เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
'มะรุม' ต้นไม้มหัศจรรย์
   
ปัญหา :
 
 

ฝักมะรุมจัดเป็นผักพื้นบ้านที่หารับประทานได้ง่ายและมีวางขายในช่วงต้นฤดูหนาว ในขณะที่เกษตรกรที่ปลูกมะรุมไว้ในบ้านจะได้บริโภคยอดมะรุมใบอ่อน,ช่อดอกและฝักอ่อนได้ตลอดทั้งปีโดยนำมาต้มหรือลวกให้สุกจิ้มกับน้ำพริกได้หลากหลายชนิดหรือจะใช้ยอดอ่อนและฝักมะรุมมาทำแกงส้ม มีหลายคนนำช่อดอกมะรุมไปดองเก็บไว้บริโภคกับน้ำพริก
   
ในทางพฤกษศาสตร์จัดให้ต้นมะรุมเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางที่คนไทยปลูกกันมาตั้งแต่สมัยโบราณแล้วขณะนี้มีเรื่องที่น่ายินดีที่มีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์พบว่า “มะรุม” มีคุณค่าทางโภชนา การสูงมาก ในใบมะรุมจะมีวิตามินซีมากกว่าส้มถึง 7 เท่า มีธาตุแคลเซียมมากกว่านมถึง 4 เท่า มีวิตามินเอมากกว่าแครอท 4 เท่า มีโปรตีนมากกว่านม 2 เท่าและมีธาตุโพแทสเซียมมากกว่า กล้วย 3 เท่า
   
ภญ.ผกากรอง ขวัญข้าว จากมูลนิธิ   โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จ.ปราจีนบุรี บอกว่าในใบมะรุมมีสารอยู่หลายชนิดดังที่ได้กล่าวมา ในทางการแพทย์จะช่วยใช้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวาน ใช้ควบคุมภาวะความดันโลหิตสูง ช่วยเพิ่มและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย ถ้ามีการใช้ควบคู่กับยาแผนปัจจุบันจะช่วยรักษาโรคไขข้ออักเสบ โรครูมาติซั่มและรักษาโรคตาได้เกือบทุกชนิด ภญ.ผกากรอง ย้ำว่าจะใช้ใบมะรุมเพื่อการรักษาโรคควรใช้ควบคู่กับยาแผนปัจจุบัน นอกจากนี้ยังมีการศึกษาของคณะแพทย์ศิริราชพยาบาล พบว่าสารสกัดน้ำของมะรุมน่าจะเป็นสมุนไพรที่ช่วยลดโอกาสการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้
   
ส่วนงานวิจัยในประเทศอินเดียได้ใช้แอลกอฮอล์สกัดเมล็ดของมะรุมมาให้หนูที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นข้ออักเสบ พบว่าสารสกัดมะรุมช่วยลดการอักเสบ แต่เป็นการทดลองในหนูเท่านั้น ถึงแม้ยังไม่มีงานวิจัยที่ยืนยันชัดเจนว่ามะรุมต้านความชราได้ แต่ได้มีการวิเคราะห์พบว่าในมะรุมมีสารฟลาโวนอยด์ที่สำคัญอยู่หลายตัวซึ่งมีฤทธิ์ในการต่อต้านอนุมูลอิสระ จากความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ทำให้คนญี่ปุ่นได้มีการผลิตชาใบมะรุมออกจำหน่ายและในประเทศเริ่มผลิตเป็นแคปซูลใบมะรุมจำหน่ายกันบ้างแล้ว แต่ในขณะนี้ทาง สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยายังไม่มีการอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์จากมะรุม เนื่องจากยังไม่มีการศึกษาพิษวิทยาที่อาจจะเกิดจากการบริโภคมะรุมต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ที่ผ่านมาคนไทยบริโภคมะรุมเป็นอาหาร
   
มีการวิจัยได้สรุปว่าการกินมะรุมจะมีผลต่อการลดไขมันในร่างกาย ดังนั้นหากการกินมะรุมมีผลทำให้ขับไขมันออกมาทางอุจจาระมากขึ้น นั่นก็หมายถึงไขมันที่กินเข้าไปไม่ถูกดูดซึมในร่างกาย ซึ่งก็ไม่ดีเสมอไป เพราะโดยปกติร่างกายเราต้องการไขมันในการใช้เป็นพลังงานและทำให้ร่างกายทำงานได้เป็นปกติประมาณวันละ 15-30%.

ทวีศักดิ์ ชัยเรืองยศ

วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
กรุงเทพมหานคร
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันศุกร์ ที่ 11 กันยายน 2552
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM