เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
ความจริงของสำรอง
   
ปัญหา :
 
 

ผมเป็นบุคคลหนึ่งที่ศึกษา ต้นสำรอง (หมากจองหรือพุงทะลาย) โดยศึกษาในส่วนที่เกี่ยวกับการเกษตร (เช่นขยายพันธุ์ การออกดอก การติดผล การเจริญของดอกและผล) และแม้ว่าจะไม่ได้ศึกษาด้านสรรพคุณทางยาหรือการใช้ประโยชน์เป็นอาหาร เนื่องจากสายงานของผมเป็นสายงานด้านเกษตร แต่ก็ติดตามข่าวคราวจากงานวิจัยของหน่วยงานต่าง ๆ ที่ศึกษาสรรพคุณทางยาและการใช้ประโยชน์ด้านอาหารอยู่เสมอ ทำให้พอจะรู้เรื่องราวได้บ้างพอสมควร สิ่งที่ผมเป็นห่วงและเห็นใจผู้อยากได้ต้นสำรองไปปลูกคือ การอยากได้ต้นสำรองไปปลูกจนถึงกับยอมจ่ายเงินซื้อในราคาที่แพงมาก ทราบว่าบางเจ้าขายกันแพงถึงต้นละ 300-500 บาททีเดียว เนื่องจากผู้ซื้อคล้อยตามข้อมูลของผู้ขาย เช่นบอกว่าปลูก 3 ปีมีลูก (ต้นที่ขยายพันธุ์ด้วยการต่อยอดหรือติดตา) หรือใช้ต้นจากเมล็ดที่เพาะแล้วตัดยอดให้แตกกิ่งโดยให้ข้อมูลว่าจะเป็นสำรองต้นเตี้ยที่จะออกลูกได้เร็ว หรือกินลูกสำรองป้องกันโรค..... ....(แล้วแต่จะชวนให้เชื่อ) หรือกินลูกสำรอง แล้วลดความอ้วนได้ ฯลฯ สิ่งที่ ผมอยากกล่าวเพื่อแจ้งแก่ผู้สนใจได้ทราบ คือ เท่าที่ผมได้ศึกษาและเฝ้าติดตามเป็นดังนี้ครับ
   
ด้านสรรพคุณทางยา  เท่าที่ทราบจากรายงานที่เชื่อถือได้ ระบุว่า การรับประทานวุ้นของเมล็ดสำรองช่วยแก้อาการร้อนใน ลดไข้ แก้ไอ ขับเสมหะ แก้กระหายน้ำ ทำให้ชุ่มคอและสดชื่นขึ้นได้  วุ้นของสำรองมีฤทธิ์กระตุ้นการทำงาน  ของระบบคุ้มกันของร่างกายมนุษย์ได้ดี การบริโภคน้ำลูกสำรองอาจเป็นแนวทางที่  จะช่วยลดระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ วุ้นจากเมล็ดสำรองสามารถยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียแกรมบวก คือ Staphylococcus  aureus และ Bacillus cereus ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง หรือท้องเดินในมนุษย์ได้, การรับประทานวุ้นของสำรองโดยไม่ต้องเติมน้ำตาล เพื่อทดแทนปริมาณบางส่วนของอาหารหลัก มีส่วนช่วยลดการดูดซึมน้ำตาลและลดการสะสมไขมันได้, วุ้นของสำรองมีส่วนช่วยในการเป็นตัวระบาย จึงเป็นการลดความเสี่ยงของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ แต่การรับประทานวุ้นสำรองติดต่อกันเป็นเวลา  นาน ๆ ก็อาจทำให้สารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายถูกดูดซับและระบายออกมากด้วยเช่นเดียวกัน, การใช้ผ้าชุบน้ำวางทับบนตาที่อักเสบแล้วใช้เปลือกเมล็ดสำรองวางลงบนผ้า เปลือกเมล็ดจะพองตัวเป็นวุ้นแทรกซึมในผ้า ช่วยบรรเทาอาการตาอักเสบ 
   
ด้านการนำไปใช้เป็นอาหาร ใช้เมล็ดแห้งแช่น้ำแล้วแยกเอาเฉพาะส่วนพองน้ำซึ่งมีลักษณะคล้ายวุ้น เติมด้วยน้ำตาลหรือน้ำเชื่อมรับประทานเป็นของว่าง, ใช้วุ้นของเมล็ดทำน้ำสำรองพร้อมดื่มและสำรองผง หรือใช้ทำอาหารประเภทยำ ลาบ น้ำ พริกป่นอีสาน หรือใช้แทนสาหร่ายทำแกงจืด ทำวุ้นรังนก และยังใช้วุ้นทดแทนบางส่วนของไขมันในหมูยอ ขนมเค้กชิฟฟอนและขนมเค้กบราวนี่ ในเอกสารบางเล่มยังกล่าวไว้ด้วยว่าใช้วุ้นของสำรองทำเป็นรังนกเทียม
      
อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อมูลที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่ต้องการปลูกต้นสำรองดังนี้ครับ.......ผมปลูกต้นสำรองที่ได้จาก การต่อยอดและติดตาในแปลงปลูกประมาณ 150 ต้น (ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจันทบุรี ต.พลวง อ.เขาคิชฌกูฏ จ.จันทบุรี) ปรากฏว่า ต้นที่ออกดอกได้เร็วที่สุดสามารถออกดอกได้ในปี  ที่ 3 แต่ก็ออกดอกในจำนวนที่น้อยต้นและน้อยช่อมาก ซึ่งเมื่อดอกบานก็ร่วงทั้งหมด (ไม่ติดผล) ในปีที่ 4 ต้นส่วนใหญ่ก็ยังไม่ออกดอก แต่ส่วนใหญ่จะออกดอกในปีที่ 5-6 ซึ่งออกดอกได้ในปริมาณมาก แต่ทั้งหมดก็ร่วงหลังจากดอกบาน (ไม่ติดผล) หลายต้นออกดอกมาแล้ว 2 ปีก็ยังคงร่วงทั้งหมดหลังจากดอกบาน ซึ่งต่างจากไม้ผลบางชนิด เช่น เงาะ ส้ม ซึ่งสามารถออกดอกได้ภายในปีที่ 3 (หากไม่ปล่อยให้ต้นแคระแกร็น) และสามารถติดผลจากดอก ในปีนั้นได้เลย สาเหตุที่ต้นสำรองออกดอกมาแล้ว 2 ปีแต่ยังไม่สามารถติดผล ผมคิดว่าอาจเป็นเพราะต้นยังอยู่ในระยะปรับเปลี่ยนจากระยะเยาว์เข้าสู่ระยะเต็มวัย แต่ยังปรับเปลี่ยนได้ไม่สมบูรณ์ (แม้จะปลูกมาแล้ว 5-6 ปี) ทำให้ยังไม่สามารถที่จะติดผลได้ในปีแรก ๆ ของการออกดอก เช่นเดียวกับต้นสำรองต่อยอดอายุ 5-6 ปีของเกษตรกร (ต่างอำเภอในจังหวัดจันทบุรี) ที่ออกดอกแล้ว แต่ก็ไม่ติดผลทั้ง 2 ปีเช่นเดียวกัน ซึ่งเหตุการณ์ในช่วงปรับเปลี่ยนนี้ก็พบได้กับไม้ผลบางชนิด เช่น มะไฟและลองกอง ซึ่งในปีแรก ๆ ของการออกดอก มักพบช่อดอกที่ติดผลได้แต่มีผลแคระแกร็น จำนวนมาก โดยผลลองกองจะมีขนาดเล็ก เนื้อภายในลีบเล็ก และอาจร่วมกับอาการเนื้อเป็นสีน้ำตาล ส่วนมะไฟจะมีแต่เปลือกผลโดยไม่มีเนื้อ ซึ่งชาวสวน (จันทบุรีและตราด) เรียกอาการของทั้งมะไฟและลองกองนี้ว่า กะเทยหรือกำแพ้ง และเรียกผลลองกองนี้ว่า บัวหรือลูกบัว ส่วนผลมะไฟนี้เรียกว่า ทุยหรือแฟบ แต่ผลของทั้งมะไฟและลองกองนี้ก็สามารถติดอยู่  กับช่อจนสุกแก่ได้ ตามปกติในมะพร้าวก็พบว่าในปีแรก ๆ มักมีผลที่แสดงอาการผิดปกติปะปนอยู่มาก โดยผลอาจไม่มีน้ำ หรือมีน้ำแต่ไม่มีเนื้อ หรือมีเนื้อไม่สมบูรณ์ ซึ่งชาวสวน (จันทบุรีและตราด) เรียกว่า เดือนกิน ในทุเรียนพันธุ์หมอนทองก็พบว่าผลในปีแรกจะมีเปลือกหนาและทรงผลยาวกว่าปกติ อย่างไรก็ตาม แม้เหตุการณ์ ดังกล่าวที่เกิดขึ้นในมะไฟ  ลองกอง มะพร้าว และในทุเรียนพันธุ์หมอนทองจะเป็นที่ทราบของเกษตรกรทั่วไป แต่เหตุการณ์ดังกล่าวนี้ไม่ใช่เหตุการณ์ผิดปกติและไม่ใช่ปัญหาของเกษตรกร เนื่องจากอาการดังกล่าวจะหายไปได้เองเมื่อผ่านช่วงปีแรก ๆ ของการให้ผลนี้ไปแล้ว
   
นอกจากนี้ต้นกล้าสำรองที่เพาะจากเมล็ดแล้วตัดยอดเพื่อให้แตกกิ่งใหม่ จะ ไม่ได้ช่วยทำให้ต้นสำรองออกลูกเร็วขึ้น เพราะระยะเยาว์ของต้นจะยังคงอยู่ โดยกิ่งที่แตกใหม่ก็จะตั้งตรงทดแทนยอดเดิม ที่หายไปและกลายเป็นทรงสูงชะลูดเหมือนเดิม
   
ข้อมูลดังกล่าวนี้คงจะเป็นประ โยชน์กับผู้สนใจได้บ้างนะครับ และหากข้อมูลนี้จะไปมีผลกระทบต่อการขายต้นพันธุ์ของท่านใดเข้าบ้างก็ต้องขออภัยไว้ในโอกาสนี้ด้วย.
           
มาโนชญ์ กูลพฤกษี   
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจันทบุรี
Nod2503@hotmail.com มือถือ 08-1982-8084.

วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
จันทบุรี
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคตะวันออก
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันพุธ ที่ 10 กุมภาพันธ์ 2553
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM