Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

นักวิจัยไทยพัฒนาสารชีวภาพ ใช้ยับยั้งเชื้อราใน “มันสำปะหลัง”  

นักวิจัยไทยพัฒนาสารชีวภาพสำหรับยับยั้งเชื้อราซึ่งเป็นสาเหตุของโรครากเน่าหรือหัวเน่าใน “มันสำปะหลัง” ช่วยเกษตรกรตัวแลสุขภาพและสิ่งแวดล้อม โดยพร้อมจำหน่ายสารชีวภาพต้นปี '60 จากปัญหารากเน่าหรือหัวเน่าใน มันสำปะหลัง” ซึ่งเป็นหนึ่งในพืชหัวที่มีความสำคัญอันดับ5 ของโลก และยังเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของไทย รองจากข้าว ยางพาราและอ้อย ซึ่งนักวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนจากโครงการพัฒนานักวิจัยและงานวิจัยเพื่ออุตสาหกรรม (พวอ.) ภายใต้สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ได้เห็นปัญหาดังกล่าว และมองหาแนวทางแก้ไขที่ยั่งยืน แนวคิดในการใช้ชีววิธีแก้ปัญหารากเน่าในมันสำปะหลังเป็นหนึ่งในหลักการเกษตรแบบยั่งยืน โดยพบว่ามีรายงานเรื่องเชื้อปฏิปักษ์ “ซูโดโมนาส ฟลูออเรสเซนส์” (Pseudomonas fluorescens) สายพันธุ์ SP007s มีประสิทธิภาพในการกระตุ้นให้มันสำปะหลังและพืชเศรษฐกิจอื่นๆ ผลิตสารที่มีภูมิต้านทานเพื่อยับยั้งการเข้าทำลายของโรคหลายชนิด ศ.ดร.ดุสิต อธินุวัฒน์ อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และนายศตรรฆ ใจซื่อ นักศึกษาปริญญาโท ได้รับทุนจาก พวอ. เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ชีวภาพจากสารพอลิแซคคาไรด์ของเชื้อ “ซูโดโมนาส ฟลูออเรสเซนส์” สำหรับควบคุมโรครากหรือหัวเน่าและเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์ และผลิตเป็นผลิตภัณฑ์พร้อมใช้ชนิดน้ำ โดยร่วมพัฒนากับ บริษัท บ้านเกษตรรุ่งเรือง จำกัด ทั้งนี้ ทีมวิจัยได้ศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการผลิตสารพอลิแซคคาไรด์ แล้วนำไปทดสอบประสิทธิภาพในการควบคุมโรครากหรือหัวเน่า และส่งเสริมการเจริญเติบโตของมันสำปะหลัง แล้วเปรียบเทียบประสิทธิภาพของสารชีวภาพดังกล่าวกับสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อราแคปแทนและสารสังเคราะห์ที่เกษตรกรนิยมใช้ ทั้งในสภาพเรือนปลูกพืชทดลองและสภาพไร่ ผลจากการทดสอบประสิทธิภาพ พบว่าการแช่ท่อนพันธุ์ก่อนปลูกและพ่นใบมันสำปะหลังด้วยสารพอลิแซคคาไรด์ของเชื้อปฏิปักษ์ SP007s สามารถส่งเสริมการเจริญเติบโตมันสำปะหลังได้ดี นอกจากนี้ยังสามารถกระตุ้นให้มันสำปะหลังสะสมฮอร์โมนพืชและสารต่าง ๆ ในระบบภูมิต้านทานได้อย่างรวดเร็วหลังพ่นใบ ส่งผลให้มันสำปะหลังต้านทานโรคได้ดี ช่วยลดการระบาดของโรคได้ 65-77% ส่วนสภาวะที่เหมาะสมต่อการผลิตสารพอลิแซคคาไรด์ของเชื้อปฏิปักษ์ SP007s คือ เติมน้ำตาลกลูโคส 7.5 กรัมต่อลิตร ลงในอาหารเลี้ยงเชื้อ โดยทีมวิจัยพบว่าสารพอลิแซคคาไรด์ที่ความเข้มข้น 200-1,000 ppm มีประสิทธิภาพในการกระตุ้นให้มันสำปะหลังสะสมฮอร์โมนพืชและสารต่างๆ ในระบบภูมิต้านทานสำหรับใช้ยับยั้งการเข้าทำลายของเชื้อโรคหลายชนิด ทั้งนี้ มีความเป็นไปได้ในการใช้สารพอลิแซคคาไรด์ร่วมในระบบการผลิตมันสำปะหลัง เพื่อลดการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อราที่เกษตรกรนิยมใช้และลดการนำเข้าจากต่างประเทศ โดยผลิตภัณฑ์ชีวภาพดังกล่าวจะเข้าทำลายของเชื้อราที่เป็นสาเหตุโรครากหรือหัวเน่า อันเป็นโรคสำคัญและมีผลกระทบต่อการผลิตมันสำปะหลังของประเทศไทยในวงกว้าง ซึ่งคณะทีมวิจัยและผู้ประกอบการอยู่ในระหว่างการพัฒนาสูตรทางการค้าและคาดว่าจะวางจำหน่ายได้ในต้นปี 2560 นอกจากนี้ยังมีความคาดหวังว่าจะเป็นการช่วยเกษตรกรดูแลทั้งสุขภาพและสิ่งแวดล้อมด้วย ผู้จัดการออนไลน์ 31 ต.ค.59

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร