เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
เลี้ยงกบ...งานสร้างเงิน ของคนลำไทร ปทุมธานี
   
ปัญหา :
 
 
การทำนาสมัยก่อน ชาวบ้านมีวิถีชีวิตแบบพึ่งพาอาศัยกัน ไม่ต้องจ้างแรงงานในการปักดำ หว่าน ไถ แตกต่างกับยุคปัจจุบันนี้ที่เป็นยุคของเทคโนโลยี เครื่องจักรกลมีความจำเป็นต่อเกษตรกรรมสมัยใหม่ แต่เก่าก่อนนั้นเวลาจะเก็บเกี่ยวข้าวหรือปักดำ หว่าน ไถ ชาวบ้านก็จะใช้วิธีลงแขก

ท่านผู้อ่านอย่าได้คิดมากไป เพราะคำว่าลงแขก ก็คือ การใช้คนจำนวนหนึ่งที่เป็นคนบ้านเดียวกัน หรือญาติพี่น้อง ที่มีความเคารพนับถือ ถ้อยทีถ้อยอาศัย ร่วมด้วยช่วยกันเก็บเกี่ยวข้าวหรือหว่านไถ เพื่อให้การเพาะปลูกเสร็จเร็วขึ้น หรือช่วยกันเก็บเกี่ยวเพื่อไม่ให้ผลผลิตเสียหาย เพื่อเป็นการประหยัดเวลาและงบประมาณ อีกอย่างเป็นการสานสัมพันธ์ในหมู่พี่น้อง เพื่อนบ้าน เพราะหลังจากเสร็จภารกิจแล้ว ช่วงเย็นก็จะมีทำกิจกรรมร่วมกันเพื่อบรรเทาความเหนื่อยล้า อาทิ รำวง รำตัด ร่วมกินข้าว ส่วนเด็กๆ ก็จะมาเล่นกับเพื่อนๆ อาทิ มอญซ่อนผ้า งูกินหาง เป็นต้น เมื่อมีการลงแขกแล้ว ก็ต้องมีการเอาแรงคืน เมื่อเราไปช่วยบ้านคนอื่นปักดำ หรือหว่านไถ เจ้าของบ้านที่เราไปช่วยก็จะส่งตัวแทนมาช่วยเราคืน นี้แหละคือรูปแบบเกษตรกรรมสมัยก่อนที่หาดูยากในปัจจุบัน พูดถึงวิถีชีวิตของเกษตรกรในอดีตแล้ว ต่อไปก็จะพูดถึงวิถีชีวิตของเกษตรกรในปัจจุบัน บางคนมีชีวิตความเป็นอยู่ดี แต่เกษตรกรบางคนนั้นดำเนินชีวิตไปตามมีตามเกิด เช่าพื้นที่ทำกินไปวันๆ พอประทังชีวิตให้อยู่รอดได้ในภาวะเศรษฐกิจยุคนี้ เหมือนกับเกษตรกรท่านนี้ที่จะนำมาเล่าสู่กันฟัง

คุณแตงอ่อน อุทิศ อายุ 55 ปี หรือ คุณแดง มีลูกชายจำนวน 2 คน คนแรกแต่งงานมีครอบครัว ส่วนอีกคนคือ คุณอาทิตย์ อุทิศ ชื่อเล่น คุณจา เปิดร้านตัดผมชายอยู่ที่คลองสิบสามเป็นอาชีพหลัก นอกจากนี้ ยังเพาะพันธุ์ปลากัดกับขายกบช่วยแม่อีกทางหนึ่ง ปัจจุบันคุณแดงอาศัยอยู่กับสามี ทำเกษตรกรรมโดยเช่าพื้นที่จำนวน 30 ไร่ แบ่งพื้นที่เป็นบ่อเลี้ยงปลาเบญจพรรณ จำนวน 2 บ่อ บ่อปลาหมอ จำนวน 1 บ่อ บริเวณรอบบ้านปลูกพืชผักสวนครัว ส่วนรายได้หลักนั้นมาจากการเลี้ยงกบกระชัง สาเหตุที่เริ่มเลี้ยงกบนั้นเป็นเพราะว่าการทำนาข้าวไม่คุ้มทุน จึงหันมาจับอาชีพนี้ เริ่มตั้งแต่ปี 2549 จนถึงปัจจุบัน

คุณแตงอ่อนเล่าว่า เริ่มแรกตนนำพ่อแม่พันธุ์กบมาจากนครนายก และนครพนม คู่ละ 150 บาท มาเลี้ยงเพื่อฟักตัวขาย และสั่งลูกอ๊อดมาตัวละ 1 บาท อายุประมาณ 1 เดือน นำมาเลี้ยงขุนขายในกรณีที่ฟักไม่ออก ส่วนอายุพ่อแม่พันธุ์ที่พร้อมสำหรับฟักก็ประมาณ 1 ปี ลูกอ๊อดฟักออกมาได้ประมาณ 20 วัน ก็สามารถนำมาลงบ่อชำได้ ส่วนอาหารที่ให้ก็จะเป็นอาหารเม็ด ส่วนอาหารเสริมเป็นโครงไก่บด ให้สัปดาห์ละครั้ง เมื่ออายุ 2 เดือนขึ้น

พ่อแม่พันธุ์จะปลดระวางเมื่ออายุ 2 ปี แต่สามารถนำมาขายได้เหมือนกบที่เลี้ยงทั่วไป

ตลอดระยะการเลี้ยงเมื่อถึงอายุ 4 เดือน ก็สามารถจำหน่ายได้ เรื่องสำคัญที่ต้องระวัง การกัดกินกัน ป้องกันและแก้ไขโดยการคัดกบที่มีขนาดเล็กออกจากกบขนาดใหญ่

การทำกระชังกบ เริ่มต้นจากการใช้หลักปักมุม 4 มุม ลงในบ่อ เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ใช้ตาข่ายขึงให้รอบเป็นรูปสี่เหลี่ยม ด้านล่างพื้นใต้ตาข่ายจะใช้โฟมรองสำหรับให้อาหารกบ และเป็นที่ให้กบขึ้นมารับแสงแดด ส่วนแผ่นโฟมที่วางจะต้องมีรูสำหรับให้น้ำไหลผ่านลงบ่อได้ เพื่อป้องกันอาหารเน่าเสีย กบที่เลี้ยงจะอยู่บนกระชังไม่ได้อยู่ในน้ำ ป้องกันแสงแดดโดยใช้ตาข่ายพรางแสงบนปากกระชัง

อาหารให้กบมี 3 ระยะ คือ ระยะ 1 เดือน ระยะ 2 เดือน ระยะ 3 เดือน อาหารที่ให้ คือ อาหารเม็ด และโครงไก่บดเพิ่มไขมัน

การจำหน่าย กบที่เลี้ยงขายกิโลกรัมละ 60 บาท ส่วนราคาที่ยี่ปั๊วรับซื้อหน้าบ่อก็เป็นอีกราคาหนึ่ง ตนจะขายเองให้ชาวบ้านแถบนี้ และพ่อค้าแม่ค้าตามร้านอาหาร ตลาดที่ยี่ปั๊วนำไปขายคือ ที่ตลาดไท

รูปแบบการเลี้ยงกบที่นำเสนอข้างตนนี้ เป็นเทคโนโลยีที่ชาวบ้านคนหนึ่งคิดขึ้นมาเอง ดูจากทีวีบ้าง ศึกษาจากเพื่อนบ้านบ้าง และท้ายสุดก็เรียนรู้ด้วยตนเอง จนสามารถยึดอาชีพนี้เลี้ยงตนและครอบครัวมาเป็นระยะเวลา 3 ปี ใช้ชีวิตแบบพอเพียง บนพื้นที่เช่าแห่งนี้มาจนปัจจุบัน

หากผู้อ่านท่านใดสนใจสามารถเดินทางไปซื้อได้ที่ถนนลำลูกกา คลองสิบสอง บ้านเลขที่ 18/1 หมู่ที่ 10 ตำบลลำไทร อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี หรือหากท่านใดอยากได้ลูกอ๊อดก็สามารถสั่งซื้อโดยตรงที่โทร. (085) 367-6101 หรืออยากขอคำแนะนำเรื่องการเลี้ยงกบ คุณแดงก็ยินดีให้คำแนะนำเท่าที่จะตอบได้ แต่คุณแดงใช้วิธีการเลี้ยงของตัวเองล้วนๆ ไม่ได้อิงหลักวิชาการแต่อย่างใด ไว้พบกันฉบับต่อไป ผู้เขียนจะได้นำเรื่องราวของฟาร์มเลี้ยงกบมานำเสนอเล่าสู่กันฟัง

วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
ปทุมธานี
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 22 ฉบับที่ 474
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM