Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

สุดเจ๋ง-แม่นยำ! หุ่นยนต์ไฮเทคช่วยผ่าตัดกระดูกสันหลัง-สมอง แผลเล็กฟื้นตัวเร็ว  

มูลนิธิรามาธิบดีฯ เปิดตัว “หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดประสาทศัลยศาสตร์” เครื่องแรกในไทย เสริมประสิทธิภาพการผ่ากระดูกสันหลังและสมองอย่างแม่นยำ ช่วยผู้ป่วยยากไร้เข้าถึงเทคโนโลยีขั้นสูงอย่างปลอดภัย ในปัจจุบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยเฉพาะด้านการแพทย์และวิศวกรรมศาสตร์มีความก้าวหน้าไปอย่างมาก อีกทั้งเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในบทบาทของสหวิทยาการสำหรับการแก้ปัญหาทางการแพทย์ที่ซับซ้อน ตอบโจทย์ความต้องการด้านการดูแลรักษาสุขภาพ ช่วยผู้ป่วยคนไทยเข้าถึงเทคโนโลยีขั้นสูงอย่างปลอดภัย ทำให้อายุของประชากรในโลกยืนยาวขึ้น มูลนิธิรามาธิบดี ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งมีภารกิจสำคัญในการสนับสนุนการทำงานของคณะแพทยศาสตร์ฯ มากว่า 50 ปีแล้ว เล็งเห็นความสำคัญของ การจัดหาเครื่องมือแพทย์อันทันสมัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาผู้ป่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการผ่าตัดด้านประสาทศัลยศาสตร์ ที่ต้องอาศัยความละเอียด รอบคอบ และความแม่นยำของประสาทศัลยแพทย์เป็นอย่างมาก เดิมทีการผ่าตัดนั้นมีความเสี่ยงในการผิดพลาดสูงถึง 10-40 เปอร์เซ็นต์ จนกระทั่งปัจจุบันมีการพัฒนาด้านการวิจัยเกี่ยวกับเทคโนโลยีหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดทางการแพทย์อย่างกว้างขวาง และรุดหน้าไปมาก โดยเฉพาะในต่างประเทศ ทั้งในยุโรป อเมริกา และประเทศในเอเชีย ซึ่งสามารถเพิ่มความแม่นยำให้ประสาทศัลยแพทย์ ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับความปลอดภัยอย่างสูงสุด ในการผ่าตัดที่กระดูกสันหลังและสมอง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นาวาโท นายแพทย์สรยุทธ ชำนาญเวช ประสาทศัลยแพทย์ รองหัวหน้าภาควิชาภาควิชาประสาทศัลยศาสตร์ สาขาวิชาประสาทศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้รับผิดชอบ โครงการหุ่นยนตร์ช่วยผ่าตัดประสาทศัลยศาสตร์ เผยถึงข้อมูลเกี่ยวกับโครงการดังกล่าวว่า หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดประสาทศัลยศาสตร์ที่โรงพยาบาลรามาธิบดีนำเข้ามา มีชื่อเรียกว่า เรเนสซองซ์ (RENAISSANCE) ซึ่งได้รับการยอมรับจาก US FDA ตั้งแต่ปี 2550 โดยหุ่นยนต์ เรเนสซองซ์ เดินทางถึงโรงพยาบาลรามาธิบดีแล้วเมื่อปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา นับว่าเป็นโรงพยาบาลแห่งแรกในประเทศไทย จาก 123 เครื่องทั่วโลก ทั้งนี้ ในประเทศไทยมีศักยภาพในการพัฒนาเทคโนโลยีหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดทางการแพทย์ในระดับหนึ่ง แต่ยังขาดงบประมาณที่จะมาสนับสนุนงานวิจัยดังกล่าว สำหรับหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด หรือ หุ่นยนต์เรเนสซองซ์ มีความสามารถในการกำหนดเป้าหมายในการผ่าตัดกระดูกสันหลังของผู้ป่วย ทำให้ประสาทศัลยแพทย์สามารถใส่สกรูเข้าไปในกระดูกสันหลังของผู้ป่วยได้อย่างแม่นยำมากที่สุด ผู้ป่วยจะปลอดภัยจากการบาดเจ็บของเส้นประสาทและไขสันหลัง โดยเฉพาะในกรณีภาวะกระดูกสันหลังเคลื่อน ทรุด หรือช่องไขสันหลังตีบแคบ และโรคกระดูกสันหลังคดงอในเด็กและอาการกระดูกสันหลังเคลื่อนในผู้สูงอายุให้กลับมาใช้งานได้เป็นปกติ โดยหุ่นยนต์ เรเนสซองซ์ จะช่วยลดอัตราเสี่ยงที่สกรูนั้นจะหลุดออกนอกกระดูกสันหลังไปกดทับหรือตัดเส้นประสาทหรือไขสันหลังขาด ซึ่งอาจทำให้พิการหรือกระดูกสันหลังเสียหายได้ จาก 10-40 เปอร์เซ็นต์ เหลือเพียง 0.1 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ทั้งนี้ เทคโนโลยีเครื่องมือแพทย์เข้ามามีบทบาทอย่างสูงในการอำนวยความสะดวกต่อการยกระดับคุณภาพการรักษาผู้ป่วย ช่วยทำให้งานด้านการผ่าตัด สามารถทำซ้ำได้ ไม่เกิดอาการล้า และมีความแม่นยำสูง มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการเตรียมผู้ป่วยและการวางแผนก่อนการผ่าตัด เช่น การจัดเตรียมอุปกรณ์ การกำหนดทิศทาง ขอบเขต และเป้าหมายรวมทั้งการวางแผนเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหา หรือความเสี่ยงต่ออวัยวะสำคัญข้างเคียงของบริเวณที่ทำการผ่าตัด โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีด้านการถ่ายภาพทางการแพทย์ชนิดต่างๆ เช่น เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือการถ่ายภาพคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นต้น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นาวาโท นายแพทย์สรยุทธ กล่าวเพิ่มเติมถึงบทบาทของหุ่นยนต์ผ่าตัดว่ามีส่วนช่วยอย่างมากระหว่างผ่าตัด อาทิ การวัดและติดตามสัญญาณชีวภาพต่างๆ เช่น คลื่นไฟฟ้าหัวใจหรือสมอง คลื่นไฟฟ้าทางระบบประสาท หรือแม้กระทั่งการใช้หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด ทำให้ศัลยแพทย์สามารถตรวจสอบและทราบพิกัด ลดการเกิดอุบัติเหตุต่ออวัยวะสำคัญข้างเคียงได้อีกด้วย “นอกจากนี้ หุ่นยนต์ เรเนสซองซ์ ยังช่วยเรื่องความแม่นยำในการผ่าตัดชิ้นเนื้อในสมอง เพื่อการวินิจฉัยโรค รวมถึงการวางขั้วไฟฟ้า เพื่อทำลายหรือกระตุ้นเนื้อสมองบางจุดสำหรับรักษาโรคบางชนิด ได้แก่ ภาวะอาการเคลื่อนไหวผิดปกติ โรคลมชัก โรคพาร์กินสัน รวมถึงโรคจิตบางชนิด เช่น ภาวะโรคซึมเศร้า ย้ำคิดย้ำทำ ภาวะรุนแรง เป็นต้น นอกจากนี้ ยังทำให้เกิดแผลขนาดเล็กเท่ารูเข็มหรือเพียง 1 เซนติเมตร ลดการแทรกซ้อน ฟื้นตัวเร็วขึ้นอีกด้วย ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนคนไทยทุกคน ธนาคารไทยพาณิชย์ บัญชีกระแสรายวัน สาขารามาธิบดี เพื่อสนับสนุนการจัดซื้อเครื่องมือแพทย์ ได้ที่ เลขที่บัญชี  026-3-05216-3 ธนาคารกรุงเทพ บัญชีกระแสรายวัน สาขาศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตน์ (รพ.รามาธิบดี) เลขที่บัญชี 090-3-50015-5 หรือเข้าชมรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.ramafoundation.or.th หรือ โทร. 02-201-1111 ในวันและเวลาราชการ หนังสือพิมพ์ข่าวสด 12.11.2016

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร