Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

กรมวิชาการเกษตร เปิดตัวเลขไทยนำเข้ายาฆ่าหญ้า-แมลง กว่า 9 หมื่นตัน/ปี   

เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช เสนอยกเลิก-จำกัดการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่มีอันตรายร้ายแรง 3 ชนิด ได้แก่  พาราควอต, ไกลโฟเสท และ คลอร์โพริฟอส ด้านนักวิชาการกรมควบคุมมลพิษ ชี้ปีหน้า เวทีโลกกำลังพิจารณา พาราควอต ว่าจะอยู่ในอนุสัญญารอตเตอร์ดัมหรือไม่ วันที่ 8 พฤศจิกายน เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thai-PAN) จัดการประชุมวิชาการเพื่อเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ปี 2559  ณ ศูนย์ประชุม สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ กรุงเทพฯ ภายในงานมีเวทีเสวนา ข้อเสนอยกเลิกและกำจัดการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่มีอันตรายร้ายแรง 3 ชนิด ได้แก่ ยกเลิก พาราควอต จำกัดการใช้ ไกลโฟเสท พื้นที่ต้นน้ำและพื้นที่สาธารณะโดยทันที และจำกัดการใช้ คลอร์โพริฟอสในพืชอาหารทุกประเภท  ผศ.ดร.นพ.ปัตพงศ์ เกษสมบูรณ์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และประธานคณะทำงานศึกษาสารเคมีกำจัดศัตรพืช กล่าวถึง ข้อเสนอยกเลิกและจำกัดการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่มีอันตรายร้ายแรงนั้น มีการหยิบขึ้นมาพูดคุยนานหลายปีแล้ว ซึ่งก็คืบหน้าไปหลายเรื่อง โดยการขับเคลื่อนงานที่ผ่านมา ไม่ได้ห่วงใยเฉพาะสุขภาพของผู้ใหญ่เท่านั้น แต่เราทำเพื่อคนรุ่นต่อไปด้วย ปีนี้ สิ่งที่เราให้ความสำคัญ คือ สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่มีการใช้อยู่จำนวนมาก มีผลกระทบต่อสุขภาพมาก 3 ชนิด คือ ไกลโฟเสท พาราควอต คลอร์โพริฟอส เราพบว่า มีทั้งนำเข้ามาก ใช้มาก และสร้างผลกระทบสูง หมายความว่า เราต้องถกกันแล้วว่า สังคมไทยต้องจัดการสิ่งเหล่านี้อย่างจริงจังเสียที ประธานคณะทำงานศึกษาสารเคมีกำจัดศัตรูพืช กล่าวถึงสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่มีผลกระทบต่อเด็ก ซึ่งชี้ว่า เราควรทุ่มเทพลังให้ความสนใจควบคุมการใช้สารเคมีเหล่านี้อย่างจริงจัง "ปัญหาที่เกิดกับเด็กมีหลากหลายรูปแบบมาก มีผลต่อพัฒนาการของเด็ก สติปัญญาของเด็ก และความพิการแต่กำเนิด ในประเทศไทย มีสถิติรายงานว่า เด็กไทย 100 คนเกิดมา พบมีความพิการถึง 8 คน หรือ 8% ขณะที่สหภาพยุโรป เด็ก 100 คนเกิดมา พบมีความพิการ 2 คน หรือ 2% ผศ.ดร.นพ.ปัตพงศ์ กล่าว และเชื่อว่า หากเก็บสถิติดีๆ ทั้งไทยและยุโรป ตัวเลขจะพบมากกว่านี้แน่นอน และอาจมีความพิการมากมายของเด็กที่เราอาจนึกไม่ถึง เช่น รูท่อปัสสวะอุดตัน ออทิสติกที่มีมากขึ้น ซึ่งการศึกษาของต่างประเทศ ระบุด้วยว่า หากปล่อยไปแบบนี้ เด็ก 1 ใน 2 คนที่เกิดมา จะเป็นออทิสติก ผศ.ดร.นพ.ปัตพงศ์ กล่าวถึงความพิการแต่กำเนิดมีให้เห็นมากมาย สาเหตุหนีไม่พ้นสารเคมี อีกทั้งมีงานวิจัยที่รวมรวบและถูกตีพิมพ์ไว้ในระดับนานาชาติก็สามารถยืนยันได้ เมืองไทยกับการใช้สารเคมี เมื่อเจาะเลือดจากสายสะดือเด็ก พบเจอสารเคมีในเด็กยังไม่ทันได้กินนมแม่เลย ทั้งสารเคมีก่อมะเร็ง สารเคมีกระทบต่อระบบประสาท ต่อมไร้ท่อ ทำให้พิการแต่กำเนิด ในสหรัฐฯ พบความพิการรูท่อปัสสวะชนิดนี้ถึง 200% แม้เราอาจได้ยินว่า ไวรัสซิก้าทำให้เด็กสมองเล็ก ผมว่า ไม่จริง เป็นปัจจัยเล็กๆ ปัจจัยใหญ่คือสารเคมี ประธานคณะทำงานศึกษาสารเคมีกำจัดศูตรพืช กล่าวด้วยว่า องค์การอนามัยโลก รายงานในเว็บไซต์ สาเหตุเด็กสมองเล็ก มีหลายปัจจัยไม่ใช่เฉพาะไวรัสซิก้า ไฮไลท์คือสารเคมี นอกจากนี้สารเคมียังทำให้เกิดการเป็นหมัน ช่วงหลังเราจึงเห็นเด็กเกิดใหม่น้อยลง และมีเกิดมามีสภาพไม่สมบูรณ์ ทั้งนี้ ผศ.ดร.นพ.ปัตพงศ์ กล่าวถึงผลสำรวจไอคิวเด็กไทยปี 2559 พบว่า เด็กประถมมีไอคิวต่ำกว่าปกติ ถึง 35 จังหวัด หรือคิดเป็น 45% ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของแคนนา ที่พบว่า เด็กไอคิวลด 5 คะแนน จะมีผลทำให้สังคมสูญเสียทางเศรษฐกิจเป็นมูลค่าสูงถึงปีละ 3 หมื่นล้านเหรียญแคนาดา ฉะนั้นผลกระทบของสารเคมี ซึมลึก กว้างไกล และยาวนาน ทั้งนี้ยังมีงานวิจัยของนอร์เวย์ มีการวิจัยและติดตามหญิงตั้งครรภ์กว่า 3 หมื่นคน พบว่า หญิงตั้งครรภ์ที่บริโภคอาหารออร์แกนิก อาหารปลอดสาร ลูกเกิดมาพิการด้วยภาวะรูท่องปัสสวะเปิดต่ำ (Hypospadias) น้อยกว่า หญิงตั้งครรภ์อีกกลุ่มหนึ่ง หรือเท่ากับ 2.3 เท่า ขณะที่ นายศรัณย์ วัธนธาดา กรมวิชาการเกษตรกล่าวถึงสารเคมี 3 ประเภทพาราควอต ไกลโฟเสท (สารเคมีกำจัดวัชพืช) และคลอร์โพริฟอส (ยาฆ่าแมลง) เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 อยู่ภายใต้พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535 ผู้นำเข้าหรือผู้ผลิตต้องมาขอขึ้นทะเบียน จะขายหรือส่งออกต้องขออนุญาต การขึ้นทะเบียน กรมวิชาการจะดูประสิทธิภาพการใช้ ดูเรื่องความปลอดภัย ความเป็นพิษเฉียบพลัน ทางปาก ผิวหนัง และพิษระยะยาว พิษกับสิ่งแวดล้อม ข้อมูลทั้งหมดจะประกอบการขึ้นทะเบียน ก่อนออกฉลาก นายศรัณย์ กล่าวอีกว่า ปีๆหนึ่งมีปริมาณการนำเข้าวัตถุอันตราย 1.5 แสนตัน หรือ 150 ล้านลิตร มูลค่ากว่า 2 หมื่นล้านบาท แต่รู้หรือไม่ "ไกลโฟเสท" มีการนำเข้าถึง 6 หมื่นตันหรือ 60 ล้านลิตร "พาราควอต" 3 หมื่นต้น หรือ 30 ล้านลิตร และ "คลอร์โพริฟอส" 2 พันต้น หรือ  2 ล้านลิตร ซึ่งรวมแล้วเกินครึ่งของการนำเข้าวัตถุอันตรายทั้งหมด การใช้สารไกลโฟเสท ฉีดไปสีเขียวตายหมด และดูซึมเข้าไปในต้นไม้ ส่วนพาราควอต อยู่ที่ผิว ไม่ดูดซึมไปที่ต้นไม้ และพบว่า ไกลโฟเสท พาราควอต ส่วนใหญ่ใช้ในสวนปาล์มน้ำมัน ยางพารา ยูคาลิปตัส  ส่วนคลอร์โพริฟอส ใช้กำจัดแมลง หนอน ผีเสื้อ สำหรับข้อเรียกร้องให้จำกัดการใช้คลอร์โพริฟอส ในพืชอาหารทุกประเภทนั้น นายศรัณย์ กล่าวว่า มีขึ้นทะเบียนใช้กับพืชอาหาร ในพริก และมะเขือเทศ ใช้ก่อนเก็บเกี่ยวประมาณ 7 วัน ซึ่งกรมวิชาการเกษตรมีหลักเกณฑ์การจำกัดการใช้และห้ามใช้ หากพบว่า มีค่าความเป็นพิษสูง หรือมีสารตกค้าง ซึ่งจะนำไปประกอบการพิจารณาห้ามใช้และจำกัดการใช้ต่อไป ส่วนนายมโนรัตน์ ฤทธิ์เต็ม กรมควบคุมมลพิษ กล่าวถึงความร่วมมือระหว่างประเทศ อนุสัญญารอตเตอร์ดัมฯ จะมีคณะทำงานพิจารณาสารเคมีที่มีใช้ในโลก ทางด้านการเกษตรชนิดใดอันตรายร้ายแรง รัฐภาคีจะมาพิจารณาร่วมกัน หากพบมาสารเคมีใดมีปัญหาจะนำสู่รัฐภาคี ที่มีการประชุมทุกๆ 2 ปี โดยเฉพาะ พาราควอต หรือกรัมม๊อกโซน มีการนำเข้าพิจารณาในระดับเวทีโลกตั้งแต่ปี 2510 เนื่องจากประเทศบูร์กินาฟาโซ มีปัญหาเรื่องของการใช้ มีผลต่อสุขภาพอนามัยและสิ่งแวดล้อม จึงเสนอพาราควอต เป็นสารเคมีอยู่ภายใต้อนุสัญญารอตเตอร์ดัมฯ คือการที่ประเทศใดส่งสารเคมีไปประเทศนั้น ต้องได้รับการยินยอมหรือตอบรับ ซึ่งประเทศบูร์กินาฟาโซมีการเสนอแล้ว แต่รัฐภาคีอนุสัญญาฯ ยังไม่เห็นชอบ โดยประเทศที่คัดค้านเช่น อินเดีย อินโดนีเซีย และแอฟริกา เนื่องจากยังมีการใช้ประโยชน์อยู่ รวมถึงประเทศไทย ลาว กัมพูชาด้วย นายมโนรัตน์ กล่าวอีกว่า ประเทศไทยในฐานะรัฐภาคีจะต้องตื่นตัวรับรู้ ทุกหน่วยงานต้องสร้างความตระหนักและให้ความรู้แก่เกษตรกร เวทีโลกเป็นฉากหนึ่งที่ประเทศไทยต้องเข้าไปมีส่วนร่วม อีกทั้งบางประเทศระมัดระวังการใช้สารเคมี ฉะนั้นไทยต้องให้ความสำคัญได้แล้ว สารเคมีทางการเกษตรในบ้านเรามีการกำหนดมาตรฐานสิ่งแวดล้อมไว้บ้าง แต่ยังไม่ครอบคลุม สารเคมีกลุ่มใหม่ๆ ซึ่งกำลังทบทวนข้อมูล กำหนดมาตรฐาน โดยเฉพาะคลอร์โพริฟอส สารเคมีที่มีปัญหาความเป็นพิษเป็นภัย นายมโนรัตน์ กล่าวด้วยว่า ปี 2560 เวทีโลกกำลังพิจารณา พาราควอตว่าจะอยู่ในอนุสัญญารอตเตอร์ดัมหรือไม่ ปีหน้าสารเคมีตัวนี้จะเข้าอีกครั้งหลังจากไม่ผ่านการพิจารณาเมื่อ 2 ปีที่แล้ว isranews 9 พ.ย.59

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร