Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

ภัยเงียบ! คนอเมริกันจำนวนมากล้มป่วยจากการรับสารเคมีที่มากับของใช้ในชีวิตประจำวัน   

ผลการศึกษาชิ้นใหม่ชี้ว่า การได้รับสารเคมีชนิดต่างๆ ที่อยู่ในของใช้ในชีวิตประจำวัน เข้าสู่ร่างกายเป็นประจำทุกวัน เป็นสาเหตุให้ผู้คนในสหรัฐฯ เจ็บป่วยและต้องเสียค่าดูเเลรักษาพยาบาลถึงปีละหลายพันล้านดอลล่าร์ และยังเกิดความพิการทางกายอีกด้วย คนเราได้รับสารเคมีอันตรายปริมาณต่ำมากมายหลายชนิด จากสิ่งของที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นขวดพลาสติก กระป๋องบรรจุอาหารแปรรูป ของเล่น เครื่องสำอางและสารต้านการติดไฟ สารเคมีเหล่านี้เป็นสารที่ไปรบกวนการทำงานของต่อมไร้ท่อ หรือเรียกสั้นๆ ว่าสารEDs ผลการศึกษาที่จัดทำโดยทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย New York และตีพิมพ์ทางออนไลน์ในวารสาร Lancet ชี้ว่าค่าใช้จ่ายด้านการดูแลรักษาพยาบาลต่อปี ที่เกี่ยวข้องกับการได้รับสารเคมีเหล่านี้ สูงกว่า $340,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ คิดเป็น 2.3 เปอร์เซ็นต์ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ บรรดาผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า สารรบกวนการทำงานของต่อมไร้ท่อ ขัดขวางการทำงานของฮอร์โมนในร่างกาย และการสั่งสมของสารเคมีเหล่านี้ในร่างกายจะมีผลให้เกิดความบกพร่องทางสมองและพฤติกรรม อาทิ โรคสมาธิสั้น และโรคออทิสซึ่มในเด็ก ภาวะเป็นหมัน ความพิการทางกายตั้งเเต่กำเนิด ตลอดจนมะเร็งบางชนิด Leonardo Trasande ศาสตราจารย์ด้านเวชศาสตร์สิ่งแวดล้อม (environmental medicine) ภาควิชาการเเพทย์ มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก กล่าวว่าสารรบกวนการทำงานของต่อมไร้ท่อ หรือสาร EDs ยังอาจไปรบกวนระบบเผาผลาญพลังงานในร่างกายด้วย ส่งผลให้เกิดโรคอ้วนและโรคเบาหวานได้ ศาสตราจารย์ Trasande เป็นผู้ร่วมร่างรายงานผลการศึกษาเรื่องนี้ เขาและทีมงานวิจัยใช้ข้อมูลที่ได้จากการตรวจตัวอย่างปัสสาวะและเลือดของผู้เข้าร่วมในการวิจัยในการศึกษาขนาดใหญ่ เขากล่าวว่า การประมาณว่ามีค่าใช้จ่ายทางสุขภาพ 340,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ อาจจะต่ำไปด้วยซ้ำ เพราะนักวิจัยเพียงเเค่คำนวณค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลอาการเจ็บป่วยจากสาร EDs ที่มีการรายงานเท่านั้น ซึ่งไม่ได้รวมเอาผลกระทบทางจิตใจจากการเจ็บป่วยเข้าไว้ด้วย แต่ศาสตราจารย์ชี้ว่า ผู้คนในสหรัฐฯ สามารถลดระดับการได้รับสารเคมีอันตรายในชีวิตประจำวันลงได้ ด้วยการควบคุมหรือจำกัดโอกาสเสี่ยงที่จะได้รับสารเหล่านี้ เขากล่าวว่าคนทั่วไปในสหรัฐฯ สามารถหลีกเลี่ยงสารรบกวนต่อมไร้ท่อได้ ด้วยการรับประทานอาหารอินทรีย์ เลี่ยงการใช้สารเคมีฆ่าเเมลงในบ้าน เลี่ยงการไมโครเวฟภาชนะบรรจุอาหารที่เป็นพลาสติก และจำกัดการบริโภคอาหารกระป๋องที่บรรจุภัณฑ์ทำจากอลูมิเนียม ศาสตราจารย์ Trasande กล่าวว่า ค่าดูเเลรักษาโรคที่เกิดจากสารรบกวนการทำงานของต่อมไร้ท่อในยุโรปต่ำกว่าในสหรัฐฯ เพราะมีการควบคุมสารเคมีเหล่านี้อย่างเข้มงวดกว่าซึ่งเขาคิดว่าเป็นมาตรการที่จำเป็นในสหรัฐฯ Voice of America 17.11.2016

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร