เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
ใช้ไส้เดือนฝอย...กำจัดศัตรูพืช
   
ปัญหา :
 
 
การควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี เป็นการสร้างความสมดุลทางธรรมชาติที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ไม่ทำลายสุขภาพของเกษตรกร การใช้ไส้เดือนฝอยกำจัดแมลงศัตรูพืชนั้น เป็นอีกวิธีหนึ่งที่เกษตรกรหันมานิยม มีงาน วิจัยเกี่ยวกับไส้เดือนฝอย เช่น โครงการพัฒนาการผลิตไส้เดือนฝอยศัตรูแมลงใน ถังหมักระดับอุตสาหกรรม โดยมีนางวัชรี สมสุข นักกีฏวิทยา 8 สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร เป็นผู้วิจัย ได้เล่าให้ฟังว่า ชีวินทรีย์ปัจจุบันมีหลายชนิดที่ได้วิจัยพัฒนาเป็นชีวภัณฑ์มาใช้ป้องกันปราบศัตรูพืช และหนึ่งในนั้นก็คือ ไส้เดือนฝอย ถือว่าเป็นชีวินทรีย์ที่มีศักยภาพสูงในการควบคุมแมลงศัตรูพืชได้หลากหลายชนิด และมีประสิทธิภาพทำให้แมลงเป็นโรคตายได้อย่างรวดเร็วภายในเวลา 24-48 ชั่วโมง
   
จากการวิจัยพบว่า ไส้เดือนฝอยจะเจริญเติบโตในสภาพที่ความชื้น 60-80 เปอร์เซ็นต์ และได้นำไปควบคุมหนอน  กินใต้ผิวเปลือกลองกอง ลางสาดในแปลงของเกษตรกร จังหวัดจันทบุรี และได้   ข้อมูลว่า...การใช้ไส้เดือนฝอยในอัตรา 2 ล้านตัวต่อน้ำ 1 ลิตร พ่น 3-5 ลิตรต่อ ต้น สามารถทำลายหนอนได้มากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์
   
นอกจากการใช้ไส้เดือนฝอยในผลไม้แล้ว การใช้กับพืชผักชนิดอื่น ๆ ก็ได้ผลดีเช่นกัน ซึ่งประเทศไทยมีการส่งออกพืช  ผักผลไม้ไปต่างประเทศจำนวนมากและการส่งออกจะต้องมีการตรวจสอบสารเคมีตกค้างเพราะฉะนั้นการที่เกษตรกรหันมาให้ความสนใจการใช้ชีวภัณฑ์นั้นถือว่าเป็น เรื่องที่ดี โดยเฉพาะการใช้ ไส้เดือนฝอยกำจัดแมลงศัตรูพืช ซึ่งขณะนี้เกษตรกร  ให้ความสนใจอย่างมาก ทำให้กลุ่มงานไส้เดือนฝอย สำนักวิจัยและพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร ได้วิจัยและพัฒนากระบวนการผลิตไส้เดือนฝอยกำจัดแมลงศัตรูพืชให้เป็นเทคโนโลยีที่ง่ายและต้นทุนต่ำ เพื่อนำไปถ่ายทอดให้เกษตรกร และกลุ่มเกษตรกร ปัจจุบันมีกำลังการผลิตไส้เดือนฝอย 30,000 ล้านตัวต่อเดือน
   
ดร.นุชนารถ ตั้งจิตสมคิด นักวิชาการโรคพืชชำนาญการพิเศษ กลุ่มงานไส้เดือนฝอย กล่าวว่า การวิจัยและพัฒนากระบวนการผลิตไส้เดือนฝอยกำจัดแมลงศัตรูพืชได้แบ่งผลการวิจัยออกเป็น 2 ช่องทาง คือ
   
1.เทคโนโลยีการผลิตระดับเกษตรกรผลิตใช้เอง ซึ่งการพัฒนามุ่งสู่การปรับกระบวนการผลิตไส้เดือนฝอยกำจัดแมลงให้เป็นขั้นตอนการผลิตที่ง่าย ทุนต่ำเหมาะทำเพื่อให้เกษตรกรสามารถนำไปผลิต ซึ่งจะเหมาะสมกับความสามารถของเกษตรกร ซึ่งสามารถผลิตไส้เดือนฝอยได้ 10,000,000-15,000,000 ล้านตัว คิดเป็นต้นทุนการผลิต 4 บาทต่อถุง หรือเทียบอาหาร 1 ลิตร ผลิตไส้เดือนฝอยได้ประมาณ 300-500 ล้านตัว นำไปฉีดพ่นกำจัดแมลงได้ในพื้นที่ 0.5-1 ไร่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดและจำนวนของแมลงที่ระบาดในพืชแต่ละชนิด
   
2.เทคโนโลยีผลิตระดับโรงงานขนาดเล็ก การพัฒนาขยายผลการผลิตไส้เดือนฝอยในระดับโรงงาน โดยใช้เทคโนโลยีการผลิต  ในอาหารเทียมชนิดแข็งกึ่งเหลว ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ไม่ซับซ้อน สามารถให้กำลังการผลิตไม่ต่ำกว่า 40,000-60,000 ล้านตัวต่อเดือน โดยผลิตเป็นผลิตภัณฑ์บรรจุถุงได้ 8,000-12,000 ถุงต่อเดือน ใน 1  ถุง บรรจุไส้เดือนฝอย ได้จำนวน 5 ล้านตัว
   
สำหรับ ประโยชน์ที่ได้จากการใช้ไส้เดือนฝอย เกษตรกรสามารถกำจัดแมลงศัตรูพืช ประเภทหนอนใยผัก หนอนกระทู้หอม หนอนกระทู้ หนอนด้วงหมักผัก หนอนกินใต้ผิวเปลือก ไส้เดือนฝอยสามารถกำจัดแมลงศัตรูพืชได้ผลอย่างรวดเร็ว ขณะเดียวกันส่งผลให้เกษตรกรมีสุขภาพที่ดีขึ้น และประการสำคัญช่วยลดโลกร้อนได้อีกทางหนึ่งด้วย
   
“ในอนาคตจะสามารถนำมาเป็นต้นแบบของผลิตภัณฑ์ประเภทชีวภัณฑ์ที่สามารถให้เกษตรกรผลิตเพื่อใช้เองต้นทุนไม่สูง และมีความปลอดภัยสูง ซึ่งกลุ่มฯได้ดำเนินการวิจัยไส้เดือนฝอยเพื่อกำจัดปลวกนอกและในอาคารได้ผลในเชิงปฏิบัติเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ขณะนี้มีประชาชนให้ความสนใจอย่างมาก” ดร.นุชนารถ กล่าว   
   
หากเกษตรกรและผู้ใดสนใจ สามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ ดร.นุชนารถ ตั้งจิตสมคิด กลุ่มงานไส้เดือนฝอย สำนักพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร จตุจักร กรุงเทพฯ 10900 หรือที่ โทร. 0-2579-9586.

เพิ่มเติมข้อมูลได้ที่
farmdaily@dailynews.co.th

วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
กรุงเทพมหานคร
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันพุธ ที่ 10 กุมภาพันธ์ 2553
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM