เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
กว่าจะมาเป็นปาล์มโคลนนิ่ง (ตอนจบ) วิธีการปลูก การดูแลรักษาและการให้ผลผลิต
   
ปัญหา :
 
 
ปาล์มน้ำมัน ที่มาจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ หรือปาล์มโคลนนิ่ง (Cloning palm) ซึ่งมาจากต้นแม่พันธุ์คอมแพ็ค ที่แสดงลักษณะเด่น ผลผลิตสูง ต้นเตี้ย และทางใบสั้น หรือเป็นต้นที่ดีที่สุดในกลุ่มประชากรที่คัดเลือก ดังนั้น ระยะปลูกระหว่างต้นและระหว่างแถวจะแตกต่างกับพันธุ์ปาล์มที่ปลูกทั่วไป โดยระยะที่เหมาะสมของปาล์มโคลนนิ่ง คือ 7.5x7.5x.75 เมตร อัตรา 33 ต้น/ไร่ (200 palm/ha) ซึ่งมากกว่าปาล์มน้ำมันที่ปลูกทั่วไปถึง 11 ต้น/ไร่ (ปาล์มทั่วไป ปลูกระยะ 9x9x9 เมตร อัตรา 22 ต้น/ไร่)

ดินที่เหมาะสมสำหรับปาล์มโคลนนิ่ง ต้องเป็นดินร่วนระบายน้ำดี ความเป็นกรด-ด่าง 4-6.5 หลีกเลี่ยงการปลูกในดินทรายจัด หรือดินลูกรัง และพื้นที่ลุ่ม ที่ระบายน้ำไม่ดี กรณีต้องปลูกในที่ลุ่ม จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องขุดคู ยกร่อง หากมีน้ำขัง การเจริญเติบโตจะช้ากว่าปกติ



วิธีการปลูก

ปฏิบัติเช่นเดียวกับปาล์มทั่วไป โดยขุดหลุมขนาดกว้าง 45 เซนติเมตร ยาว 45 เซนติเมตร ลึก 50 เซนติเมตร แยกชั้นหน้าดินไว้ต่างหาก ใส่ปุ๋ยร็อกฟอสเฟตรองก้นหลุม เพื่อช่วยเร่งการแตกราก อัตรา 500 กรัม/ต้น ก่อนนำต้นกล้าไปปลูก ตุ้มดินเปียกชื้น เมื่อนำต้นกล้าลงหลุมแล้วเสร็จ ก่อนกลบให้หุ้มตาข่ายป้องกันหนู (ดังภาพ) จากนั้นกลบหลุมอัดดินรอบข้างให้พอแน่น เพื่อป้องกันต้นโยก และปักไม้ค้ำยันแนวทแยงสำหรับพื้นที่ที่มีลมแรง เมื่อปลูกเสร็จให้รดน้ำซ้ำอีกครั้ง รดน้ำทุกๆ 5 วัน และให้ปฏิบัติต่อไปจนต้นปาล์มอายุ 1-2 เดือน จึงหยุดให้น้ำ



การดูแลรักษา

หลังปลูกให้ฉีดยาป้องกันด้วงกุหลาบ โดยใช้ยากลุ่มคาร์บาริล หรือเซฟวิน 85% ฉีดพ่นในตอนเย็น และหมั่นคอยตรวจดูการทำลายเป็นระยะๆ หากพบการทำลายให้ฉีดพ่นยาทันที สำหรับการใส่ปุ๋ยจะแนะนำให้ใช้แม่ปุ๋ย เนื่องจากต้นทุนจะต่ำ และปาล์มได้ธาตุอาหารครบถ้วนตามที่ต้องการ ดังตารางปุ๋ยข้างล่าง



การจัดการแปลง

ต้องกำจัดวัชพืชรอบรัศมีทรงพุ่ม โดยใช้แรงงานถาก หรือใช้สารกำจัดวัชพืชอามีทรีน ฉีดรอบโคนต้นทุกๆ 2 เดือน โดยเฉพาะก่อนใส่ปุ๋ยบริเวณโคนต้นต้องสะอาด มิฉะนั้น วัชพืชจะแก่งแย่งปุ๋ย ทำให้ปาล์มได้รับปุ๋ยไม่เต็มที่

สำหรับระบบรากของปาล์มโคลนนิ่ง จากการติดตามแปลงปลูกของเกษตรกร ในสภาพดินร่วนทราย ก็ไม่เกิดปัญหาการเอนหรือการโค่นล้มของลำต้น ทั้งนี้ เนื่องจากปาล์มน้ำมันเป็นระบบรากฝอย ซึ่งแผ่ปกคลุมเต็มพื้นที่ ตามรัศมีของทรงพุ่มและลึกลงไปจากผิวดิน 70 เซนติเมตร



ผลผลิต

ปาล์มโคลนนิ่ง จะเริ่มแทงช่อดอกหลังจากปลูก 12-14 เดือน ส่วนใหญ่จะให้ช่อดอกตัวเมีย ซึ่งจำเป็นต้องหักช่อทิ้ง (ablation) เพื่อให้อาหารทั้งหมดเลี้ยงลำต้นให้อ้วนใหญ่ โดยหักช่อดอกทิ้งเดือนละครั้ง จนปาล์มอายุได้ 18 เดือน จึงเริ่มไว้ทะลายจริง จากนั้นอีก 5-6 เดือน สามารถเก็บเกี่ยวทะลายชุดแรก ซึ่งปาล์มโคลนนิ่งจะให้ผลผลิตเร็วกว่าปาล์มทั่วไป 6-8 เดือน

สำหรับการให้ผลผลิต ขณะนี้อยู่ในช่วงเก็บข้อมูลที่แปลงทดสอบ Clone อำเภอสวี จังหวัดชุมพร ของ บริษัท อาร์แอนด์ดี เกษตรพัฒนา จำกัด ร่วมกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร โดยปาล์มอายุ 2 ปีเศษ ให้ผลผลิตอยู่ในเกณฑ์ดี มีสัดส่วนของทะลายเพศเมีย (Sex ratio) สูง น้ำหนักทะลายปานกลาง เนื้อหนา กะลาบาง อย่างไรก็ตาม ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ ต้องเก็บข้อมูลสะสมจนกระทั่งปาล์มอายุ 5-6 ปี จึงนำมาหาค่าเฉลี่ย จากการติดตามแปลงปลูกปาล์มโคลนนิ่งของเกษตรกร อำเภอนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี ขณะนี้ ปาล์มอายุ 4 ปี ปลูกในสภาพดินร่วนปนทราย พื้นที่ประมาณ 20 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 5.1 ตัน ต่อไร่ ต่อปี ความสูงของลำต้น 0.80-1 เมตร ทางใบยาว 6 เมตร ซึ่งตรงตามลักษณะประจำพันธุ์ทุกประการ

อย่างไรก็ตาม การปลูกปาล์มโคลนนิ่งในระดับแปลงเกษตรกร ต้องพิจารณาความพร้อมอีกหลายประการ เช่น เงินทุน (เนื่องจากต้นกล้าราคาค่อนข้างสูง) ความเหมาะสมของพื้นที่ รวมถึงการจัดการแปลง ที่ต้องตรงตามโปรแกรม แต่ในอนาคตอาจจะเป็นทางเลือกของเกษตรกรได้ เนื่องจากปาล์มโคลนนิ่ง ภายใต้การจัดการแปลงที่ดี สามารถให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์ปาล์มที่ปลูกทั่วไปถึง 30 เปอร์เซ็นต์

สนใจเข้าเยี่ยมชมแปลง และติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ นักวิชาการโครงการสหกิจศึกษาทางวิชาการเกษตร คุณอรุณ โทร. (086) 293-6977 E-mail : aroon.rd@gmail.com, www.palmcompact.com



สำหรับข้อมูลการให้ผลผลิตของปาล์มโคลนนิ่ง ของ บริษัท ASD ประเทศคอสตาริกา ดังตารางต่อไปนี้



อายุปาล์ม 2.5-3.5 ปี (Early stage) ผลผลิต 3.2ตัน-4.8ตัน/ไร่/ปี

อายุปาล์ม 3.5 ปีขึ้นไป (Matur stage) ผลผลิต 5.1ตัน-6.7ตัน/ไร่/ปี
วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
กรุงเทพมหานคร
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ปีที่ 22 ฉบับที่ 472
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM