Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

ใช้ “สาหร่ายเขากวาง” วิเคราะห์สารทำให้คลื่นไส้ในอาหารหมักดอง  

นักวิจัย มจธ.สกัดสารสำคัญในสาหร่ายเขากวางเอาไปวิเคราะห์หาสารทำให้คลื่นไส้ อาเจียนและเวียนหัวในอาหารหมักดอง ใช้ร่วมกับสารสกัดจากถั่วเหลือง ได้สารประกอบไม่มีสี วิเคราะห์แล้วได้ผลทันที เหมาะใช้ทำชุดตรวจแบบพกพา ผศ.ดร.จิรศักดิ์ คงเกียรติขจร อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีชีวเคมี คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.)นำสาหร่ายเขากวางที่พบได้ในน่านน้ำทางภาคใต้ของไทยมาทดลอง แล้วพบสารสำคัญที่นำไปใช้วิเคราะห์สารที่มีฤทธิ์ต่อระบบประสาทในอาหารหมักดองได้ ในอาหารหมักดองจะมีสารประกอบเอมีน ซึ่งมีฤทธิ์ต่อระบบประสาทหากบริโภคในปริมาณมากอาจทำให้คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ ในต่างประเทศมีข้อกำหนดจากองค์การอนามัยโลกว่า ในอาหารหมักดองต้องมีสารประกอบเอมีนในปริมาณที่จำกัดและมีการตรวจวัดอย่างเข้มงวด แต่ในบ้านเรายังไม่เข้มงวดเรื่องนี้มากนักเพราะวิธีการที่ใช้ตรวจวัดนั้นค่อนข้างยาก ประกอบกับอาหารหมักดองเป็นอาหารที่คนไทยนิยมบริโภคเนื่องจากมีรสชาติจัดจ้าน และเก็บรักษาไว้ได้นาน” ผศ.ดร.จิรศักดิ์ระบุ ผศ.ดร.จิรศักดิ์พัฒนาวิธีวิเคราะห์หาสารประกอบเอมีนในอาหารหมักดอง โดยมุ่งพัฒนาวิธีที่ทำได้ง่าย ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย ซึ่งพบว่าในสารสาหร่ายเขากวางมี “เอนไซม์โบรโมเปอร์ออกซิเดส” และเมื่อนำไปใช้ร่วมกับ “เอนไซม์เอมีนออกซิเดส” ที่สกัดได้จากถั่วเหลืองด้วยวิธีที่เรียกว่า Enzyme Cropping Assay แล้วได้สารประกอบที่ไม่มีสีออกมา และนำไปวิเคราะห์หาสารประกอบเอมีนแล้วได้ผลทันที สารประกอบเอมีนเป็นผลพลอยได้จากกระบวนการหมักดองอาหารโดยเชื้อจุลินทรีย์ เป็นสารประกอบที่ไม่มีสี ส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายของผู้บริโภค หากเราสามารถวิเคราะห์ได้โดยง่ายก็จะสามารถบอกคุณภาพของอาหารหมักดองได้ง่ายและเร็ว ปัจจุบันการวิเคราะห์หาสารประกอบต้องใช้วิธี HPLC ซึ่งทำได้ครั้งละหนึ่งตัวอย่างเท่านั้น และต้องใช้เวลานานเป็นชั่วโมง” ผศ.ดร.จิรศักดิ์กล่าว สารประกอบที่สกัดได้จากสาหร่ายเขากวางและถั่วเหลืองสามารถใช้วิเคราะห์สารเอมีนในอาหารหมักดองได้อย่างไม่จำกัดในแต่ละวัน และสามารถทำเป็นชุดตรวจวัดแบบพกพามีเครื่องอ่านรู้ผลได้ทันที เมื่อเติมสารละลายเอนไซม์และเติมตัวอย่างอาหารหมักดองลงไป ถ้าอาหารหมักดองชนิดใดมีสารประกอบเอมีนจะเกิดสีขึ้นเป็น “สีชมพูม่วง” และหากมีปริมาณมากก็จะให้ผลเป็น "สีน้ำเงินม่วงเข้ม” ผศ.ดร.จิรศักดิ์ บอกว่าขั้นตอนและกระบวนการเพื่อตรวจวัดสารประกอบเอมีนในอาหารหมักดองนั้นอยู่ในระหว่างยื่นจดอนุสิทธิบัตร และคาดว่าจะมีการต่อยอดเป็นชุดอุปกรณ์สำหรับการตรวจวิเคราะห์สารประกอบเอมีนในอาหารหมักดอง และสารประกอบตัวอื่นๆ ต่อไปอีกในอนาคต ผู้จัดการออนไลน์ 28 ต.ค.59

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร