Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

ชม “กระจก” ชิ้นส่วนสำคัญของ “กล้องเจมส์ เวบบ์” ทายาท “กล้องฮับเบิล”  

ชม “กระจก” รูปรังผึ้ง ชิ้นส่วนสำคัญที่สุดของ “กล้องเจมส์ เวบบ์” ซึ่งประกอบเป็นรูปเป็นร่างแล้ว โดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศรุ่นใหม่ของนาซานี้จะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์มองย้อนกลับไปในยุคกำเนิดเอกภพเมื่อ 1.35 หมื่นล้านปีได้ละเอียดขึ้น กระจกหลักของกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์เวบบ์ (James Webb Space Telescope) ประกอบเป็นรูปร่างสำเร็จด้วยกระจกหกเหลี่ยม 18 บานประกบกัน ภายในห้องคลีนรูมของศูนย์การบินอวกาศก็อดดาร์ด (Goddard Space Flight Center) ในกรีนเบลท์ แมรีแลนด์ ขององค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ (นาซา เมื่อประกอบเป็นกล้องโทรทรรศน์ที่เสร็จสมบูรณ์กระจกหลักนี้จะช่วยนักวิทยาศาสตร์ไขปริศนาเกี่ยวกับจักรวาล โดยกระจกจะรวบรวมแสงให้กล้องโทรทรรศน์ตามความต้องการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อความเข้าใจที่ดีขึ้นในระบบสุริยะและอวกาศที่ไกลออกไป ทั้งนี้ นาซาระบุว่านักวิทยาศาสตร์จะใช้กระจกเหล่านี้และอุปกรณ์สังเกตแสงอินฟราเรด ส่องกลับไปในอดีตเมื่อ 1.35 หมื่นล้านปีก่อน เพื่อสังเกตดาวดวงแรกๆ และกาแล็กซีกลุ่มแรกๆ ที่ก่อตัวขึ้นจากความมืดในเอกภพยุคต้นๆ ด้วยความไวของอุปกรณ์อินฟราเรดของกล้องเจมส์เวบบ์แบบไม่เคยมีมาก่อน จะช่วยให้นักดาราศาสตร์เปรียบเทียบกาแล็กซีที่เก่าแก่ที่สุดและมีแสงจางที่สุดกับกาแล็กซีก้นหอย (spirals) และกาแล็กซีวงรี (ellipticals) ซึ่งจะช่วยให้เราเข้าใจว่ากาแล็กซีมารวมตัวกันเมื่อกว่าหลายพันล้านปีก่อนได้อย่างไร นอกจากนี้ กล้องเจมส์เวบบ์ยังสามารถส่องไปถึงด้านหลังเมฆฝุ่นอวกาศเพื่อหาว่าที่ใดมีดาวฤกษ์และระบบดาวเคราะห์ก่อตัว นอกจากนี้จะยังช่วยเผยข้อมูลเกี่ยวกับชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ และอาจจะรวมถึงการค้นหาสัญญาณของโครงสร้างกำเนิดชีวิตที่ใดสักแห่งในเอกภพ สำหรับกระจกของกล้องเจมส์เวบบ์นั้นไม่ได้ผลิตจากแก้ว เพราะแก้วขยายและหดตัวง่าย แต่ใช้โลหะเบอรีลเลียม (beryllium) ที่ไม่สึกกร่อน เบาและทรงรูปร่างได้ดีแทน และสะท้อนแสงได้เกือบ 100% แม้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิต่ำถึง 50 เคลวิน หรือ -223.15 องศาเซลเซียส ทั้งนี้ ช่างเทคนิคต้องวัดรูปร่างของกระจกด้วยเครื่องวัดการแทรกสอดหรือเครื่องอินเตอร์เฟอโรมิเตอร์(interferometer) ซึ่งวัดความยาวด้วยแสงเลเซอร์ เพื่อเลี่ยงการสัมผัสทางกายภาพที่มีผลอาจทำให้เกิดรอยขูดได้ เนื่องจากกระจกต้องรับแสงที่มีความยาวน้อยกว่า 1 ใน 1,000 ของมิลลิเมตร ดังนั้น รูปร่างและการจัดเรียงของกระจกต้องแม่นยำอย่างมากเพื่อให้ทำงานได้อย่างถูกต้อง และก่อนการวัดรูปทรงของกระจกนั้นฝ่ายเทคนิคยังต้องทดสอบสภาพอันหฤโหดเพื่อจำลองสภาพหลังการส่งกล้องโทรทรรศน์ไปพร้อมจรวดว่ายังคงรูปทรงได้หรือไม่ด้วย กล้องโทรทรรศน์เจมส์เวบบ์มีกำหนดส่งขึ้นสู่อวกาศในเดือน ต.ค.2018 และจะปฏิบัติหน้าที่แทนกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล (Hubble Space Telescope ) กล้องโทรทรรศน์ที่บันทึกภาพด้วยแสงที่ตามองเห็นเป็นหลัก และกล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์ (Spitzer Space Telescope) ที่บันทึกภาพด้วยแสงอินฟราเรดเป็นหลัก ผู้จัดการออนไลน์ 8 พ.ย.59

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร