เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
กำจัดเพลี้ยแป้งสีชมพูก่อนปลูกมันสำปะหลัง
   
ปัญหา :
 
 
เพลี้ยแป้งสีชมพู มันสำปะหลังค่อนข้างจะกำจัดยากกว่าเพลี้ยแป้งธรรมดา  เพื่อยับยั้งการระบาดมิให้กระจายออกอย่างกว้างขวาง  จึงได้มีการศึกษาการใช้สารเคมีโดยการวิจัยของกลุ่มกีฏและสัตววิทยา กรมวิชาการเกษตร
   
นายสุเทพ สหายา นักกีฏวิทยาชำนาญการพิเศษ กลุ่มกีฏและสัตววิทยา ซึ่งได้ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังมาตั้งแต่ต้น กล่าวว่า กลุ่มวิจัยกีฏและสัตววิทยาก็ได้ทำศึกษาวิจัยการแช่ท่อนพันธุ์มันสำปะหลังด้วยสารเคมีก่อนปลูก โดยศึกษาการแช่ท่อนพันธุ์ทั้งในแนวตั้งและแนวนอน  กลุ่มกีฏและสัตววิทยา กรมวิชาการเกษตรได้แนะนำให้ใช้สารเคมีสำหรับแช่ท่อนพันธุ์ คือ 1. ไทอะมีโทแซม 25 เปอร์เซ็นต์ ดับเบิ้ลยู จี 4 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร  2.  อิมิดาคลอพริด 70 เปอร์เซ็นต์ ดับเบิ้ลยู จี 4  กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร 3. ไดโนทีฟูแรม 10 เปอร์เซ็นต์ ดับเบิ้ลยู พี 40 กรัมต่อน้ำ  20 ลิตร อย่างใดอย่างหนึ่งนาน 5-10 นาที หลังจากแช่แล้วนำไปปลูก ได้ทดสอบแล้ว จะสามารถป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งได้อย่างน้อยประมาณ 1 เดือน
   
นายสุเทพ แนะนำวิธีการแช่ท่อนพันธุ์มันสำปะหลังด้วยสารเคมีที่ได้ผลที่สุดคือ ตัดท่อนพันธุ์มันสำปะหลังพร้อมปลูก แล้วนำไปแช่สารเคมีที่แนะนำไปแล้วข้างต้นประมาณ 5-10 นาที สารเคมีจะถูกดูดซึมเข้าไปใน เซลล์พืชได้มากที่สุดและไม่ทำให้พืชเกิด อาการเป็นพิษ   จากการทดลองแช่ท่อนพันธุ์มันสำปะหลังในแนวนอนจะต้องใช้เวลา  15  นาที สารเคมีจึงจะซึมเข้าได้หมด  ขณะเดียวกันได้ทดลองแช่ท่อนพันธุ์ในแนวตั้งปรากฏ ว่าใช้เวลาแช่ 24 ชั่วโมง พบว่าสารเคมียัง ซึมไม่ถึงยอด ซึ่งเราจะศึกษาเพิ่มเติมต่อไป  ว่าการแช่ในแนวตั้งนานแค่ไหน สารเคมีจึงจะมีประสิทธิภาพในการกำจัดเพลี้ยแป้งได้
   
“ดังนั้นในช่วงนี้ขอให้เกษตรกรแช่ท่อนพันธุ์ที่ตัดแล้วพร้อมปลูกหรือแช่ท่อนพันธุ์ในแนวนอนไปก่อน โดยปกติแล้วเกษตรกรมักจะทำการแช่ท่อนพันธุ์มันสำปะหลังด้วยฮอร์โมนเร่งราก หรือฮอร์โมนที่มีสารอาหารต่าง ๆ ก่อนปลูกอยู่แล้ว เกษตรกรจะเพิ่มสารเคมีป้องกันเพลี้ยแป้งโดยยอมเสียเวลาแช่ไปอีกสักหน่อย ก็จะได้ประโยชน์ทั้งสองอย่าง   ซึ่งนอกจากเพลี้ยแป้งที่ติดมากับท่อนพันธุ์จะตายแล้ว เพลี้ยแป้งก็ไม่สามารถทำลายต้นมันสำปะหลังที่งอกออกมาอย่างน้อยประมาณ 1 เดือน”
   
นายสุเทพ กล่าวต่อไปว่าหลังจากที่นำท่อนพันธุ์ที่แช่สารเคมีไปปลูก เมื่อต้นมันสำปะหลังงอก   ได้ปล่อยเพลี้ยแป้งไปที่ต้นมันทุกสัปดาห์ และเฝ้าดูว่าวิธีไหนที่เพลี้ยแป้งมีชีวิตอยู่รอด เมื่อเปรียบเทียบกับต้นมันสำปะหลังที่ปลูกโดยแช่น้ำเปล่า พบว่าวิธีที่แช่ท่อนพันธุ์ด้วยสารเคมีได้ผลดีที่สุด คือหลังจากที่ปลูกไปแล้วระยะเวลาการทำลายของเพลี้ยแป้งจะช้าลง  เพลี้ยแป้งไม่สามารถบินไปได้เนื่องจากไม่มีปีก โอกาสที่จะระบาดก็คือลมพัดมา   ติดมากับคนและสัตว์เลี้ยงหรือมดพามาเท่านั้น
   
มีข้อมูลจากมูลนิธิมันสำปะหลังแห่งประเทศไทย รายงานว่าได้ทำการทดลองแช่ท่อนพันธุ์มันสำปะหลังด้วยสารไทอะมีโทแซม 4 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร โดยผสมอยู่ในอัตรา 200 ลิตร สามารถแช่ท่อนพันธุ์ปลูกได้ถึง 40 ไร่ ต้นทุนอยู่ที่ไร่ละ 5 บาท มูลนิธิได้รายงานด้วยว่า จากการทดลองปลูกไปแล้ว 6 เดือน ยังไม่พบการระบาดของเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังที่แช่ท่อนพันธุ์ด้วยสารเคมีเลย แต่ในแปลงที่ไม่ได้แช่ท่อนพันธุ์ได้มีการพ่นสารเคมีไปแล้ว 3 ครั้ง
   
อย่างไรก็ตามในระยะนี้ขอให้เกษตรกรหลีกเลี่ยงการปลูกมันสำปะหลังไปก่อน เพราะอยู่ในช่วงหน้าแล้ง และยังอยู่ในช่วงของการระบาดของเพลี้ยแป้ง การปลูกในช่วงที่เหมาะสมคือ ควรปลูกในช่วงต้นฤดูฝนประมาณเดือนเมษายน-พฤษภาคม ของฤดูปลูกปี 2553
   
สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยและพัฒนา การอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร โทร. 0-2579-5583, 0-2579-7542.
วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
กรุงเทพมหานคร
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันจันทร์ ที่ 25 มกราคม 2553
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM