เว็บไซต์สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บทความเกี่ยวกับมาตรฐาน รวมเว็บไซต์เกี่ยวกับมาตรฐาน

  Codex alimentarius
  NFPA Standard
EPA Test Methods
in CFR
  กฎหมาย ระเบียบ
ข้อบังคับของไทย
ด้าน ว/ท

รายชื่อเอกสาร Standard ในศูนย์ประสานงาน ว/ท
  ศัพท์บัญญัติ
  ศัพท์บัญญัติชื่อแร่
  ศัพท์บัญญัติชื่อธาตุ
American National Standards Institute
ASTM International
British Standard Institute
CODEX Alimentarius Standards
European Union law
International Electrotechnical Commission
International Organization for Standardization
Standards Australia


การกำหนดเกณฑ์ทางจุลชีววิทยาสำหรับผักงอกและวิธีการสุ่มตรวจหาเชื้อซัลโมแนลล่าปนเปื้อนในเนื้อสัตว์ปีกเพื่อการบริโภค  

EU ได้ออกกฎระเบียบ การควบคุมเชื้อแบคทีเรียในสินค้าอาหาร เพื่อการบริโภคของสหภาพยุโรป จำนวน ๑ ฉบับ ได้แก่ กฎระเบียบ Commission Regulation (EU) No 209/2013 of 11 March 2013 amending Regulation (EC) No 2073/2005 as regards microbiological criteria for sprouts and the sampling rules for poultry carcases and fresh poultry meat โดยตีพิมพ์ใน EU Official Journal L 68 Volume 19 ว่าด้วยการกำหนดเกณฑ์ทางจุลชีววิทยาสำหรับผักงอก (sprouts) และวิธีการสุ่มตรวจหาเชื้อแบคทีเรียปนเปื้อนในซากสัตว์ปีก (poultry carcases) และในเนื้อสัตว์ปีกสด (fresh poultry meat) ขึ้นใหม่ โดยสรุปสาระสำคัญ ดังนี้

๑. จากวิกฤตการปนเปื้อนของเชื้อ Escherichia coli ในห่วงโซ่อาหารในสหภาพยุโรป เมื่อเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๔ ส่งผลให้หน่วยงานความปลอดภัยอาหารของสหภาพยุโรป (European Food Safety Authority : EFSA) ได้ทำการประเมินความเสี่ยงสินค้ากลุ่มเสี่ยงที่จะสามารถเกิดการปนเปื้อนเชื้อ แบคทีเรียได้ง่าย และพบว่า ผักงอกเป็นผักกลุ่มเสี่ยง โดยเฉพาะเมล็ดในช่วงกำลังงอก (during sprouting) เนื่องจากมีความชื้นและอุณหภูมิที่เหมาะสมกับการเติบโตของเชื้อซัลโมแนลล่าและเชื้อแบคทีเรียอื่นๆ รวมถึง ผักงอกเป็นผักที่พร้อมรับประทาน ไม่จำเป็นต้องนำไปปรุงสุกหรือแปรรูปก่อนการบริโภค ดังนั้น จึงมีความ จำเป็นที่จะต้องควบคุมการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียอย่างมาก จึงกำหนดให้ผู้ประกอบการต้องสุ่มตรวจตัวอย่าง สรุปโดยสังเขป ดังนี้

๑.๑ สุ่มตรวจผักงอก เพื่อค้นหา Shiga toxin producing E.coli (STEC) O157, O26, O111, O103, O145 และ O104:H4 โดยผักงอกปริมาณ ๒๕ กรัมจะต้องไม่มีเชื้อดังกล่าว (absence in 25 grams)

๑.๒ สุ่มตรวจเมล็ดพันธุ์ (seeds) ก่อนที่จะนำไปเพาะ และเมื่อตรวจเสร็จแล้วต้องนำ เมล็ดพันธุ์ที่สุ่มไว้ดังกล่าวกลับไปเพาะในวิธีเดียวกันกับเมล็ดพันธุ์อื่นๆ ที่มาจากล็อตเดียวกัน โดยภายหลัง จากนั้นจะต้องสุ่มตรวจหาเชื้อ STEC และซัลโมแนลล่าในช่วงที่มีความเสี่ยงของการปนเปื้อนมากที่สุด ทั้งนี้ทั้งนั้นจะต้องไม่ก่อน ๔๘ ชั่วโมงหลังจากที่เริ่มเพาะเมล็ด โดยกำหนดให้สุ่มตรวจอย่างน้อย ๑ ครั้งต่อ เดือน หรือถ้าหากมีแผนควบคุมการสุ่มตัวอย่างที่ชัดเจน สามารถที่จะสุ่มตรวจน้ำชลประทานที่ใช้ในการเพาะ แทนได้ แต่น้ำชลประทานปริมาณ ๒๐๐ มิลลิลิตรที่สุ่มตรวจจะต้องปลอดเชื้อดังกล่าวด้วย อย่างไรก็ดี อนุโลมให้ไม่ต้องสุ่มตรวจเมล็ดพันธุ์ หากหน่วยงานรับผิดชอบ (CA) ให้การรับรองว่า โรงงานดังกล่าวมีระบบ ควบคุมความปลอดภัยอาหารที่ลดความเสี่ยงทางจุลชีววิทยา และในช่วง ๖ เดือนติดต่อกันที่ผ่านมาผักงอก ที่ผลิตจากโรงงานดังกล่าวปฏิบัติตามเกณฑ์ความปลอดภัยอาหารที่กำหนดไว้ (รายละเอียดที่เกี่ยวข้องตาม ปรากฎในภาคผนวก)

๒. นอกเหนือจากนี้ได้กำหนดมาตรฐานของวิธีการสุ่มตรวจ (Sampling) เชื้อซัลโมแนลล่า ในเนื้อสัตว์ปีก ซึ่งเป็นการแก้ไขกฎระเบียบเดิม ซึ่งได้แก่ Regulation (EC) No 2073/2005 เพื่อเป็นการ ปฏิบัติให้ถูกต้องและสอดคล้องกับกฎระเบียบ Regulation (EC) No 852/2004 of the European Parliament and of the Council of 29 April 2004 on the hygiene of foodstuffs โดยกำหนดการ สุ่มตรวจเชื้อดังกล่าวให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น สรุปดังนี้

๒.๑ ให้โรงฆ่าสัตว์ต้องสุ่มตรวจซากสัตว์ปีกที่มีหนังตรงคอ เพื่อหาเชื้อซัลโมแนลล่า ทั้งนี้ โรงงานตัดแต่ง โรงงานแปรรูป ที่รับเนื้อสัตว์ปีกมาจากโรงฆ่าอีกทอดหนึ่ง (ที่ไม่ได้เป็นโรงงานตัดแต่งหรือแปร รูปที่เชื่อมอยู่กับโรงฆ่า) จะต้องสุ่มตรวจหาเชื้อดังกล่าวด้วย การสุ่มสามารถกระทำได้จากซากสัตว์ปีกทั้ง โครงที่มีหนังตรงคอ หรือเนื้อชิ้นที่มีหนังหรือที่ไม่มีหนัง หรือที่มีหนังติดน้อย ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงที่มี

๒.๒ กำหนดให้การสุ่มตรวจหาเชื้อซัลโมแนลล่าในเนื้อสัตว์ปีกสด นอกเหนือไปจาก ซากสัตว์ปีก จำนวน ๕ ตัวอย่าง ในปริมาณตัวอย่างละ ๒๕ กรัมเป็นอย่างน้อยจากสินค้าชุดเดียวกัน โดยส่วน ชิ้นเนื้อที่นำไปสุ่มตรวจควรจะต้องเป็นส่วนที่มีเนื้อให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ (รายละเอียดที่เกี่ยวข้องตาม ปรากฏในภาคผนวก)

๓. กฎระเบียบดังกล่าวจะมีผลตามกฎหมาย ๒๐ วันภายหลังจากที่มีการประกาศลงใน EU Official Journal (ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๖) และจะมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๖ เป็นต้นไป

สำหรับรายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าว สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ดังต่อไปนี้

http://eur-lex.europa.eu/LexUriServ/LexUriServ.do?uri=OJ:L:2013:068:0019:0023:EN:PDFโดย : สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป

...

อ่าน Fulltext



   
Keyword Search  
Browse Search
กรณีค้นชื่อวารสารให้ใช้ Browse Search
: : คำค้น : :
: : ค้นจาก : : 
: : ฐานข้อมูล : :
 
มอก.มาตรฐานบังคับ
มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.)
มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร
  มาตรฐานสินค้า
  มาตรฐานระบบ
  มาตรฐานทั่วไป
  กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับงาน
มาตรฐาน
    สินค้ากลุ่มพืช
    สินค้ากลุ่มปศุสัตว์
    สินค้ากลุ่มสัตว์น้ำ
มาตรฐานผลิตภัณฑ์ มก.ธกส.
  ประเภทอาหาร
  ประเภทไม่ใช่อาหาร
ข้อกำหนดฉลากเขียว
 


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
  
 
 
 
 
 

สถิติจาก truehit.net


   

 
Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster
This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 7:28 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุึประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร