เว็บไซต์สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บทความเกี่ยวกับมาตรฐาน รวมเว็บไซต์เกี่ยวกับมาตรฐาน

  Codex alimentarius
  NFPA Standard
EPA Test Methods
in CFR
  กฎหมาย ระเบียบ
ข้อบังคับของไทย
ด้าน ว/ท

รายชื่อเอกสาร Standard ในศูนย์ประสานงาน ว/ท
  ศัพท์บัญญัติ
  ศัพท์บัญญัติชื่อแร่
  ศัพท์บัญญัติชื่อธาตุ
American National Standards Institute
ASTM International
British Standard Institute
CODEX Alimentarius Standards
European Union law
International Electrotechnical Commission
International Organization for Standardization
Standards Australia


รัฐสภายุโรปเสนอให้เพิ่มความเข้มงวดฉลากสินค้าเนื้อสัตว์ปีกและสุกร   

จากวิกฤตโรควัวบ้า (Bovine Spongiform Encephalopathy : BSE) ที่ผ่านมา ทำให้สหภาพฯ ได้ออกกฏเรื่องการแสดงฉลากถิ่นกำเนิดของเนื้อวัวโดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2545 เมื่อเดือนธันวาคม 2556 คณะกรรมาธิการยุโรปได้เสนอกฏระเบียบใหม่เกี่ยวกับการติดฉลาก โดยเสนอว่าฉลากของเนื้อสัตว์ต้องระบุประเทศที่เลี้ยงและเชือด โดยเนื้อสุกรสามารถติดฉลากว่าเลี้ยงที่ประเทศสมาชิกฯ หากสุกรนั้นอาศัยอยู่ในสหภาพฯ อย่างน้อย 4 เดือน และอย่างน้อย 1 เดือนในกรณีของเนื้อสัตว์ปีก โดยคณะกรรมาธิการฯ ไม่ได้เสนอให้มีข้อมูลประเทศที่เกิด ซึ่งเปรียบเสมือนการผ่อนปรน โดยเฉพาะในทวีปยุโรปที่มีการเคลื่อนย้ายผ่านพรมแดนกันเป็นประจำ สถานะล่าสุด เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2557 เว็บไซต์สหภาพยุโรปได้เผยแพร่ว่า รัฐสภายุโรปไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอของคณะกรรมาธิการฯ และขอให้คณะกรรมาธิการฯ ถอนเรื่องดังกล่าวออกโดยเรียกร้องให้มีการปรับปรุงใหม่เพิ่มความเข้มงวดในฉลากแสดงแหล่งกำเนิดสินค้าเนื้อสัตว์ปีกและสุกร โดยต้องมีความชัดเจนเกี่ยวกับที่เกิด ที่เลี้ยงสัตว์นั้น และที่เชือด เช่นเดียวกับที่ได้มีกฏระเบียบในเนื้อวัวแล้ว นอกจากนี้ ยังได้เรียกร้องให้คณะกรรมาธิการฯ ยกเลิกข้อยกเว้นในการใช้กฏระเบียบดังกล่าวกับเนื้อสัตว์สับและเนื้อสัตว์ฝอย โดยมติดังกล่าวได้รับคะแนนเสียง 368 เสียงต่อ 207 และ 20 งดออกเสียง นาง Glenis Willmott สมาชิกรัฐสภาผู้ร่างมติกล่าวว่าผู้บริโภคต้องการภาพรวมห่วงโซ่อุปทานของเนื้อสัตว์ ซึ่งเป็นเหตุผลที่รัฐสภาฯ เรียกร้องให้มีฉลากแสดงข้อมูลถิ่นกำเนิด ที่เพาะเลี้ยง และโรงเชือด อีกทั้งคนจำนวนมากต้องการรู้ว่าสัตว์นั้นมาจากที่ๆ มีมาตรฐานด้านสวัสดิภาพสัตว์ที่ดี และระยะทางการขนส่ง ด้วยเหตุผลด้านศีลธรรมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งปัจจุบันสหภาพฯ มีกฏระเบียบด้านนี้สำหรับเนื้อวัวแล้ว แต่ยังไม่มีสำหรับเนื้อสุกร แกะ สัตว์ปีก และเนื้อสัตว์ประเภทอื่น อย่างไรก็ตาม นาง Willmott กล่าวยอมรับว่าประเด็นดังกล่าวถึงแม้จะมีผู้เห็นด้วย แต่ก็ยังไม่มีกฏหมายรองรับ ประเทศไทยมีการส่งออกสินค้าสัตว์ปีกมายังตลาดสหภาพฯ ในปริมาณมากโดยที่ผ่านมาไทยสามารถส่งออกมามากกว่าโควตาที่ไทยได้รับในอัตราภาษีต่ำ หากสหภาพฯ มีการผ่านกฏหมายดังกล่าว ก็จะทำให้เนื้อสัตว์ปีกทั้งหมดของไทยถูกติดฉลากแสดงประเทศแหล่งกำเนิดด้วย ดังนั้น ไทยจึงควรส่งเสริมภาพลักษณ์ด้านคุณภาพ สุขอนามัย โดยเฉพาะประเด็นด้านสวัสดิภาพสัตว์และแรงงานในสินค้าดังกล่าวเพื่อยังคงรักษาตลาดนี้และขยายตลาดได้ต่อไป เนื่องจากปัจจุบันสหภาพฯ ให้ความสำคัญในเรื่องดังกล่าวอย่างมาก สำหรับสินค้าเนื้อหมู ภายใต้ระเบียบ 2007/777 สหภาพฯ อนุญาตให้มีการนำเข้าจากประเทศที่สามได้ แต่เนื่องจากประเทศไทยไม่ได้ยื่นขอเข้าร่วมแผนการตรวจสอบสารตกค้าง (residue monitoring plan) รวมทั้งไม่มีโรงงานที่ได้รับการรับรองที่ได้รับอนุญาตในการส่งออกเนื้อหมู ทำให้สินค้าดังกล่าวไม่สามารถส่งออกมายังสหภาพฯ ได้

จากแหล่งข้อมูล : http://www2.thaieurope.net/%e0%b8%a3%e0%b8%b1%e0%b8%90%e0%b8%aa%e0%b8%a0%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%b8%e0%b9%82%e0%b8%a3%e0%b8%9b%e0%b9%80%e0%b8%aa%e0%b8%99%e0%b8%ad%e0%b9%83%e0%b8%ab%e0%b9%89%e0%b9%80%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b9%88/

...

อ่าน Fulltext



   
Keyword Search  
Browse Search
กรณีค้นชื่อวารสารให้ใช้ Browse Search
: : คำค้น : :
: : ค้นจาก : : 
: : ฐานข้อมูล : :
 
มอก.มาตรฐานบังคับ
มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.)
มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร
  มาตรฐานสินค้า
  มาตรฐานระบบ
  มาตรฐานทั่วไป
  กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับงาน
มาตรฐาน
    สินค้ากลุ่มพืช
    สินค้ากลุ่มปศุสัตว์
    สินค้ากลุ่มสัตว์น้ำ
มาตรฐานผลิตภัณฑ์ มก.ธกส.
  ประเภทอาหาร
  ประเภทไม่ใช่อาหาร
ข้อกำหนดฉลากเขียว
 


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
  
 
 
 
 
 

สถิติจาก truehit.net


   

 
Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster
This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 7:28 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุึประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร