Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

วท. ร่วมประชุมวิทย์อาเซียน  

“พิเชฐ” นำทีม วท. ร่วมประชุมวิทย์อาเซียนที่กัมพูชา ผลักดันให้ประเทศไทยมีบทบาทในการพัฒนาความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมในเวทีอาเซียน ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) เปิดเผยว่า ตนพร้อมด้วยคณะผู้บริหารของ วท. มีกำหนดเดินทางไปร่วม การประชุมคณะกรรมการอาเซียนว่าด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” ครั้งที่ 71 และ “การประชุมรัฐมนตรีอาเซียนว่าด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างไม่เป็นทางการ” ครั้งที่ 9 ระหว่างวันที่ 28 – 29 ตุลาคม 2559 ณ เมืองเสียมราช ราชอาณาจักรกัมพูชา โดยมีผู้แทนรัฐบาลจาก 10 ประเทศสมาชิกอาเซียน ประกอบด้วย บรูไน อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย เมียนมาร์ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม กัมพูชา และไทย เข้าร่วมการประชุมดังกล่าว การประชุมในครั้งนี้เป็นโอกาสอันดีที่จะผลักดันให้ประเทศไทยมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) ในเวทีอาเซียน และผลักดันกิจกรรมผ่านโครงการที่ไทยเป็นผู้ริเริ่มให้เกิดผลเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน โดยเฉพาะในปีงบประมาณ 2560 นี้ วท. ได้เตรียมตั้งงบประมาณ 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อขับเคลื่อนกิจกรรม วทน. สู่อาเซียน และผลักดันให้เกิดการลงทุนร่วมกันจากสมาชิกกลุ่มประเทศ CLMVT อันได้แก่ กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ เวียดนาม และไทย จากคู่เจรจาในภูมิภาคต่าง ๆ และจากองค์กรระหว่างประเทศ โดยเราพร้อมที่จะเป็นประตูเพื่อเชื่อมสู่อาเซียน เพื่อให้เกิดการค้าการลงทุน รวมถึงให้ทุนการศึกษาสำหรับเด็กเก่งของอาเซียนเพื่อให้มีโอกาสมาศึกษาในสาขาที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมในสถาบันอุดมศึกษา

นอกจากนี้ยังยินดีที่จะประสานงาน เพื่อรับนักวิจัยที่มีความสามารถจากประเทศในกลุ่มอาเซียนมาทำงานกับภาคอุตสาหกรรมและภาพการผลิตที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย ผ่านโครงการ “อาเซียน ทาเลนท์ โมบิลิตี้” (Asean Talent Mobility) เพื่อให้การเคลื่อนย้ายนักวิจัย และนักวิทยาศาสตร์ในกลุ่มประเทศอาเซียนและระหว่างอาเซียนกับโลกเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด โดยอาจจะมีการทำวีซ่านักวิจัยในการเคลื่อนย้ายการทำงานไปยังประเทศต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นโอกาสสำคัญที่จะทำให้การพัฒนา วทน. ของอาเซียนให้เข้มแข็งต่อไป” รมว.วท. กล่าวในที่สุด ทั้งนี้ การประชุมคณะกรรมการอาเซียนว่าด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ASEAN COST) ก่อกำเนิดขึ้นเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนความร่วมมือระหว่างประเทศอาเซียน ในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อให้มีเครือข่ายและโครงการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของทั้งภาคราชการและภาคเอกชน ตลอดจนเพื่อให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เป็นประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม และยกระดับความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในประเทศสมาชิกอาเซียน กำหนดจัดประชุมปีละ 2 ครั้ง เพื่อติดตามความก้าวหน้าการดำเนินความร่วมมือของคณะอนุกรรมการอาเซียนใน 9 คณะ คณะที่ปรึกษาด้านแผนปฏิบัติการอาเซียนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะที่ปรึกษากองทุนวิทยาศาสตร์อาเซียน การดำเนินความร่วมมือกับประเทศคู่เจรจา รวมทั้งติดตามการดำเนินงานตามมติของการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนว่าด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยประเทศสมาชิกหมุนเวียนเป็นเจ้าภาพ ที่ผ่านมามีการประชุมมาแล้ว 70 ครั้ง โดยครั้งล่าสุดจัดขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม 2558 ณ เมืองหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) Bangkokbiznews 27 ต.ค.59

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร