มักจะตั้งโจทย์เริ่มต้นว่าปลูกเลี้ยงยากทำให้เกิดความท้อเสียก่อน แต่ในความเป็นจริงแล้วกล้วยไม้จัดเป็นไม้ดอกที่ปลูกเลี้ยงง่ายเพียงแต่ “มีน้ำใจให้เขาเท่านั้นเอง” หรืออาจจะกล่าวง่าย ๆ คือเริ่มต้นจากใจรักแล้วค่อย ๆ เรียนรู้ไป ความหมายของน้ำใจก็คือมีการเอาใจใส่ให้ปุ๋ยให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ
   
อย่างกรณีของกล้วยไม้ฟ้ามุ่ยถ้าเป็นเกษตรกรทั่วไปจะเลี้ยงและให้ดอกเพียงปีละครั้งเท่านั้น แต่ที่สวนกันติกานต์ของคุณเกรียงศักดิ์ กันติกานต์ เกษตรกรจังหวัดพิจิตร มีการบำรุงและดูแลรักษาอย่างดีจะให้ดอกได้ถึงปีละ 3 ครั้ง ที่สวนกล้วยไม้กันติกานต์ส่วนใหญ่จะเลี้ยงกล้วยไม้ลูกผสม คุณเกรียงศักดิ์บอกว่าลักษณะของกล้วยไม้แวนด้าลูกผสมที่ดีจะต้องมีลักษณะดังนี้ “ก้านช่อจะต้องมีขนาดใหญ่และยาว กลีบดอกจะต้องแข็ง บานทนอย่างน้อย 1 เดือนขึ้นไป”
   
สำหรับการปลูกกล้วยไม้แวนด้าในเชิงพาณิชย์นั้น คุณเกรียงศักดิ์บอกว่า ชนิดของ “แสลน” หรือตาข่ายพรางแสง มีความสำคัญมาก ในแต่ละอายุของกล้วยไม้สกุลแวนด้าจะใช้แสลนที่แตกต่างกันอย่างเช่น ไม้เล็กตั้งแต่ออกจากขวดเลี้ยงจนมีอายุต้นได้ 1 ปี จะใช้แสลนสีดำพรางแสง 70% รับแสงแดดเพียง 30% สำหรับไม้ใหญ่ของกล้วยไม้สกุลแวนด้าจะใช้แสลน 60% แต่ถ้าเป็นกล้วยไม้ไทยและกล้วยไม้สกุลแคทลียาจะใช้ตาข่ายพรางแสง 50%
   
แต่เดิมที่สวนกันติกานต์จะใช้น้ำประปา แต่ต้นทุนสูงมาก ในแต่ละเดือนเฉพาะต้นทุนค่าน้ำประปาเพื่อให้กับต้นกล้วยไม้ในพื้นที่เพียง 2 ไร่เศษ ไม่ต่ำกว่า 10,000 บาทต่อเดือน โดยเฉพาะถ้าปลูกแวนด้าและม็อคคาร่าเพื่อตัดดอกขายจะใช้น้ำมาก ปัจจุบันจึงเปลี่ยนมาใช้น้ำจากแม่น้ำน่าน หลักการสำคัญของการให้น้ำของสวนกันติกานต์คือจะให้เช้า-เย็น แต่ถ้าอากาศครึ้ม ๆจะให้เพียงรอบเช้ารอบเดียว ถ้าเป็นช่วงฤดูหนาวจะให้ เช้า-เย็น ให้น้ำแบบสปริงเกอร์ ให้นาน 3 นาทีต่อ 1 รอบ
   
การให้ปุ๋ยกับกล้วยไม้สกุลแวนด้าของสวนกันติกานต์นั้นจะเน้นการฉีดพ่นปุ๋ยเกล็ดทางใบโดยเลือกสูตรปุ๋ยที่ฉีดพ่นตามหลักการทั่วไปคือ ถ้าเร่งการเจริญ เติบโตจะเลือกสูตรที่มีไนโตรเจนสูง   หรือสูตรเสมอ แต่ถ้าเร่งดอกจะเน้น ฟอสฟอรัสและถ้าเน้นสีของดอกจะเน้นโพแทสเซียมอย่างนี้เป็นต้น แต่สูตร  ปุ๋ยทางใบที่สวนกันติกานต์ใช้   ฉีดพ่นในแต่ละครั้งจะต้อง  มีอัตรารวมกันของ  ธาตุหลักไม่ต่ำกว่า 60 เช่น ฉีดพ่นปุ๋ยเกล็ดสูตร 21-21-21  มีธาตุไนโตรเจน, ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียม รวมกัน เท่ากับ 63.
วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
กรุงเทพมหานคร
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันศุกร์ ที่ 20 พฤศจิกายน 2552
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM