เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
ปัญหา 'หนู' ทำลายผลผลิต ที่นี่มีทางออก...
   
ปัญหา :
 
 

'หนู' เป็นศัตรูสำคัญในแหล่งเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจหลายชนิด รวมถึงโรงเก็บผลผลิตทางการเกษตรทั้งยังเป็นศัตรูของฟาร์มปศุสัตว์และชุมชนต่าง ๆ ซึ่งแต่ละปีได้สร้างความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการกัดทำลายและการปนเปื้อนของเสียของหนู คิดเป็นมูลค่าไม่ต่ำกว่า 4,000 ล้านบาท นอกจากนั้นยังเป็นพาหะนำโรคติดต่อสู่คนและสัตว์เลี้ยงด้วย อาทิ กาฬโรค โรคฉี่หนู และโรคสครับไทฟัส เป็นต้น ที่ผ่านมากรมวิชาการเกษตรได้แนะนำวิธีกำจัดหนูในสวนปาล์มน้ำมันโดยใช้นกแสกซึ่งได้ผลค่อนข้างดี
   
และมีอีกหนึ่งวิธีที่เป็นทางเลือกใหม่สำหรับใช้ปราบหนูในพื้นที่การเกษตรและบ้านเรือนทั่วไป คือ การ ใช้ปรสิตโปรโตซัว Sarcocystis singaporensis ซึ่งเป็นชีววิธี ที่ได้มีการวิจัยแล้วพบว่า มีศักยภาพสูงในการกำจัดหนูและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
   
นางยุวลักษณ์ ขอประเสริฐ นักสัตววิทยาชำนาญการพิเศษ สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า กรมวิชาการเกษตรได้ดำเนินการศึกษาวิจัยต่อยอดการใช้โปรโตซัว S. singaporensis เพื่อใช้เป็นสารชีวินทรีย์กำจัดหนูโดยผลิตสปอร์โรซีสต์ของโปรโตซัวชนิดนี้ให้ได้จำนวนมาก ด้วยการเลี้ยงงูเหลือมภายในโรงเรือนและหนูติดเชื้อไปเป็นอาหารงูเหลือม ซึ่งพบว่างูเหลือมขนาดลำตัวยาวประมาณ 2.5 เมตร สามารถผลิตสปอร์โรซีสต์ได้ไม่ต่ำกว่า 1,400 ล้านสปอร์โรซีสต์ สามารถใช้กำจัดหนูได้ไม่น้อยกว่า 5,000 ตัว หรือใช้ปราบหนูในนาข้าวได้ประมาณ 300 ไร่
   
ภายหลังหนูได้รับเชื้อโปรโตซัวระยะสปอร์โรซีสต์แล้ว 10-15 วัน จะแสดงอาการป่วยและตายในที่สุดด้วยสาเหตุอาการน้ำท่วมปอดซึ่งทำให้ระบบการหายใจล้มเหลว หรืออาจทำให้ไตวายได้ ปัจจุบันกรมวิชาการ เกษตรได้นำมูลงูเหลือมที่มีเชื้อโปรโตซัว S.singaporensis มาล้างทำความสะอาดโดยการกรองแล้วปั่นตกตะกอนจาก นั้นเก็บเชื้อไว้ในสารแขวนลอยที่อุณหภูมิ ไม่ต่ำกว่า 4 องศาเซลเซียส ซึ่งเจ้าหน้าที่ จะนำเชื้อโปรโตซัวมาผลิตเป็นเหยื่อสำเร็จ รูปป้อนให้กับเกษตรกรตามความต้องการ  โดยเป็นเหยื่อแบบแป้งนุ่ม มีน้ำหนักก้อน ละ 1 กรัม และมีเชื้อโปรโตซัวบรรจุอยู่ตรง กลางจำนวน 200,000 สปอร์โรซีสต์ต่อก้อนแล้วห่อด้วยกระดาษแก้วขุ่นเพื่อช่วยรักษา คุณภาพเหยื่อ
   
สำหรับประสิทธิภาพเหยื่อโปรโตซัวสำเร็จรูปนี้ สามารถนำไปใช้ปราบหนูในพื้นที่การเกษตรได้ อาทิ นาข้าว ไร่ข้าวโพด ไร่ถั่วเหลือง ถั่วเขียว สวนปาล์มน้ำมัน ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ เช่น ฟาร์มหมู ฟาร์มไก่ อาคารบ้านเรือน และสถานที่อื่น ๆ ที่มีปัญหาเรื่องหนู เช่น ตลาดสด เป็นต้น
   
ขณะนี้มีเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันได้ขอให้กรมวิชาการเกษตรผลิตเหยื่อโปรโตซัวสำเร็จรูปกว่า 200,000 ก้อน เพื่อนำไป  ใช้กำจัดหนูในสวนปาล์มน้ำมัน  อย่างไรก็ตาม หากสนใจเกี่ยวกับเหยื่อโปรโตซัวสำเร็จรูปชนิดนี้ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มงานสัตววิทยา การเกษตร สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขา พืช กรมวิชาการเกษตร โทร.0-2579-5583 ต่อ 160, 161.

วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
กรุงเทพมหานคร
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันอังคาร ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2553
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM