เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
การเลี้ยงปูม้านิ่ม
   
ปัญหา :
 
 
 

คมชัดลึก : คราวที่แล้วได้เล่าให้ฟังเกี่ยวกับปูม้านิ่มในประเทศไทย ซึ่งตอนนี้เราประสบความสำเร็จแล้วในการเลี้ยงเพื่อออกสู่ตลาด ทั้งๆ ที่การเลี้ยงปูม้านิ่มทำได้ยากกว่าการเลี้ยงปูดำนิ่มที่เราคุ้นเคยกัน

 ปูม้านิ่มก็คือปูม้าที่เพิ่งลอกคราบใหม่ๆ ซึ่งกระดองยังนิ่มอยู่ สามารถนำมาปรุงอาหารกินได้ทั้งตัว โดยไม่ต้องรำคาญเรื่องของการแกะเปลือกออกก่อน ที่บอกว่าการเลี้ยงปูม้านิ่มทำได้ยากกว่าการเลี้ยงปูดำนิ่มก็เพราะว่าเมื่อปูม้าลอกคราบแล้ว จะใช้เวลาเพียงไม่ถึงหนึ่งชั่วโมง เปลือกก็เริ่มแข็งตัวกลายเป็นปูปกติเรียบร้อยแล้ว ต่างจากปูดำซึ่งใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง การเก็บเกี่ยวปูม้านิ่มจึงมีช่วงดำเนินการได้สั้นมาก นั่นก็หมายความว่าต้องเดินมาดูทุกชั่วโมงว่าปูลอกคราบแล้วหรือยัง ดังนั้นจึงไม่สามารถเลี้ยงในบ่อขนาดใหญ่ได้

 วิธีการคร่าวๆ ในการผลิตปูม้านิ่มก็คือ ขั้นแรกต้องมีความรู้ในการคัดเลือกปูม้าใกล้ลอกคราบก่อน ขั้นตอนนี้สำคัญมาก เพราะเราต้องคัดเลือกปูที่ใกล้ลอกคราบแล้วเท่านั้น เพื่อนำมาเลี้ยงในกล่องลอยน้ำในบ่อหรืออ่างของเราในฟาร์ม หากดูไม่เป็น ก็หมายความว่าต้องเลี้ยงปูในกล่องนานเกินไป ซึ่งเสียค่าใช้จ่ายมากในการดูแล

 ปูม้าที่จะนำมาเลี้ยงให้เป็นปูนิ่มในฟาร์ม ได้มาจากการจับมาจากทะเล ซึ่งได้จากทั้งวิธีการใช้ลอบดักปู หรือใช้อวน หากมีการใช้อวน ชาวประมงอวนปูต้องให้อากาศหลังปลดปูม้าออกจากอวน เมื่อขนส่งปูมายังฟาร์ม ซึ่งปูจะมีลักษณะสมบูรณ์แข็งแรง เทียบเท่ากับปูที่ได้จากลอบปู หากปูเหล่านี้ยังไม่อยู่ในระยะใกล้ลอกคราบ ก็อาจต้องนำไปปล่อยในบ่อที่ทำเลียนแบบธรรมชาติ โดยใช้บ่อซิเมนต์ขนาดไม่ต้องใหญ่มากนัก แล้วใส่ทรายสูง 60 ซม. เกลี่ยระดับทรายลาดเอียงตามแบบชายทะเล จากนั้นจึงใส่น้ำทะเลสูงเหนือชั้นทรายประมาณ 30 ซม. ให้อากาศผ่านหัวทราย ปล่อยปูม้าในปริมาณ 8-10 ตัวต่อตารางเมตร ให้อาหารเป็นหอยแมลงภู่มีชีวิตร้อยละ 10 ของน้ำหนักปูรวม

 หลังปล่อยน้ำออกประมาณร้อยละ 50 สังเกตการเข้าหาอาหารและการหลบใต้พื้นทราย แยกปูม้าที่ไม่กินอาหารและหลบอยู่ใต้พื้นทรายในระดับตื้นที่แสดงว่าอยู่ในระยะใกล้ลอกคราบออกใส่ตะกร้าและเลี้ยงในบ่อรอลอกคราบต่อไป

 ตะกร้าที่นำมาใช้เลี้ยงปูเพื่อรอให้ลอกคราบแตกต่างจากการเลี้ยงปูดำเล็กน้อย โดยออกแบบใหม่ ชนิดที่ไม่ต้องปิดฝา แต่ทำให้สูงขึ้นเพื่อกันปูหนีลงน้ำ การที่ไม่มีฝาทำให้สะดวกในการมองและคัดปูที่ลอกคราบแล้วออกมาขาย เพราะส่วนใหญ่ปูจะลอกคราบตอนกลางคืน ทำให้สังเกตได้ยากหากมีฝาปิดอยู่

 ปูม้าที่เหมาะสมในการผลิตปูม้านิ่มในครัวเรือนควรเป็นปูม้าที่กำลังจะลอกคราบภายใน 3-5 วันเพื่อประหยัดพื้นที่ในการเลี้ยง สำหรับการผลิตในโรงเรือนควรใช้ปูม้าที่อยู่ในระยะก่อนลอกคราบไม่เกิน 7 วัน เป็นระยะที่ปูหยุดกินอาหาร มีกิจกรรมน้อยมาก จะอยู่นิ่งมากกว่าการว่ายน้ำแม้ในช่วงเวลากลางคืนซึ่งเป็นช่วงของการหากินของปู

 วิธีการแยกว่าปูใกล้ลอกคราบหรือยัง ต้องอาศัยทักษะในการสังเกต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดูสีซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงไปในบริเวณจับปิ้งและขา หากสังเกตได้เก่งก็สามารถแยกปูที่พร้อมจะลอกคราบออกจากปูทั่วไปได้เกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ นั่นก็หมายถึงว่าโอกาสทำปูม้านิ่มก็จะประสบความสำเร็จสูงตามไปด้วย เพราะไม่ต้องเสียต้นทุนในการเลี้ยงนานเกินไป

 รายละเอียดเพิ่มเติมน่าจะขอได้จาก ผศ.มยุรี จัยวัฒน์ จากคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ครับ

รศ.ดร.พีรเดช  ทองอำไพ

วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
กรุงเทพมหานคร
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
หนังสือพิมพ์คม ชัด ลึก วันจันทร์ ที่ 25 มกราคม 2553
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM