Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

พระอัจฉริยภาพและพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ  

เพื่อเป็นการเทอดพระเกียรติและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชบทความนี้จึงขอรวบรวมพระอัจฉริยภาพและพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ที่มีต่อปวงชนชาวไทยในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงมีความสนพระทัยในเทคโนโลยีการสื่อสารและวิชาการไฟฟ้าตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ เมื่อครั้งที่ทรงศึกษาอยู่ที่เมืองโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ทรงมีความสนพระทัยในเรื่องเกี่ยวกับการรับส่งวิทยุ โดยทรงเคยนำชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น ขดลวด คอนเดนเซอร์ และหูฟังมาต่อเป็นวงจรเครื่องรับวิทยุที่สามารถรับฟังคลื่นวิทยุในยุโรปได้ พระองค์ได้เคยเข้าศึกษาวิชาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ณ มหาวิทยาลัยโลซาน แต่ต้องเสด็จนิวัติพระนคร ในภายหลังจึงได้เสด็จกลับไปทรงศึกษาต่อทางด้านกฎหมายและรัฐศาสตร์ เพื่อเตรียมพระองค์ในการขึ้นครองราชย์ ในเดือนธันวาคม ๒๕๒๙ ม.ล.อัศนี ปราโมช ได้ซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์แมคอินทอชพลัส ซึ่งเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยที่สุดในยุคนั้นขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย พระองค์ท่านจึงทรงใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยพระองค์เองเป็นครั้งแรก พระองค์ทรงสนพระทัยในการใช้คอมพิวเตอร์ ดังพระราชดำรัสพระราชทานแก่นักศึกษามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตสงขลา ในโอกาสเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานปริญญาบัตร เมื่อวันที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๓๐) ความว่า เดี๋ยวนี้ เด็กๆ อายุ ๑๐ ขวบ เล่นคอมพิวเตอร์เป็นอย่างนี้ ข้าพเจ้าก็รู้สึกว่ามีปมด้อยขึ้นมาว่าเล่นคอมพิวเตอร์ไม่เป็น ...แล้ววันหนึ่ง ก็มีคนหนึ่ง เอาคอมพิวเตอร์มาให้บอกว่า อันนี้ เขียนดนตรี ก็เลยรับเอาไว้ ที่จริงรับเอาไว้เขาไม่ได้ให้เพราะว่าไปซื้อมาก็เงินของเราเอง เราซื้อเราก็ยังกลัว มองดูแล้วไม่รู้จะทำยังไง แต่ถึงตอนปีใหม่ ก่อนปีใหม่ นิดหนึ่ง ก็เอาคอมพิวเตอร์ขึ้นไปตั้งในห้องทำงานแล้วก็จิ้มไป เขาบอกว่าเขียนหนังสือได้ เขียนรูปได้ ก็เริ่มลองเขียนหนังสือ ก็เขียนสำหรับอวยพรปีใหม่เป็นบัตร ส.ค.ส. แล้วก็เขียนไปๆ เอ้อ... ออกมาได้ เขียนออกมาเป็นตัวได้ ก็แปลกดี” ทรงใช้คอมพิวเตอร์ในการทรงพระอักษรและบันทึกพระราชนิพนธ์ ทรงใช้คอมพิวเตอร์เก็บโน้ตเพลงและเนื้อร้อง ทรงประดิษฐ์อักขระคอมพิวเตอร์หรือฟอนต์ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ทรงมีพระวิริยะอุตสาหะในการสร้างโปรแกรมเพื่อแสดงอักษรเทวนาครีที่ยุ่งยากบนจอคอมพิวเตอร์จนสำเร็จได้ภายใน ๔ เดือน ทั้งที่ทรงมีพระราชภารกิจมากมาย ทรงเห็นว่าการสามารถแสดงอักษรเทวนาครีหรือภาษาแขกจะช่วยในการศึกษาและเข้าใจภาษานี้ และทำให้สามารถเรียนรู้พระธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนาที่ถูกบันทึกด้วยภาษานี้ได้โดยตรง ทรงสนพระทัยในการพัฒนาซอฟท์แวร์ด้วยพระองค์เอง ดังจะเห็นจากการที่พระองค์ทรงปรับปรุงโปรแกรมภาษาไทย CU Writer เพื่อสามารถใช้ทรงงานได้ตามพระประสงค์ ทรงใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการประดิษฐ์ ส.ค.ส. เพื่ออวยพรปีใหม่แก่พสกนิกร เป็นต้น พระองค์ทรงตระหนักถึงความสำคัญและการนำคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศ พระองค์ทรงส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการศึกษาวิจัยทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ รวมทั้งพัฒนาบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถทางด้านคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร ทรงมีพระราชดำริให้มีการพัฒนากำลังคนด้านคอมพิวเตอร์ และด้วยพระมหากรุณาธิคุณ มูลนิธิเพื่อการศึกษาคอมพิวเตอร์และการสื่อสารจึงได้ก่อกำเนิดขึ้นโดยการสนับสนุนด้านการเงินจากบริษัท NEC มูลนิธินี้มีจุดประสงค์เพื่อสนับสนุนทุนการศึกษาแก่ผู้ที่มีความสามารถสูงเข้าศึกษาในระดับปริญญาโทด้านคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร จนถึงปัจจุบันมีผู้ได้รับทุนจากมูลนิธิจบการศึกษาออกไปเป็นบุคลากรสำคัญทางคอมพิวเตอร์และการสื่อสารเป็นจำนวนมาก พระราชกรณียกิจที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง ได้แก่การที่ทรงพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯบริจาคทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อจัดทำโครงการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาพระไตรปิฎกและอรรถกถา ที่ช่วยให้สามารถสืบค้นข้อมูลที่เกี่ยวกับพระไตรปิฎกและพระพุทธศาสนาได้อย่างรวดเร็วและครบถ้วน ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการศึกษาพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก พระองค์ทรงเห็นความสำคัญที่จะต้องใช้ซอฟท์แวร์ในการทำงาน และความจำเป็นที่จะต้องจัดซื้อซอฟท์แวร์จากต่างประเทศมาใช้งาน จึงทรงมีพระราชดำรัสให้นำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการวางแผนจัดซื้อซอฟท์แวร์ โดยให้คำนึงถึงความเหมาะสมและความคุ้มค่าในการใช้งาน พระองค์ยังทรงแนะนำให้มีการพัฒนาและใช้ซอฟท์แวร์แบบโอเพนซอร์สเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อซอฟท์แวร์ที่มีราคาแพงและยังสามารถผลิตซอฟท์แวร์ที่เหมาะสมกับการใช้งานของคนไทยลดปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์และเป็นการสร้างงานให้กับคนไทยในการผลิตซอฟท์แวร์เพื่อใช้เองในประเทศ พระองค์ทรงริเริ่มและชี้แนะการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ เช่น เกษตรกรรม การบริหารจัดการน้ำ การศึกษา การสื่อสารและโทรคมนาคม เป็นต้น พระราชกรณียกิจของพระองค์ท่านดังที่ได้กล่าวมานี้ก่อให้เกิดประโยชน์กับประเทศชาติเป็นอเนกอนันต์ เราคนไทยจะขอสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ตลอดไป ผู้จัดการออนไลน์ 30 ต.ค.59

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร