เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
ระบบการให้น้ำและปุ๋ยกล้วยไข่
   
ปัญหา :
 
 
คราวที่แล้วได้เล่าให้ฟังเกี่ยวกับความก้าวหน้าในการผลิตกล้วยไข่ และมีการจัดฝึกอบรมและทำเป็นคู่มือการผลิตกล้วยไข่อย่างละเอียดขึ้นมา โดยใช้ความรู้จากผลงานวิจัยที่ได้สร้างกันขึ้นมาโดยนักวิชาการที่เชี่ยวชาญแต่ละท่าน

มีเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจก็คือการให้ปุ๋ยพร้อมระบบให้น้ำในแปลงกล้วย ปกติแล้วการให้น้ำในแปลงกล้วยก็คงหนีไม่พ้นเรื่องการลากสายยางรดน้ำ หรือทำเป็นแปลงที่มีร่องและให้น้ำตามร่อง แต่ว่าวิธีการให้น้ำที่น่าจะเหมาะสมที่สุดก็ คือการให้น้ำแบบหยด หรือใช้ระบบให้น้ำฉีดฝอยใต้ทรงพุ่ม ซึ่งทั้งสองระบบนี้พัฒนาขึ้นมามากในระยะหลังนี้และใช้กันค่อนข้างกว้างขวางในสวนผลไม้ของเมืองไทย

 เมื่อผนวกเข้ากับระบบควบคุมให้น้ำตามเวลาและความต้องการของพืชแล้ว ซึ่งลงทุนเพิ่มอีกไม่กี่พันบาท ก็จะทำให้การให้น้ำมีประสิทธิภาพมากขึ้น หมายความว่า ให้น้ำตามความต้องการของพืชได้ ไม่มากหรือน้อยไป  

 ดังนั้นองค์ประกอบสำคัญของระบบที่ควรต้องมีคือเครื่องวัดความชื้นในดิน เครื่องมือชิ้นนี้มีชื่อภาษาอังกฤษว่า เทนซิโอมิเตอร์ (tensiometer) โดยมีลักษณะเป็นแท่งยาวฝังไว้ในดินตามระดับความลึกที่ต้องการวัด และอ่านค่าได้ที่หน้าปัทม์ หากดินแห้งไปก็เริ่มให้น้ำจนกระทั่งดินชื้นพอ ค่าที่อ่านได้ก็จะบอกว่าต้นไม้ได้น้ำเพียงพอแล้วจึงหยุดการให้น้ำ

 ปกติแล้วเครื่องมือวัดความชื้นในดินแบบนี้ต้องสั่งซื้อมาจากต่างประเทศ แต่ว่านักวิชาการเมืองไทยคือ รศ.ดร.อิทธิสุนทร นันทกิจ จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ก็ได้ประดิษฐ์ขึ้นมาเองโดยใช้ท่อน้ำธรรมดาที่ใช้กันทั่วไปและมาตรวัดแรงดันสุญญากาศที่หาซื้อได้ทั่วไป มาเป็นชิ้นส่วนสำคัญ ซึ่งขณะนี้มีเอกชนนำไปผลิตออกมาขายแล้วในราคาประมาณ 1,000 บาท ซึ่งถูกกว่านำเข้าจากต่างประเทศมาก

 เครื่องมือชิ้นนี้จึงมีการใช้กันแพร่หลายมากขึ้น เพราะว่าราคาพอหาซื้อได้และเป็นประโยชน์อย่างมากในการบอกว่าดินชื้นหรือแห้ง และควรให้น้ำเมื่อใดและในปริมาณมากน้อยเพียงใด

 ผลจากการให้น้ำโดยมีเครื่องมือช่วยแบบนี้ ทำให้ต้นไม้โดยเฉพาะกล้วยไข่ ซึ่งเป็นพืชที่ต้องการน้ำสม่ำเสมอ มีการเติบโตที่สมบูรณ์มากขึ้น และแน่นอนว่าต้องส่งผลไปถึงผลผลิตและคุณภาพที่ได้ด้วย อย่างยิ่งเมื่อมีการผสมผสานการให้ปุ๋ยไปพร้อมกับระบบให้น้ำดังกล่าว ก็ยิ่งทำให้คุณภาพของกล้วยไข่ที่ได้ ดียิ่งขึ้น เป็นที่ต้องการของตลาดโดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดส่งออก

 เรื่องการให้ปุ๋ยพร้อมน้ำเช่นนี้ก็คงคล้ายกับหลักการให้ปุ๋ยทั่วไป โดยขั้นแรกเลยก็ควรมีการวิเคราะห์ดินก่อนว่ามีธาตุอะไรอยู่มากแล้วและยังขาดธาตุอะไรอีก แล้วจึงพิจารณาให้ปุ๋ยตามความต้องการของต้นกล้วยไข่ ซึ่งการให้ปุ๋ยพร้อมน้ำก็มีอุปกรณ์เพิ่มเติมอีกเล็กน้อยเท่านั้น แต่ว่าส่งผลให้ต้นทุนค่าปุ๋ยลดลง เพราะการสูญเสียโดยเปล่าประโยชน์แทบไม่มี รวมทั้งไม่ต้องเปลืองแรงงานไปหว่านปุ๋ยอีกด้วย

 ผลก็คือนอกจากต้นทุนลดลงแล้ว ผลผลิตยังดีขึ้นอีกด้วยทั้งปริมาณและคุณภาพ

 หลายคนอาจคิดว่าหากจะต้องลงทุนระบบน้ำและให้ปุ๋ยพร้อมน้ำ คงต้องใช้ต้นทุนสูงมาก แต่ความจริงแล้ว ถ้ามีระบบน้ำในสวนอยู่แล้ว การเพิ่มระบบให้ปุ๋ยพร้อมน้ำเข้าไปอีก ก็ลงทุนเพิ่มไม่มาก เพราะว่าทั้งระบบนี้สามารถประกอบขึ้นเองจากท่อพีวีซี เรียกได้ว่าราคาถูกและทำขึ้นใช้เองได้ เพียงแต่ว่าต้องมีความรู้ความเข้าใจพอสมควร และการวางระบบเริ่มแรกควรต้องวางให้ดีเพื่อให้ได้น้ำและปุ๋ยสม่ำเสมอทั่วทั้งแปลง

 หากอยากทราบรายละเอียดเพิ่มเติมคงต้องปรึกษา ดร.อิทธิสุนทร โดยตรงครับ !

พีระเดช ทองอำไพ

วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
กรุงเทพมหานคร
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
หนังสือพิมพ์คม ชัด ลึก วันจันทร์ ที่ 14 ธันวาคม 2552
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM